20 หลักการ MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด

Image
สรุป MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด (ไม่ทราบที่มาของหนังสือ โหลดจากทวิตเตอร์) รายการต่อไปนี้เป็นการรวบรวมองค์ประกอบที่สำคัญส่วนใหญ่ของการจัดการเงินและการเทรดไว้ด้วยกัน 1. เทรดตามทิศทางของแนวโน้มระดับกลาง 2. ในแนวโน้มขาขึ้น-ให้ซื้อตอนย่อ  ส่วนในแนวโน้มขาลง-ให้ขายชอร์ตเมื่อราคาเด้ง 3. จงทนรวยให้ให้ผลกำไรเติบโต ตัดการขาดทุนให้เสียน้อย 4. ใช้การตัดขาดทุนที่วิ่งตามราคาเพื่อจำกัดขนาดการสูญเสีย 5. อย่าซื้อขายอย่างหุนหันพลันแล่น 6. วางแผนการซื้อและขายและทำตามแผนของคุณ 7. ใช้หลักการบริหารเงิน 8. กระจายความเสี่ยง แต่อย่ากระจายมากเกินไป 9. ใช้อัตราส่วนรางวัลต่อความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ต่อ 1 10. เมื่อพีระมิด (ซื้อเพิ่ม) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ ก. ไม้ต่อไปควรมีขนาดเงินที่เล็กกว่าเดิม ข. เพิ่มเฉพาะตำแหน่งที่ชนะเท่านั้น ค. อย่าเพิ่มตำแหน่งที่ขาดทุน ง. ยกระดับตัดขาดทุนไปวางที่จุดคุ้มทุน 11. อย่าเทรดประมาทจนถึงขั้น Marfin call;  อย่าเสียเงินเพิ่มหลังจากเคยเสียหนักมาแล้วครั้งหนึ่ง(อย่ารีบเทรดเอาคืนหลังจากที่แพ้ยับเยินสด ๆ ร้อน ๆ) 12. ขายหุ้นที่คุณคิดผิด(ขาดทุน) ก่อนหุ้นที่คุณคิดถูก(ได้กำไร) 13. ถ้า

มโน Darvas Box หน้าตาจะเป็นยังไง?




จากบทความที่แล้ว ผมได้สรุปหนังสือ How I Made $2,000,000 In The Stock Market ที่เป็นงานของทวด Darvas ไว้ให้เรียกน้ำย่อยไป ก็อยากจะเสริมส่วนที่เป็นไอเดียทางเทคนิคอลเอาไว้ให้คิดต่อเล่นๆในบทความนี้



โดยส่วนตัวมองว่า สิ่งที่ทวดดาร์วาสได้ค้นพบนั้น มันมีประโยชน์ต่อการจุดประกายแนวคิดในทางเทคนิคอลเป็นอย่างมาก นี่คือหนึ่งในต้นเทรนด์ของการเทรดแนวเทคนิคอลเลยก็ว่าได้

แต่กระนั้น, ปัญหาคือถ้าเราอ่านหนังสือของเขา เราจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟน้อยมาก คือเดาหน้าตาของมันไม่ออกเลย เพราะผมคิดว่าในช่วงนั้นกราฟน่าจะยังไม่เป็นที่แพร่หลาย หรืออาจจะยังไม่มีใครใช้ด้วยซ้ำ แกก็เลยต้องอธิบายเป็นคำพูดแทน จึงทำให้คนรุ่นหลังได้แต่นึกเดาเอาว่าสิ่งที่แกสังเกตุเจอแล้วตั้งเป็นทฤษฎีกล่องนั้น มันจะเป็นยังไง

เมื่อเป็นเช่นนี้, งานมโน ต้องมาครับ
เดี๋ยวผมจะลองฝันกลางวันแบบระเบิดภูเขาเผากระท่อมให้ท่านได้อ่านกัน
โดยจะเริ่มต้นจากไอเดียต้นตำรับ ต่อไปจะเอาไปชนแกะกับการ follow buy และออกทะเลไปสู่ทฤษฎีดาว รวมถึง price pattern ที่อยู่ในกล่องนั้น
ก็ไม่ต้องไปจริงจังอะไรมากนะ ผมก็โม้ไปเรื่อย เอาเท่าที่ได้



หลักการของแนวคิด Darvas Box
ก่อนเข้าไปสู่กราฟมโน เรามาฟื้นรายละเอียดของมันกันอีกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน
ส่วนประกอบของมันก็ต้องมีดังนี้

0) สำคัญที่สุด คือ สภาพตลาด หรือ ดัชนี ต้องเป็นขาขึ้น
ตอนที่เขากำไรดีๆน่ะ สภาพตลาดมักเป็นขาขึ้นที่คึกสุดๆนะครับ เพราะตอนนั้นตลาดมีการเก็งกำไรที่คึกคักมาก หุ้นแกร่งๆมักจะวิ่งแรงรอบใหญ่กัน คือขึ้นแบบไม่ค่อยพักนาน พอจะพักก็แบบย่อสั้นๆเวลาไม่นาน ก็วิ่งแรงไปต่อ

๑) วอลุ่มพีค หรือสูงมากๆ (ภาษาอังกฤษเรียกว่า volume surge)
วอลุ่มคือสิ่งบ่งบอกว่าเงินเขาไปอยู่ในหุ้นตัวไหนมากหรือน้อยครับ เหมือนตลาดนัดนั่นแหละ คนเดินเยอะ การซื้อขายก็คล่อง ดนั้นการที่หุ้นตัวใดตัวหนึ่งจู่ๆมีวอลุ่มเข้ามากแบบผิดปกติ แสดงว่า ตรงนั้นน่าจะมีอะไรดี ความครื้นเครงได้ก่อนเค้าขึ้นมา เครื่องเสียงได้เริ่มบรรเลงเรียกแขกแล้วครับ

ในบ้านเราก็หาไม่ยากนะเรื่องวอลุ่ม บล็อก scanhoon.blogspot.com ก็มีบอกไว้

หรือเว็บ bidschart ก็มีนะ เข้าไปตามลิ้งค์นี้ scanstock.bidschart.com แล้วเลือกที่ Volume จะมีขึ้นมา

ก็ไล่เช็คดูให้ตาแฉะ ว่าตัวไหนพอเข้าเค้าบ้าง
ดูยังไง? ก็หารูปแบบราคาให้เจอไง ในที่นี้ก็ให้เก็บใส่ watch list ไว้ รอดูการพักตัวจากนั้น ว่าตรงสูตรหรือไม่

๒) ราคาทำจุดสูงสุด 52 Week High(ราคาเบรค 200 วัน) หรือ All time high
จริงๆแล้วในข้อนี้ ฝรั่งเขาบอกว่า ดาร์วาสจะชอบหุ้น All time high มากกว่านะครับ
เพราะว่าตอนนั้น - ลองคิดดูต่อนะ ว่าตลาดก็เป็นขาขึ้นสุดคึก คนก็ไม่กลัว เข้ามาเก็งกำไรกันอย่างสนุกสนาน เมื่อหุ้นตัวนั้นไม่มีใครติดดอยกันแล้ว ก็เท่ากับไม่มีคนกลัวอยู่อีกเลย ถ้าคทำราคาเขาเอาจริง ราคาจะวิ่งแรงแค่ไหน

แหล่งหาข้อมูล, ก็มีบอกมากมายเลยที่บล็อก scanhoon, เพจหุ้นการบ้าน คุณก็เอามาเข้าลิสต์เช็คดู


จริงๆแล้ว พวกนี้ไม่ต้องสแกนเองเลยก็ได้นะครับ ผมก็ไม่สแกน เพราะเราหาฟรีได้อยู่แล้ว และใครๆก็รู้
สิ่งที่จะวัดกันจริงๆ คือสายตาและประสบการณ์ในการตีความ pattern ต่างหากครับ
และยิ่งกว่านั้นคือ การรู้จักแพ้ - คือถ้าซื้อแล้วไม่ใช่ วิ่งสวนทาง ก็ต้องรีบออกให้ไว

๓) กล่อง
ตรงนี้และที่เป็นประเด็นน่าเอาไปต่อยอด คือถ้าเราคิดแบบหนังสือน่ะ  มันก็น่าจะเป็นสี่เหลี่ยม ไม่ว่าจะเป็นผืนผ้า หรือไม่ก็จตุรัส โดยราคา แกว่งอย่างเรียบร้อยในกล่องนั้น ไม่มีหลุดหรือเขย่าให้หมดอารมณ์



แต่จะเริ่มครอบให้เป็นรูปกล่องตอนไหนดี?
ถ้าเราใช้หลักการแบบเป๊ะๆนะ ผมมองว่า Darvas จะใช้วันที่ราคามีวอลุ่มเข้าเป็นจุดตั้งต้นก่อน
และอีกอย่างคือ ราคาต้อง All time high หรือ 52 week high
จากนั้น ก็รอดูการย่อ จำที่ผมบอกในหนังสือได้นะ ว่าบางทีมันก็ไม่วิ่งต่อไปทันทีหลังจากที่ราคาทะลุ 52 ขึ้นไป) (อ่านในบท ต้นเทรนด์ที่จุดสูงสุดเพิ่มนะครับ หน้า 107 ขึ้นไป)

เอาแบบทฤษฎีก่อนนะ
รูปร่างก็น่าจะเป็นแบบนี้

คือเราต้องให้คนทำราคาเขาจุดพลุเรียกแขกก่อน ซึ่งมันก็คือราคาทำแท่งเขียว วอลุ่มสูงปรี๊ด และที่สำคัญคือราคาต้องทำจุดสูงสุดตลอดกาล หรือไม่ก็ในรอบปี แบบในรูป

พอเห็นก็เก็บเอาไว้ในลิสต์เฝ้าดู การเคลื่อนไหวของมันต่อไป โดยคุณจะต้องลุ้นให้มันย่อออกข้าง วอลุ่มลดไปสักระยะ เพื่อจะระบุกรอบการสวิงของมันได้ไง เมื่อเห็นการสวิงภายในกรอบแล้วก็ลากเส้นพาดจุดสูงสุดดักไว้รอเลย เห็นข้ามเมื่อไหร่ก็ซื้อตามทันที (มันก็คือหลักการ follow buy นี่เอง ว่ามั้ย?)

ขอเพิ่มเติมจากหนังสือก่อนนะ
เช่น IFEC หลังจากที่ราคาทะลุ 52 week high ได้ ก็ทำกล่องให้เห็นสองครั้ง

หรือ TNH ก็ชัดเช่นกัน
ให้ดูคร่าวๆแค่นี้ก็แล้วกัน

เคสล่าสุด
ตัวนี้พอข้าม All time high ได้ก็ย่อพักฐานเลย ซึ่งก็วิ่งในกรอบกล่องตามสูตร พอมันข้ามได้ คุณก็ตามมันไปทันที และก็ทนรวยไป ใครไม่ทันก็รอดูมันทำกล่องอีกครั้ง(กล่องด้านบน) และก็ซื้อได้อีกครั้ง
เป็นไงครับ เป๊ะมั้ย? แต่บอกไว้เลยนะ ปีหนึ่งมีน้อยมากตัวแบบนี้ เจอแล้วก็ต้องกอดทนรวยไว้นานๆ
เพราะผมรู้สึกว่าหุ้นที่วิ่งดีๆแรง มักจะไม่ค่อยเขย่าแบบงี่เง่า ทำให้คนเล่นรำคาญ

แต่ตามสูตรนะ มันก็ไม่เป๊ะทุกตัว
เอาแบบที่เบาๆก่อน แบบ FN


จากเคส FN เนี่ย พบว่า การทำกล่องตามสูตรแบบเป๊ะๆ น่าหวาดเสียว เพราะหลังจากที่ซื้อตอนที่ราคา breakout กรอบบนของ Box ได้ มันก็วิ่งขึ้นไปต่อได้ดีเลย แต่จากนั้นมันถูกขายกดลงมาหนักมากจนหลุดลงไปต่ำกว่าทุนของเรา เจอแบบนี้ก็ต้องขายออกก่อนถ้ามันหลุด stop loss (มันจะมีตอนที่เกิดกับหุ้น นะลองอ่านดู) แล้วถ้ามันฟื้นกลับมาใหม่ ก็ซื้อ

ส่วน SKY น่ะ แทบหากล่องไม่เจอเลย ไม่รู้ทำทรงอะไร

ต่อมา TKN
ตัวนี้ ถ้าใครชอบซื้อตอนราคาทำ All time high ก็น่าจะได้กินคำใหญ่ไปแบบเต็มๆ
แต่ถ้ายึดหลักการกล่อง, หลังจากที่ราคาทำแท่งเขียวยาววอลุ่มสูง ก็มีการพักตัวออกข้างไปหลายสัปดาห์ ก่อนที่จะทะลุกรอบขึ้นไป ก็ถือว่าเป็นจุดซื้อที่งดงาม แม้ต่อมามันจะย่อแรง แต่ก็ไม่ลงมาถึงระดับที่เรา follow buy ไป ก็ทนรวยเอาไว้
กระทั่ง Box3 นี่แหละที่เป็นจุดแตกหัก เพราะมันทำกล่อง แต่ไม่ยอมวิ่งขึ้น กลับอยากลง ถ้าเป็นแบบนี้ก็ต้องขายเอาเงินออกมาก่อนครับ ถือว่าละเมิดกฎไปอย่างชัดเจน

อีกตัว

เริ่มที่ (1) วันวอลุ่มเข้า แน่นอนมันต้องเบรค 200 วันแน่ๆ คุณก็มาร์คมันเอาไว้ รอดูการเคลื่อนไหวในวันถัดๆไปว่าจะย่อสร้างกรอบหรือกล่องให้มั้ย
(3) และมันก็ย่ออกข้างไป ดูสิช่วงออกข้างวอลุ่มลดไปเยอะเลย
(4) พอมาอีกวันราคาทะลุกรอบบนของกล่องขึ้นไป ก็ซื้อ follow buy ตามไป ก็ควรซื้อให้ไวนะ เอาให้ไกล้ระดับราคาที่มัน breakout มากที่สุด แล้วก็ตั้ง stop loss จุดหนีไว้เลย ถ้าหากราคาหลุดลงไปต่ำกว่าระดับที่ follow buy ช่อง หรือสองช่อง ต้องหนีอย่างไม่มีข้อแม้ ไม่ต่อราคาเด็ดขาด
(5) และโชคดีที่ตัวนี้ มันย่อไม่ลึก ออกข้างแดงไปไม่กี่วันก็ไปต่ออีก ใครไม่ทันกล่องแรกก็ซื้อตอน breakout ได้ ส่วนใครที่ซื้อแล้วก็ทนรวยไปก่อน เพราะราคายังไปได้อีก
(6) กระทั่งถึงกรอบนี้แหละที่เป็นปัญหา ราคาวิ่งออกข้าง แถมแกว่งแรง ลงต่อเนื่องจนราคาหลุดกรอบล่าง พอเจอแบบนี้ก็ต้องทำใจ ขายออกไปตามระบบ
แต่จากนั้นมันก็กวนไม่ยอมลงลึกกว่านี้ ก็ไม่ต้องไปซีเรียสอะไร รอดูมัน ถ้ากลับมาก็ซื้อคืนได้
และ (7) มันก็ดีดขึ้นไปอีกรอบ วอลุ่มสูงเด่นอีกครั้ง คุณก็รอดูการสร้างกรอบ พอมันทะลุกรอบบนไป ก็ซื้อ ตามแบบเดิม จุด stop loss อยู่ใต้ระดับราคาที่มัน breakout ถ้ามันบวกให้เราก็ทนรวย รอดูการสร้างกรอบใหม่ ถ้าไม่ไปต่อก็ใช้กรอบล่างของกล่องใหม่นั่นแหละเป็นจุดออก



Darvas Box กับการ Follow Buy
มันมีแนวคิดอีกเรื่องคือ follow buy ซึ่งมันก็คือการซื้อเมื่อราคาทะลุไฮเดิมขึ้นไปได้พร้อมวอลุ่มสูง
ถ้าเรามองให้ดีๆนะ "ไฮเดิม" ที่ว่านี้ ก็คือกรอบบนของกล่องนั่นเองครับ

ดูตัวอย่างจริง คือ DNA

กับตัวนี้ หลังจากที่มันจุดพลุแล้ว ก็พักวันเดียว พอเห็นมัน breakout ไฮเดิมขึ้นไปก็ต้องตาม แต่ว่าจากนั้นมันย่อแรงจนกลับมาอยู่ในกรอบเดิมก็ออกไปก่อน รอดูการฟื้นตัวครั้งต่อไป
ซึ่งมันก็ดีดกลับขึ้นจนได้ คุณก็รอให้มันข้ามระดับนั้นได้ชัดเจนก่อนค่อยเข้า
ความจริงมันก็อารมณ์เดียวกับการ follow buy ที่เคยเห็นเซียนเค้าสอนมานะ คือซื้อตามเมื่อราคา breakout ไฮเดิมไปได้ แล้วให้ระดับราคาที่ทะลุขึ้นไป(คือไฮเดิม)เป็นจุดหนี ถ้าราคาย่อกลับลงมา

ขอมโนตัวอย่างแค่นี้นะ
ต่อไปผมจะจินตนาการต่อว่าทำไม Darvas ถึงกำไรเยอะจากการเล่นหุ้น ด้วยทฤษฎีนี้



Darvas Box กับ High & Tight Flag pattern
มันทำให้ผมคิดไปว่า หรือว่ารูปแบบกล่องที่ว่า มันจะเป็น High & Tight Flag pattern
หน้าตาจะเป็นแบบนี้
สำหรับทรงแบบนี้น่ะ ถือเป็นรูปแบบราคาในฝันของนักเก็งกำไรเลยครับ ถ้าเจอแล้วซื้อทัน (ถ้าซื้อทันนะ) มันจะวิ่งไวและแรงมาก แต่ก็มีโอกาสลงแรงเช่นกัน เพราะมันมักจะเป็นช่วงท้ายของขาขึ้นแล้ว

ซึ่งถ้าคุณไม่ยึดติดกับแนวระนาบมากนัก มันจะเฉียงลงก็ได้
มันก็คือกล่องเหมือนกันใช่มั้ย เพียงแต่ไม่ระนาบ ซึ่ง pattern แบบนี้แหละ ที่พี่ Dan Zanger ชอบมาก
นี่ผมก็มโนไปเรื่อยเปื่อยเลย

ไหนๆก็ออกทะเลแล้ว งั้นไปอีกเรื่อง



Darvas Box กับ การยืนยันขาขึ้น
ติดลมแล้วก็ขอต่อไปนิดนะ
ผมมองแอบคิดไปว่า Darvas Box ถ้ามองให้ดี มันก็คือการยืนยันขาขึ้น ตามหลักทฤษฎีดาว ดีๆนี่เอง
ความหมายของการยืนยันขาขึ้น เอาแบบที่ผมเขียนไว้ในหนังสือ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" นะครับ
จะได้เห็นภาพเหมือนกัน เพราะทุกคนน่าจะมีหนังสือกันหมดแล้ว ก็เปิดตามได้เลย
อย่างที่บอกไว้คือ หุ้นแต่ละตัวจะมีความเป็นเฉพาะตัว ที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร เพราะมันประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง ไม่ว่าจำนวนหุ้น พื้นฐาน กระทั่งสไตล์และความใจร้อนของคนทำราคา
ดังนั้น ในช่วงระยะทางระหว่าง A ไป B ไป C จะมีเรื่องราวมากมาย อารมณ์เหมือนเราจะเดินทางจากกรุงเทพไปเชียงใหม่น่ะ ได้หลายทางมากตามความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน, ขับรถยนต์, นั่งรถทัวร์ หรือไม่ก็รถไฟ เห็นมั้ยครับ หลากหลายมาก ซึ่งไม่ต่างจากหุ้นเลย

ซึ่งถ้าเราเอาบริบทนี้มาจับปุ๊บ
Darvas Box ก็จะเป็น subset ของ การยืนยันขาขึ้นเลย

เพราะ Darvas ชอบซื้อหุ้นที่เป็นขาขึ้น และยืนยันขาขึ้น ก็คือ Continuation pattern นั่นเอง
หน้าตาจะเป็นยังไง ก็เอามาจากหนังสืออีกก็แล้วกัน ขี้เกียจวาด

ถ้าเรามองว่า ระดับ A ไป C ก็คือกรอบบนของกล่อง นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด Darvas box ไปทันที



ทีนี้, ต่อมาคนรุ่นใหม่ก็เริ่มมีกราฟให้ดูมากขึ้นไงครับ ก็เลยมีเวลาพิจารณาดูการเคลื่อนไหวจากกราฟเป็นหมื่นๆ แสนๆ ตัว ก็เลยเห็นว่ามันมีจุดซื้อที่ได้เปรียบกว่า และไวกว่า ด้วยการลากเทรนด์ไลน์ หรือไม่ก็ตั้งชื่อรูปแบบฐานราคาขึ้นมาใหม่เลย (เช่น cup with handle หรือ VCP)
ก็จะออกมาในรูปแบบนี้
Pattern ออกมาเพียบเลยใช่มั้ยครับ ไม่ว่าจะเป็น cup with handle, double bottom, inverse head and shoulders, flat base หรือแม้กระทั่ง VCP

พูดง่ายๆอีกที, pattern เหล่านี้มันก็คือ รูปแบบราคาที่ซ่อนอยู่ใน Darvas box นั่นเอง



TKN อีกครั้ง ถ้าเอาไอเดียของ pattern ต่างๆที่ว่ามา ก็จะได้จุดซื้อเพิ่มอีกมากมายเลย

SKY


ดังนั้น, ไปๆมาๆ ผมก็พาท่านเข้ารกเข้าพง ลัดกลับมาที่จุดเดิมจนได้ คือโน้มน้าวให้ท่านมองว่า มันไม่มีอะไรซับซ้อนในความหมายหรือรูปแบบของ Darvas box หรอก มันก็คือการพักตัวในขาขึ้นนั่นเอง พักเพื่อจะไปต่อ ส่วนมันจะพักเป็นรูปแบบอะไรนั้น ก็ต้องอาศัยสายตาและประสบการณ์ของเราเป็นตัวช่วยกรองครับ คือถ้ามันเป็นกล่องสวยๆ ก็ดี แต่ถ้ามันทำ cup with handle ก็ดีจะได้ซื้อก่อน อะไรประมาณนี้
เพราะอย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้ว ถ้ามันจะไปต่อ ก็ต้องข้ามไฮเดิม หรือกรอบบนของกล่องไปอยู่ดี
ซึ่งจุดซื้อคุณจะ follow buy หลังจากที่มันทะลุกรอบบนของกล่องตามหลักการเดิม หรือจะซูมดู pattern ที่ซ่อนอยู่ในนั้น เพื่อหาจุดซื้อที่ยืนยันก่อนก็ได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสายตาของคุณครับ

อ่านเพิ่มเติม
- ผลการเช็คย้อนหลังทฤษฏีกล่องกับหุ้นไทย โดยทีมงาน Squant
Nicolas Darvas Trading System



(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ


www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการเทรดหุ้น คุณไม่ต้องรอบรู้ไม่ต้องเก่งทุกเรื่องและทุกอย่างหรอก ทำแค่ 7 เรื่องนี้ให้ได้ก็พอ....

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่