จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด

"จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด" สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 ในโลกของการเทรด การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้มีแต่เส้นทางที่ราบรื่น หลังจากราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (leg up) ตลาดมักจะเข้าสู่ช่วงพักตัว (pullback) หรือการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางชัดเจน (chop and slop) ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีความแน่นอน แต่นี่คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับนักเทรดสายสวิงที่มีสายตาแหลมคม จังหวะพักตัวคือช่วงเวลาที่ตลาดปรับสมดุล ทดสอบแรงสนับสนุนและแรงต้าน การสังเกตจังหวะนี้อย่างใกล้ชิดช่วยให้นักเทรดมองเห็นรูปแบบที่สามารถนำไปสู่โอกาสการเทรดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาหุ้นหรือสินทรัพย์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี (index) และอาจนำหน้าดัชนีในบางจุด เคล็ดลับจากยอดนักสวิงเทรดการมองรอบราคาตลาด 1. ดูรอบของดัชนีตลาด (Price Cycle): การทำความเข้าใจว่าดัชนีอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรราคา เช่น ช่วงขาขึ้น ช่วงพักตั...

จิตวิทยาเบื้องหลังการ False Break


เรื่อง false break นี่ผมชอบมาก ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นจุดสังเกตสำคัญว่าหุ้นตัวนั้นมีความตั้งใจจะขึ้นต่อจริงหรือเปล่า หน้าที่เราก็แค่รอดูแล้วตามเมื่อมันพิสูจน์ตัวเองว่าเอาจริงครับ
ก็เคยเขียนไว้ในหนังสือ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" หลายหน้าเหมือนกัน ไม่รู้ว่าผู้อ่านจะพอจำกันได้หรือเปล่า

สำหรับสาย long แล้ว การ follow buy แล้วเกิด false breakout มักจะสร้างความหงุดหงิดให้เสมอ
เสียเงินก็เจ็บใจพอแล้ว แต่โดนหลอกให้ตาม มันปวดใจเพิ่มเป็นสองเท่า
นี่แหละครับสเน่ห์ของตลาด ที่ "คาดเดาอะไรไม่ได้"
พลาดแล้วก็ยอมรับมัน เงยหน้ามาสู้กับตัวใหม่

ความจริงแล้ว จากประสบการณ์ของผมนะ การเกิด failed breakout ก็ไม่ได้มีความเลวร้ายเสียทีเดียว
อย่างน้อยมันก็แสดงออกว่าหุ้นตัวนี้นได้แสดงความพยายามว่า "พยายามจะวิ่งขึ้น" อยู่นะ ไม่ได้ขี้เกียจนอนก้นหรือแม้ซึมลงเหมือนหุ้นส่วนมากในตลาด

คือถ้าเทียบกันกับหุ้นขาลงแล้ว หุ้น failed breakout มีอนาคตมากกว่า
โอกาสที่จะวิ่งขึ้นก่อน โอกาสที่คุณจะได้เกาะกระแสขาขึ้นได้ในไม่่่่ช้านี้



อะไรทำให้ราคาเกิด "เบรคหลอก"?
ผมคิดว่ามีจิตวิทยาบื้องหลังของอาการนี้อยู่แน่นอนครับ
ซึ่งเหตุผลหลักก็คือ
๑) ราคาวิ่งไปถึงแนวต้าน ถ้าเรามองกราฟย้อนหลังกลับไป 6 เดือน 1 ปี หรือ มากกว่านั้น มักจะเห็นเบาะแสแบบนี้ให้ต้องร้องอ๋อ นี่มันเป็นแบบนี้นี่เอง ราคาไปเจอแนวต้านเก่าแล้วเจอขายทำกำไร

ใครขาย? ก็คนติดดอยไงครับ ใครก็ตามที่ติดดอย มักจะอึดอัดเสมอหากหุ้นที่ถืออยู่มันขาดทุน แต่ก็ไม่กล้าขาย เพราะเชื่อแนวคิดที่ว่า "ไม่ขายไม่ขาดทุน" ไง พวกเขาจะรอจนราคากลับมาเท่าทุนนั่นแหละจึงค่อยขายออก ขายเพื่อต้องการบอกว่า "กูไม่แพ้ว้อย"

แล้วเอาเงินจำนวนนั้นไปซื้อหุ้นตัวใหม่ เพื่อติดดอยอีกครั้ง

ก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรจากการติดดอยเลยนี่นา การที่คุณขาดทุนหุ้นสักตัวแสดงว่าจุดซื้อคุณผิด คุณมองอะไรไม่รอบด้าน นี่ถือเป็นความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงของเทรดเดอร์เลยนะครับ คุณต้องหาสาเหตุ อ่านเพิ่ม ศึกษาให้มากขึ้น เพื่อให้เจอต้นตอ และรีบแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก นี่คือสิ่งที่ผู้ชนะจะทำกัน

แต่ถ้าคุณติดดอยแล้ว เอาแต่สาปแช่งคนให้หุ้น ด่าเจ้ามือ ใช้เวลาที่เหลือเพื่อรอแค่ให้ราคาคืนทุนแล้วขายหุ้นออก ย้ายไปเล่นตัวใหม่ แบบนี้บอกอนาคตได้เลยว่า "จบไม่สวย"



กลับมาเข้าเรื่องต่อ...
นอกจากคนที่ติดดอยจะขายออกที่แนวต้านแล้ว ยังมีคนเก็งกำไรเล่นรอบระยะสั้น ก็อาศัยระดับราคานี้เป็นจุดขายหุ้นทำกำไรเช่นกันครับ เมื่อมีสองแรงแข็งขันแบบนี้ ก็ไม่แปลกที่ราคาจะหยุดลง และย่อในวันถัดไป เพราะคนทำราคา(ถ้าเขามองว่าราคายังไปได้อีกไกล)ก็จะใช้ช่วงนี้เก็บสะสมหุ้นเพิ่มด้วย คือจะไม่เข้าไปรับมีดขวางการลงทันที แต่จะปล่อยให้ขายมาเลย เพราะมองว่าคนที่ขายหุ้นออกในช่วงนี้มีไม่เยอะหรอก รายย่อยไม่กี่หยิบมือ ขายไม่กี่วันก็หมด (ซึ่งมันก็จริงนะ ถ้าคุณดูวอลุ่มในช่วงย่อมักจะไม่มาก แท่งราคาก็ยิ่งนานไปก็ยิ่งสั้นลง)
การจะดูดเก็บหุ้นในช่วงนี้,คนทำราคาจะไม่รีบไล่ซื้อแต่จะตั้ง bid รับแทน ตั้งรับหุ้นอย่างเป็นระบบ ยั่วให้ขายแบบไม่ให้กระโตกกระตาก bid ไม่หนาจนเกินไป มีเสริมบ้างแต่ไม่ให้แข็งมาก หากมีหุ้นเทขายไม้ใหญ่ๆก็ไม่สู้ปล่อยให้หลุด เพราะตัวเองมีตั้งรับที่ช่องล่างอยู่แล้ว ทำแบบนี้แบบเป็นธรรมชาติ จนกระทั่งพบว่าหุ้นที่เอามาขายกดที่ bid เริ่มเบาบาง จนแทบไม่มีใครขายอีกแล้ว Market maker ก็ต้องตัดสินใจดันราคากลับขึ้นไปอีกครั้ง เพราะเขาได้หุ้นพอแล้ว ไม่มีใครขายให้แล้ว ก็ต้องไล่ราคาขึ้นไป

เมื่อไล่ราคาขึ้นครั้งนี้ เขาจะไม่เหนียมอายแล้วครับ จะซื้อ ซื้อ และซื้อ รวบหุ้นที่ช่อง offer เลย ตั้งมาเท่าไหร่ก็งับให้หมด ครั้งเดียวไม่ได้ก็ต้องซ้ำจนหมด เพื่อที่จะดันราคาขึ้นไปให้ได้ไวที่สุด

ทำไมต้องทำอย่างงั้น? ก็เพื่อที่จะทำให้คนที่เพิ่งขายหมูไปสดๆร้อนๆ เกิดเอะใจน่ะสิ โอ้โหกูขายหมูไปตัวเบ้อเริ่มเลย ไม่ได้ๆ ต้องรีบซื้อคืนให้ไว จึงกลายเป็นต้องเข้าไปช่วยเจ้ามือไล่ซื้อที่ offer ในที่สุด จึงกลายเป็นสองแรงขับดันราคาให้พุ่งโหด อย่างที่เราเห็นบ่อยๆ

 TK ก่อนที่จะขึ้นจริง ก็ false break ไปสองครั้ง

โดยช่วง fail ล่าสุดมันมีจุดสังเกตแบบนี้
ในช่วงที่ fail ชัดเจนว่ามันไม่มีการยืนยัน
ส่วนช่วงฟื้นตัวเอาจริง มีการยืนยัน 2 ครั้ง พอข้ามไฮเดิมที่ fail ก็ซิ่งแรงเลย
ย่อหลุด EMA100 แล้วดีดขึ้นไปเหยียบเส้น 100 ไปสองครั้งก่อนซิ่ง
แต่ที่หลักๆ คือราคายืนยันขาขึ้น แน่นอนกว่า
อีกจุดที่น่าสังเกต คือการยกโลว์ขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ว่าโดนขายที่แนวต้านไม่ให้ผ่าน แต่แนวรับกับยกตัวขึ้น ดูเหมือนเป็นการกินพื้นที่รุกเข้าไปเรื่อยๆ แบบนี้มีแนวโน้มผ่านได้ในไม่ช้าครับ

ดูทรง ITEL ก็น่าสนใจว่าจะล้มเหลวอีก หรือว่าจะเอาจริง (ปัจจุบัน fail ไปแล้วนะ)
(ตอนนั้นที่ทำกราฟ) เห็นว่า demand รุกไล่กินพื้นที่เข้าไป มีแนวโน้มขาขึ้นที่ดี
แม้ supply จะกดดันตลอดเวลา แต่ก็ไม่สามารถไล่กินพื้นที่ลงไปได้

หรืออาจจะทำ Base on base แบบ M ก็เป็นได้ (แต่เราก็อย่าเพิ่งไปร่วม รอให้มันวิ่งก่อนก็ยังไม่สาย)
สำหรับ MK สุกี้ตัวนี้นะ ถ้าคุณดูกราฟภาพใหญ่ เริ่มตั้งแต่เข้าตลาด มันจะเป็นทรง cup with handle ที่สวยมาก ถ้าเรามาความเชื่อมั่นใน pattern นี้ก็เก็บไว้ใน watch list เพื่อรอดูการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
ซึ่งในช่วงตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นมา มันสร้างฐานในช่วงของ handle อย่างยากลำบาก ทำ Base 1 แล้วทะลุข้ามได้ ก็นึกว่าจะไปต่อ เราก็ตาม แต่เมื่อมีคนไม่ยอมให้ไป ก็ขายกดให้ย่อกลับลงมาเล่นในกรอบเดิม เกิด fail ขึ้นมา ก็ต้องหนีไปก่อน จากนั้นก็รอให้มันสร้างฐานที่สองอีกหลายเดือน ก่อนที่จะพุ่งแรงให้ฮือฮาอย่างในวันนี้ คนที่เฝ้าอยู่ก็น่าจะได้ตามตั้งแต่ 63-64 บาท

ต่อมาก็สาเหตุรอง ก็มีดังนี้
๒) ตัวเลขกลมๆ
เช่น ถ้าราคาวิ่งจากต่ำบาทขึ้นมา ราคา 1 บาทจะแข็งมาก
ถ้าราคาต่ำสิบทุกเลขกลมๆจะเป็นระดับราคาที่ผ่านยากเสมอ
ต่อมาถ้าเกินสิบ ก็หลักสิบนั่นแหละครับ
แล้วใครขาย? ก็คนเล่นรอบไง นักเก็งกำไรระยะสั้น ที่ต้องการเก็บกำไรเมื่อราคาถึงเป้า
ถ้าคุณเจอแบบนี้นะครับ ให้รอดูการย่อครับ ส่วนใหญ่แล้วช่วงย่อจะค่อยๆแท่งสั้น วอลุ่มก็หดแห้งลงไปเรื่อยๆครับ เพราะคนที่ขายออกในช่วงนี้มีไม่เยอะหรอก ปล่อยให้เขาขายไปก่อน เดี๋ยวหมดแรงราคาก็เด้งขึ้นทันที และเร็วด้วย ไม่เชื่อลองไปเช็คดูได้
จุดซื้อก็รอตอนที่ราคาข้ามไฮที่ false break ไปก่อนดีที่สุด


๓) SET แดงหนัก
เจอแบบนี้ ไม่ว่าหุ้นจะดีแค่ไหนก็ไปไม่รอดครับ ใครๆก็ขายเพราะกลัวตลาดเป็นขาลง หรืออารมณ์ประเภทกลัวจะเกิดอะไรไม่ชอบมาพากล แม้กระทั่งพวกที่เห็นว่าใครๆก็ขาย ฉันขายบ้างดีกว่า ก็มี เมื่อทำกันหลายคนเข้า มันก็เกิดความกลัวแบบกระต่ายตื่นตูมในที่สุดครับ
หุ้นบางตัวเปิดเช้ามาก็วิ่งขึ้นดีๆแหละ แต่พอตลาดแดงเท่านั้นแหละ พวกก็ขายซะเสียทรงไปเลยก็มี
เราก็อย่าไปสนใจช่วงนี้มาก รอดูช่วงที่ SET เลิกผันผวนดีกว่า
เพราะหลังจากที่ SET เลิกแดง และกลับมาเขียวได้ หุ้นแข็งแกร่งของแท้ตัวจริง จะวิ่งขึ้นไปทำนิวไฮได้ในทันทีหรือไม่กี่วันเท่านั้นเองครับ เราก็รอตามตอนราคา breakout ขึ้นไปก็ยังไม่สาย

ตัวอย่างอื่นๆ
PTG ก็มีช่วงย่อทั้งตอนที่ราคาถึงแนวต้าน และตัวเลขกลมๆ






หลักการเกาะกระแส false break คือรอดูให้มันข้ามไฮของเบรคหลอกได้ก่อนจึงเข้าตาม
เพราะมันได้แสดงออกว่าพร้อมขึ้นไปต่อแล้ว รถได้ออกวิ่งอย่างจริงจังแล้ว แบบนี้เกาะไปได้ครับ เพราะราคามีโอกาสวิ่งไปแรง เพราะอย่างที่บอกไปนะ ถ้าคนทำราคามีมุมมองว่าราคาสามารถไปต่อได้ไกลกว่านี้อีกมาก แสดงว่าระดับราคาที่มันย่อตอน false break นั้นยังถูกอยู่ ทำไมเขาจะไม่รีบรับซื้อไว้ล่ะครับ ใครขายมาก็รับไปเรื่อยๆ จนขายหมด ก็ดันราคาขึ้นไปต่อทันที เพราะเป้าหมายเขาไม่ต้องการหยุดอยู่แค่นี้ไง

สัญญาณเสี่ยงที่เกิดจาก false break
มักจะเกิดในช่วงที่ราคาขึ้นมาไกลๆแล้ว ประเภทเป็นเด้ง คนส่วนใหญ่กำไรกันถ้วนหน้า เมื่อถึงระดับราคาที่พวกเขาพอใจขาย ก็จะเริ่มทยอยปล่อยหุ้น ที่เจอบ่อยก็จะเป็นราคากลมๆนี่แหละ เพราะง่ายดี
ในเคสที่เกิดกับ KOOL จะเห็นว่าหลังจากที่ราคาขึ้นมาเป็นเด้งแล้ว ก็ไปถูกเบรคให้หยุดที่ราคา 6 บาทก่อน มีการขนหุ้นจำนวนมากมาขวางดักไม่ให้ผ่าน แถมมากพอที่จะรุกไล่ให้ย่อกลับลงมาหาเส้นค่าเฉลี่ย หากเจอแบบนี้ก็ให้ระวัง หรืออาจจะตัดสินใจขายเมื่อราคาแกว่งแรง ทำแท่งยาวจนหลุดเส้นค่าเฉลี่ย เพราะสื่อว่า supply มีมากมาย และแข็งแกร่งกว่า demand อย่างชัดเจน โอกาสขึ้นต่อน้อยมาก และถ้าขึ้นได้ก็ทำท่าจบรอบ เพราะคนซื้อมีน้อยกว่าจำนวนหุ้นที่ต้องการขาย
นอกจากนี้ คุณอาจจะรอดูรูปแบบ Top pattern ที่น่าเชื่อถือ ก่อนขายออกไม้สุดท้ายก็ได้

ลองกลับไปอ่านหนังสือดูกันอีกรอบ หรือทำการบ้านกันต่อดูครับ


(แนะนำ)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)