สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ

Image
สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ ๑) เทรดแบบงานอดิเรก - มาทรงนี้ จะไปไวมาก เพราะงานอดิเรกมีแต่จ่าย และจ่าย // อีกกลุ่มใหญ่ไม่แพ้กันคือ เทรดแบบการพนัน เล่นหุ้นเสี่ยงสูงทั้งๆ ที่ตนเองความรู้แทบไม่มี จำคำพูดเซียนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ๒) ถึงแม้จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หาความรู้และฝึกฝนอย่างหนัก ก็ยังคงมีโอกาสขาดทุนหนักอยู่ เพราะ - ไปได้ข้อมูล แนวทางที่ผิด โดยเฉพาะการโฟกัสที่ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูง + เทรดโดยไม่มีการบริหารความเสี่ยง - แต่แม้จะได้ข้อมูลที่ดี ก็ยังมีโอกาสขาดทุนยับอยู่ ถ้าคุณมีความเชื่อที่ตรงข้ามกับกลยุทธ์/กระบวนการและกฎการเทรดที่ทำเงิน -- แบบนี้เรียกว่าความขัดแย้งจากภายใน ตัวอย่างที่ชัดมากคือ กลยุทธ์ให้คุณตัดขาดทุน แต่ถ้าภายในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำตามไม่ได้ // กลยุทธ์ให้คุณบริหารความเสี่ยง แต่ถ้าคุณอยากรวยเร็ว คุณก็ไม่ยอมทำตาม ๓) ประสบการณ์ คือ ตัวแปรสำคัญ ของการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ คุณผ่านเกมมากพอ คุณจะเข้าใจหลายเรื่อง ที่มันขัดกับความเชื่อทั่วไปของมนุษย์ได้ เพราะหลายเรื่องของเกมการเทรดนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาชนะ -

จุดซื้อที่เสี่ยงต่ำ

มาคิดดูอีกที,ในเล่มของผมนั้น จะเน้นไปที่การ follow buy เป็นหลัก คือ ราคา breakout ข้ามกรอบแนวต้านในรอบปี เป็นหลัก โดยใช้กราฟวีค ซึ่งเป็นแนวทาง "ตามทฤษฎี" ที่ผมชอบ

แต่พอมาย้อนดูตัวเอง, ก็พบว่า ไอเดียที่ผมแนะไว้ในหนังสือนั้น - มันออกจะกว้างไปนิด และค่อนข้าง fix พอสมควร อาจทำให้มือใหม่หลายท่านไม่ค่อยเข้าใจ หรือตีความผิดไป
จึงอยากขอใช้พื้นที่นี้อธิบายเพิ่ม-กระทั่งขยายความให้ท่านได้ไอเดียเพิ่มเพื่อหาจุดซื้อ ให้หลากหลายขึ้น จะได้เอาไปลองประยุกต์ใช้ดู

ตามหัวข้อนะ, จุดซื้อที่เสี่ยงต่ำ
มันมีคำว่า "จุดซื้อ" กับ "เสี่ยงต่ำ" ซึ่งคำหลังนี่-น่าเอามาย่อยต่อ

เสี่ยงต่ำ ในความหมายที่ผมต้องการคือ "ซื้อแล้วราคาวิ่งต่อไปเลย" อย่างที่ในหนังสือได้เขียนถึง pivot point อันหมายถึงแท่งเขียวที่ผุดทะลุกรอบของรูปแบบราคา wyckoff accumulation, cup with handle , double bottom กระทั่ง inverse head and shoulders พร้อมวอลุ่มสูงกว่า-(อย่างน้อย)สิบวันที่ผ่านมา หรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี

ตัวอย่าง ก็เป็นอย่างรูปข้างล่าง






ซึ่งในแต่ละเดือน จะมีไม่กี่ตัวหรอกที่ทำท่าทางแบบนี้ให้เห็น และแน่นอน-คนที่ตาดี และมีหุ้นตัวนั้นๆอยู่ใน watchlist จะได้มันไป

แต่ปัญหาคือหลายท่าน เกิดอคติ กับการ follow buy คือเจอ false break ครั้งสองครั้งแล้วเข็ด กลายเป็นกลัว และสาดเสียเทเสียแนวทางนี้
ทั้งๆที่ความจริง ตลาดหุ้นมันก็เป็นอย่างงี้แหละ ไม่มีอะไรที่เป๊ะ ตลาดมีหน้าที่หลอกกินตังค์เรา คุณไม่มีหน้าที่เถียงตลาด ถ้าเค้าไม่ให้ก็ไม่ต้องหือ ก้มหน้าก้มตายอมรับมัน คือหลุด stop ก็หนี รอโอกาสใหม่ที่เค้าจะให้ อย่าลืมว่าที่นี่ นายตลาด-เขา "ใหญ่" สุด

ส่วนตัวผมน่ะ ชอบ follow buy อย่างที่บอกไปแล้ว แม้ตลาดแบบนี้มันจะมี win ratio ไม่ถึงครึ่ง แต่ผมก็ยังชอบ เพราะตัวดีๆก็ยังมี breakout สวยๆ ให้เห็นบ้าง ถ้าไม่ไปต่อก็หนีออกมาก่อน รอดูอีกที

คือ-ผมเชื่อว่า หุ้นถ้าเป็นขาขึ้นน่ะ ยังไงมันก็ต้องวิ่งขึ้น ทำนิวไฮให้ได้
แต่เราก็ไม่รู้อนาคตไง ถ้าเราเห็นท่าไม่ดี ก็ให้นึกถึงเงินต้นเราก่อนเป็นหลักเสมอ คือหนีก่อน ดึงเงินมาเก็บกับตัวก่อน เพราะแกเริ่มทำตัวไม่น่ารัก

การที่เรา "นึกถึงเงินต้น" ของเรานี่แหละครับ คือนัยยะของการนึกถึง "ความเสี่ยง"
จำได้นะ "ไม่มีเงิน ตลาดเค้าไม่ให้เก็งกำไร" ถ้าคุณไม่รู้จัก stop loss แล้วหนำซ้ำดันเถียงตลาดคือถัวขาลงเนี่ย มีเงินเป็นล้านก็หมดได้ในเวลาไม่นาน

การตัดขาดทุน ไม่น่าอายหรอกครับ เพราะโอกาสดีๆมาเรื่อยๆ เงินยังมีให้เล่น-ถือว่ายังไม่แพ้
ที่น่าอายคือถัวเฉลี่ยแล้วเงินหมด จนต้องออกจากตลาดไปอย่างคนแพ้ ต่างหาก

Buy on Dip
ดังนั้น, "จุดซื้อที่เสี่ยงต่ำ" คือ จุดซื้อที่ "ถ้าราคาไม่ไปต่อ-จุดหนีคุณต้องเสียหายน้อยสุด"
โดยถ้าไม่นับแนวทางที่ผมว่าไว้ในหนังสือก็จะมีไอเดีย ที่เด่นๆคือ buy on dip เพราะถ้าเล่นแนวทางนี้กรอบของการ stop loss หรือปริมาณการขาดทุนของคุณจะน้อยมาก คือบางทีก็ไม่ถึง 2% ด้วยซ้ำไป
แต่อย่างว่าแหละ, ด้านมืดของมันก็มี คือ บางตัวก็ "ย่อ" แล้ว "ยุบ" ไปเลยก็มี คุณต้องมีวินัย หลุดก็สาดลูกเดียว โทษฐานที่แนวรับเอาไม่อยู่
ครับ การ buy on dip ส่วนใหญ่ จะซื้อที่แนวรับ เท่าที่เห็นๆมา มีดังนี้

๑) แนวรับที่เปลี่ยนจากแนวต้าน
ในเล่มก็มีเขียนถึงไปแล้วนิดหน่อย คือ แนวต้านที่ราคาทดสอบไม่เคยผ่านสักทีนั้นน่ะ มันจะมีนัยยะมากสำหรับการกลายเป็นแนวรับในครั้งต่อๆไป ดังเช่น ECF รูปล่าง
สำหรับไอเดียนี้คือ ซื้อตรงที่ราคาลงมาหยุดที่ระดับต้านกลายเป็นรับนั้นแหละ อย่าง ECF ในรูป ที่ระดับราคา 2.48 นี่ ก่อนหน้ากลายเป็นต้าน แล้วพอราคาทะลุขึ้นไปได้ ก็ย่อลงมาหยุดที่ระดับราคานี้พอดี เจอแบบนี้ก็เสี่ยงซื้อได้ โดยจุดหนีก็คือ สิ้นวันราคาปิดต่ำกว่าไส้ของแท่งดำยาวนั้น หรือถ้ามั่นใจว่ายังไงก็หลุดแน่ ก็ให้หนีในวันเลยก็ได้ อันนี้ไม่มีสูตรสำเร็จ อยู่ที่ใจคุณเองว่าจะรับความกดดันได้แค่ไหน ไม่แน่ใจ-ชักเงินออกมาดูสถานการณ์ก่อนเสมอ อย่ากลัวเสียหน้า แต่จงรักษาเงินต้นไว้ยิ่งชีพ

๒) แนวรับของแนวโน้ม
มันก็คือพวก trendline แบบต่างๆครับ เช่น trendline แบบลากเฉียง หรือเส้นค่าเฉลี่ยที่เป็น magic line ของหุ้นแต่ละตัว
๒.๑) trendline แบบลากเฉียง

ต้องออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้ใช้แนวทางนี้นะ เลยไม่ค่อยมีเก็บไว้ในลิสต์
ท่านก็ลากเส้น trendline ดักไปข้างหน้า คืออย่างน้อยต้องลากผ่านสัก 2 จุด แล้วคอยดูการลงมาหยุดแล้วเด้งที่ระดับเส้นนี้ ก็ซื้อไป อย่างที่เกิดกับ TOP ผมลองลากเส้นบนดูก่อน (คือหลายคนชอบลากเส้นพาดแนวรับ แต่ลืมดูแนวต้าน ทั้งที่บางตัวแนวต้านมันทำเป็นแนวเป๊ะกว่าก็มี) แล้วทำ parallel ลงมา คุณลองขยับไปให้เจอแนวรับให้มากที่สุด โชคดีอาจจะเจอแบบตัวนี้ก็ได้ และนั่นแหละครับ คุณก็จะเจอจุดซื้อที่ราคาย่อลงมาเด้งแล้ววิ่งไปต่อ

๒.๒) Magic line ก็ให้ลองปรับดูกันเอง เพราะแต่ละตัวก็มีเส้นเวทมนต์ไม่เหมือนกัน
ถ้านึกไม่ออกก็ให้เริ่มที่ EMA10 หรือ 20 หรือ 50 วันดู เพราะคนใช้เยอะ เช่น BEAUTY ในอดีตรูปล่าง

ก็มีเส้น 10 วัน เป็น magic line ถ้าเห็นว่ามันลงมาเด้งบริเวณเส้นนี้ ก็ให้กัดฟันซื้อได้
แต่ย้ำนิดนึงนะ การวิ่งของเส้นค่าเฉลี่ยต้องเฉียงขึ้นเท่านั้นนะ สโลปเฉียงสวยๆน่ะ 30-40 องศาขึ้นไปจะดีมาก เพราะสื่อว่าราคามีโมเมนตัม วิ่งราบไม่เอา

๓) แนวรับทาง Fibonacci
ข้อนี้ยอมรับตรงๆว่าผมไม่ได้ใช้เลย เพราะไม่ถนัดจริงๆ ไม่กล้าอธิบาย ก็ขอให้ไปลองกันเอาเอง

๔) แนวรับของวอลุ่ม
แนวนี้ก็ไม่ถนัดเช่นกัน เห็นหลายๆเพจ บอกว่าที่ไหนวอลุ่มสูงแสดงว่ามีคนติดอยู่เยอะ แสดงว่าเป็นแนวรับหรือแนวต้านอะไรสักอย่างที่มีนัยยะ ข้ามยาก หลุดยาก อะไรเทือกนี้ ซึ่งผมก็งงๆกับไอเดียนี้เช่นกัน ว่าเขาคิดกันยังไง

อีกแนวทางหนึ่ง คือดูเวฟ ประเภทว่าดักซื้อเวฟ 2 หรือเวฟ 4 โดยการดูราคา หรืออินดิเคเตอร์ประกอบ
ซึ่งก็เป็นอีกเรื่องที่ผมไม่ได้ศึกษา จึงเอามาเล่าไม่ได้ แต่ได้ยินว่าบางท่านเล่นแนวนี้ได้ตังค์กันเยอะ คือดักได้แม่นมาก ชักดาบทีไรได้เลือดทุกที ก็ว่ากันไป สูตรใครสูตรมัน

ก็น่าจะมีเท่านี้แหละครับ ลองเอาไปใช้หรือหาข้อมูลต่อกันเองไม่ยากครับ ใช้อากู๋ หรือ google นี่แหละ เพียบ ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเอาความรู้กับมันจริงหรือเปล่าเท่านั้น คนที่อยากชนะ-เขาไม่มีข้ออ้างกันหรอกครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

แท่งเทียนกลับตัว - Reversal Candlesticks