จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด

"จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด" สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 ในโลกของการเทรด การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้มีแต่เส้นทางที่ราบรื่น หลังจากราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (leg up) ตลาดมักจะเข้าสู่ช่วงพักตัว (pullback) หรือการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางชัดเจน (chop and slop) ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีความแน่นอน แต่นี่คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับนักเทรดสายสวิงที่มีสายตาแหลมคม จังหวะพักตัวคือช่วงเวลาที่ตลาดปรับสมดุล ทดสอบแรงสนับสนุนและแรงต้าน การสังเกตจังหวะนี้อย่างใกล้ชิดช่วยให้นักเทรดมองเห็นรูปแบบที่สามารถนำไปสู่โอกาสการเทรดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาหุ้นหรือสินทรัพย์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี (index) และอาจนำหน้าดัชนีในบางจุด เคล็ดลับจากยอดนักสวิงเทรดการมองรอบราคาตลาด 1. ดูรอบของดัชนีตลาด (Price Cycle): การทำความเข้าใจว่าดัชนีอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรราคา เช่น ช่วงขาขึ้น ช่วงพักตั...

หนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ กับ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด ใช้เทรด Forex กับ Cryptocurrency ได้มั้ย?


เห็นมือใหม่หลายคนตั้งคำถามประเภทนี้ ใปใน inbox ของเพจ zyobooks เป็นประจำ

(และมี ตลาดอื่น เช่น Option, DW, Future ฯลฯ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกัน)

ผมก็ขี้เกียจตอบคำถามซ้ำ ๆ จึงเขียนบทความขึ้นมาเป็นหลักฐานอ้างอิงไว้

จะได้ให้แอดมิน zyobooks ให้คนสงสัยอ่านบทความนี้ ให้มันตอบคำถามแทน

ปล. ผมไม่อยากให้แอดมินตอบว่า "ใช้ได้" 

แต่ผมอยากให้ "ผู้ที่สนใจจะซื้อหนังสือ" พิจารณาข้อมูลจากนี้ เพื่อตัดสินใจเอง

ว่ามันใช่สิ่งที่ท่านต้องการ/ตามหาหรือเปล่า

ผู้ซื้อต้องรู้ ว่าตัวเอง

- กำลังมองหาอะไร 

- ต้องการอะไร 

- เอาไปใช้ทำอะไร 

- สามารถใช้งานได้มั้ย

เรา(แอดมิน)ทำได้แค่ให้ข้อมูลแก่ท่านเท่านั้น

ท่านต้องพิจารณารายละเอียด และตัดสินใจเอง



หนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ กับ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด 

ใช้เทรด Forex กับ Cryptocurrency ได้มั้ย?

สองเล่มนี้เขียนจากเคสของ "หุ้นไทย" เท่านั้นครับ

Forex ผมไม่เคยเอาไปใช้เทรดครับ จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่ามันใช้ได้มั้ย


ส่วน Cryptocurrency นั้น ผมเอาไปใช้เทรดครับ เวิร์คมาก

ผมใช้ความรู้จากเล่มดำ ไปเข้าซื้อ Bitcoin, Eutherum, XRP ได้ที่ต้นเทรนด์ขาขึ้นรอบใหม่

เพราะความรู้ในเรื่องของ Wyckoff Accumulation ในจังหวะที่เรียกว่า SOS หรือ Sign of Strength

นี่เป็นคลิปที่ผมทำข้อสังเกตเอาไว้ และ เทรดจริง





ส่วนในปีที่แล้ว (2020) ผมได้จังหวะซื้อ Bitcoin ที่ดี ด้วยการใช้ความรู้จากเล่มดำเช่นกัน


เนื้อหาในเล่มมีเคสการเทรด Cryptocurrency มั้ย?

ไม่มีครับ 

ถ้าท่านต้องการซื้อหนังสือเพื่อลอกการบ้าน เล่มนี้ไม่เหมาะ

แต่ถ้าท่านอยากได้ "วิธีการ จับจังหวะซื้อ" ที่ใช้ได้แทบทุกตลาด(ถ้าใช้กราฟแท่งราคา)

โดยที่ท่านมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม สองเล่มนี้เหมาะครับ

ปล. ความท้าทายคือ ท่านรู้จัก "ประยุกต์ใช้" หรือเปล่าล่ะ?

ปัญหาอยู่ที่ตัวผู้อ่านเองครับ หนังสือบอกไอเดียไปหมดเปลือกแล้ว


ในฐานะรุ่นพี่ ผมอยากบอกเคล็ดคุณแบบนี้นะ

การเทรดแบบเทคนิคอล ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น, Forex, Cryptocurrency ฯลฯ

ล้วนแต่ใช้ แท่งราคา (จะเป็นแท่งเทียน หรือ bar chart) เป็นตัวช่วยพื้นฐานทั้งนั้น

ซึ่งแท่งราคานี้แหละ ที่เป็นจุดตั้งต้นของ "อินดิเคเตอร์" ต่าง ๆ นานา

โดยอินดิเคเตอร์ที่ใช้แพร่หลายที่สุด คือ "เส้นค่าเฉลี่ย"

หนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ กับ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด ลงรายละเอียดเกี่ยวกับ เส้นค่าเฉลี่ย เต็ม ๆ ทั้งเล่ม

ดังนั้น ถ้าคุณสงสัยว่า มันจะใช้ได้กับ ตลาดที่คุณเทรดมั้ย 

ก็่ต้องถามตนเองว่า ที่คุณเทรด มันใช้กราฟแท่งราคามั้ย มีเส้นค่าเฉลี่ยมั้ย

ถ้ามี ก็เอาไปประยุกต์ใช้ได้

(ปล. คุณรู้จักประยุกต์ใช้หรือเปล่าล่ะ)


อีกอย่างที่ผมอยากบอก เรื่อง วัฏจักรราคา

คือ ในการเก็งกำไรนั้น มันจะมีวัฏจักรราคา ที่สะท้อนจิตวิทยาของนักเทรด ผ่านกราฟ

ฝรั่งเขาเรียกว่า Market Cycle

ไม่ว่าตลาดไหน ล้วนต้องมี วัฏจักรราคา ทั้งสิ้น

หน้าตาของมันจะเป็นแบบนี้



คุณจำภาพนี้เอาไว้ให้ดี มันคือทุกอย่างของการเทรดแบบเทคนิคอล

นี่เป็นภาพใหญ่ ที่คุณต้องเข้าใจ

เมื่อจำขึ้นใจแล้ว จากนั้นให้ศึกษารายละเอียด ข้างในนั้น เพื่อหาจังหวะซื้อ-ขาย

ให้คุณสนใจ เฉพาะช่วงปลายสะสม - ขาขึ้น เท่านั้นพอ

หาจังหวะซื้อที่เกิดซ้ำ ๆ ในช่วงที่ว่านี้ให้ได้

ลองหาลักษณะกราเคลื่อนไหวราคาแบบนี้ ในตลาดที่คุณเทรดดูครับ



ถ้ามี แสดงว่า คุณเอาความรู้จากหนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ และ หุ้นซิ่งสวิงเทรด 

ไปประยุกต์ใช้ได้ (ถ้าคุณมีทักษะการประยุกต์นะ)


อ่านบทความเสริม https://www.zyo71.com/2017/09/darvas-box.html


Dennis Richard หนึ่งใน Market Wizards บอกไว้ว่า

"I could trade without knowing the name of market"

"ผมสามารถเทรดได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าตลาดนั่นมันชื่อว่าอะไร"

หมายความว่าไงครับ?

หมายความว่า ทุกตลาด มันก็มีพื้นฐานการเคลื่อนไหวราคาเหมือน ๆ กัน ถ้าคุณรู้จักทฤษฎีวัฏจักรตลาด รู้จัก price pattern, price action และเส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นสากล

แค่นี้ก็เอาไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกตลาดแล้วครับ

ดังนั้น อยากแนะนำ น้อง ๆ มือใหม่ ว่า

อย่าให้ความสนใจที่ชื่อหุ้น/สินทรัพย์ มันไม่สำคัญ

นั่นเป็นเพียงผลลัพธ์ เอาไปใช้ซ้ำไม่ได้


แต่จงโฟกัสไปศึกษาลักษณะการเคลื่อนไหวของราคา price pattern, price action และเส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นสากลจดจำ นำไปประยุกต์ใช้

พวกนี้ต่างหาก ที่จำเป็น เพราะถ้าคุณจำได้ คุณจะเอาไปใช้ซ้ำได้ ใช้ในตลาดไหนก็ได้ แบบที่ Richard Dennis บอกไว้



ข้างในหนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ กับ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด มีเนื้อหาอะไรบ้าง?

คงไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมด ให้ท่านดูสารบัญก่อน จะได้ภาพรวมของหนังสือ ทั้งเล่ม

นี่เป็นสารบัญของ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่"



รูปเดียวนี่แหละครับที่เป็นที่สรุปเนื้อหาทุกอย่างในเล่มนี้แบบหยาบๆ
ซึ่งเล่มนี้จะโฟกัสเฉพาะช่่วงสะสม-ขาขึ้น-แจกจ่าย เท่านั้น เพราะเราต้องการเล่นหุ้นขาขึ้นรอบใหญ่

โดยระหว่างแต่ละบท, ผมจะใช้แนวคิด wyckoff , price pattern ต่างๆ มาขยายความในส่วนของการสะสมและแจกจ่าย รวมถึงใช้แนวคิด magic line มาช่วยให้ทนถือจนจบรอบ

สำหรับผู้เขียนเอง, ความสนุกและท้าทายที่สุดคือการเอารายละเอียดปลีกย่อย ความเชื่อต่างๆที่เคยอ่านเจอ หรือประสบกับตัวเองไปใส่ให้ถูกจังหวะและช่วงเวลาที่ว่านี้ อีกทั้งยกตัวอย่างหุ้นที่มีรูปแบบราคาสนับสนุนความเชื่อๆนั้นๆด้วย ครับ


ท่านจะได้เห็นรูปแบบราคาต่างๆที่ผมใช้บ่อยและยังพบว่ามันได้เคยเกิดกับหุ้นที่วิ่งรอบใหญ่หลายๆตัว
การแทรกคำคมที่ตกผลึกจากนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จเข้าไปในแต่ละตอนเพื่อจะช่วยให้ท่านเห็นภาพได้ดีขึ้น
และมันอาจได้ชี้บางจุดที่ท่านอาจจะมองข้ามมาก่อนให้หันมาแลมันอีกครั้ง



สรุปแบบขยายความให้ละเอียดอีกนิด
อีก Main idea ของเล่มนี้ ก็คือ "ซื้อแพงเพื่อไปขายในราคาที่แพงกว่า" หรือ "Buy High, Sell Higher" ครับ โดยจะเอาแนวคิดจากกราฟที่ว่านั้นไปรับใช้ไอเดียนี้

ที่มาของกราฟ, ก็ได้ใช้หลักคิดของสองไอดอลระดับตำนานมาเป็นกระดูกสันหลัง คือ
ปู่ Stan Weinstien กับ Richard D. Wyckoff

ทั้งคู่เขียนถึง "วงรอบหรือวัฎจักรของราคาหุ้น" เหมือนกัน
โดยผมชอบแนวคิด Wyckoff Logic ที่อธิบายเกี่ยวกับ demand/supply, การสะสมหุ้นและแจกจ่ายได้ดี
ส่วน Weinstien ก็ประทับใจการเอาเส้นค่าเฉลี่ยมาช่วยแยกระยะสะสม ขาขึ้น และ แจกจ่าย ให้เข้าใจง่ายขึ้น รวมทั้งมีการเอา price pattern มาช่วยระบุโซนต่ำสุดและสูงสุดได้ดี

เลยเอาความเด่นของทั้งสองฝ่ายมาใช้ร่วมกัน เพื่ออธิบายแนวทางการเล่น "หุ้นรอบใหญ่" ได้ดีขึ้น

ต่อมาก็จะเป็นสรุปทีละบทแบบสั้นๆ,
ทำไมต้องเล่นหุ้นขาขึ้นรอบใหญ่?
คำตอบง่ายๆคือ มันเป็นช่วงที่ราคาวิ่งขึ้นเร็วและแรง สร้างกำไรดี กว่าช่วงอื่นๆ
เรามาเล่นหุ้นเพื่อกำไรมิใช่เหรอ ถ้าอยากกำไรง่ายๆ ก็ต้องระบุช่วงขาขึ้นให้ได้ ซึ่งในเล่มนี้จะบอกว่าหน้าตาของหุ้นขาขึ้นเป็นยังไง, ใครเป็นเจ้าภาพทำให้เกิด, เพราะอะไร?

๑) ลักษณะของหุ้นขาขึ้น คือราคาวิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยหรือ Magic line ที่ยกเฉียงขึ้น
๒) เจ้าภาพของการเป็นขาขึ้นคือ Smart money, ผู้ชื่นชอบการเติบโตของกำไรในอนาคต, รวมถึงสภาพตลาดที่เป็นขาขึ้น ทำให้นักลงทุนกล้าซื้อหุ้นตามสตอรี่เด็ด
๓) เหตุผลที่ Smart money สร้างแนวโน้มขาขึ้น ก็เพื่อจะไล่ราคาให้สูง จะได้ขายหุ้นในราคาแพงกว่าต้นทุนของเขามากๆ ซึ่งเขาต้องอาศัยสตอรี่กำไรโต เป็นข้อมูลสนับสนุนชักนำให้สาธารณชนเข้ามาช่วยรับหุ้นจากเขา เมื่อรู้ข่าวจากสื่อ

ทฤษฎีวัฏจักราคาหุ้น
นำเสนอแนวคิดของนักลงทุนที่มีต่อวงจรราคาหุ้นในแบบต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของมันว่า หน้าตาหุ้นขาขึ้นเป็นยังไง ขาลงที่ไม่ควรเล่นเป็นยังไง จะได้เอาไว้กรองว่าตัวไหนน่าเล่น หรือไม่ควรแล นี่คือที่มาของภาพกราฟที่เป็นข้อสรุปนั่นแหละครับ

การอ่านกราฟเบื้องต้น
เป็นการปูพื้นให้กับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการอ่านกราฟ โดยคำถาม 14 ข้อพร้อมตำตอบที่เป็นตัวอย่าง น่าจะช่วยให้ท่านได้วิธีมองแบบง่ายๆได้ และเอาไปเป็นฐานในการทำความเข้าใจในบทต่อไปได้

จุดซื้อหุ้นที่ใช่
มีอยู่ ๒ จุดใหญ่ๆ คือ
๑) ช่วงที่ราคาเปลี่ยนเทรนด์จากสะสมเป็นขาขึ้น โดยดูการข้ามจุดสูงสุดในรอบ 200 วัน และรูปแบบ bottom pattern ที่น่าเชื่อถือ นั่นก็คือ Wyckoff accumulation, Head and shoulders bottom รวมถึง การข้ามเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์พร้อมวอลุ่มยืนยันขาขึ้น อีกทั้งการเกิด Breakaway gap ในช่วงต้นเทรนด์
๒) ช่วงกลางแนวโน้ม เมื่อหุ้นตั้งใจวิ่งรอบใหญ่ก็จะมีการพักเหนื่อยเป็นระยะๆเพื่อสะสมและปล่อยคนหมดใจให้ออกจากหุ้น มันจึงเกิดการ Re-accumulation ซึ่งมันก็คือการย่อเพื่อไปต่อ หรือที่เรารู้จักกันในรูปแบบ continuation pattern ไม่ว่าจะเป็นการย่อยแรงขาย, inverse head and shoulders ที่เป็นต้นตอของรูปแบบ cup with handle หรือแม้กระทั่ง breakaway gap

หุ้นซิ่ง
หุ้นที่จะวิ่งแรงๆรวดเดียวเป็นเด้ง มักจะมีการทำรูปแบบสะสมที่ยาวนาน ซึ่งมักจะมาในทรง parabolic curve หรือ base on base

The line of least resistance
เป็นการขยายความลักษณะของ "การย่อเพื่อไปต่อ" และ "การยืนยันขาขึ้น" ผ่านแนวคิดการย่อยแรงขาย ทำให้เราเห็นรูปแบบราคาที่ซ่อนอยู่ในนั้น จนเกิด pivot point ซึ่งเป็นจุดซื้อที่เสี่ยงต่ำในสายตาตำนานอย่าง Jessie Livermore และมันส่งต่อมาถึงวิลเลียม โอนีล และ มาร์ค มิเนอร์วินี ในที่สุด

การ Stop loss
เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องรู้จัก แต่มือใหม่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก เมื่อละเลย,จึงประสบกับการขาดทุนหนักกระทั่งเอาตัวไม่รอด บทนี้จึงพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของการรีบตัดขาดทุนให้ไว โดยเหตุผลหลักคือ ขาดทุนน้อย เอาคืนง่าย,
ถ้าอยากรวยหุ้นอย่างยั่งยืน-ต้องกำไรมากกว่าขาดทุน ควรตัดขาดทุนหุ้นที่อ่อนแอให้ไว และทนรวยกับหุ้นที่ผลงานดีเพื่อกินกำไรให้มากที่สุด

การทนรวย
เมื่อกล้า stop loss แล้ว จะรวยได้คุณต้องกล้าทนถือหุ้นให้กำไรเยอะๆ เพื่อให้เกิดกำไรสุทธิสูงๆต่อรอบ เมื่อกำไรทบต้นไปเรื่อยๆ ความมั่งคั่งก็บังเกิดในเวลาไม่นาน แนวคิดในการทนรวยก็คือการเอาหลักคิดเกี่ยวกับนิสัยของช่วงขาขึ้นมาใช้ นั่นคือ ตอนที่หุ้นเป็นขาขึ้น ราคาจะยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ หรือ Magic line ของมัน จนกว่าจะจบรอบ ก็คือตัดเส้นค่าเฉลี่ยนั้นลงไป เราจึงใช้เส้น Magic line นี้เพื่อเป็นไกด์ให้เราทนไปจนสิ้นแนวโน้ม ถ้าไม่หลุดก็ไม่ขาย

การ Take Profit
จุดขายที่ใช่นั้น, มีหลายรูปแบบ แน่นอน Wyckoff Distribution อธิบายได้ดีมาก อีกทั้งรูปแบบของ top pattern อย่าง Head and shoulders top, triple top, double top ก็ช่วยได้ หรือแม้กระทั่งคนที่ใจร้อนก็สามารถยึดเส้น trendline เพื่อช่วยให้ทำกำไรเฉพาะช่วงที่ราคาหุ้นมีโมเมนตัมดีที่สุด แต่ถ้าใครที่ใจเย็นก็สามารถใช้แนวทาง trailing stop มาช่วยก็ได้

หวังว่าเนื้อหาในเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้เห็นภาพของการเป็นขาขึ้น ที่มาของมัน ไอเดียจุดซื้อ-จุดขายที่หลากหลาย ผลึกคิดของไอดอลนักลงทุนที่แทรกในบทต่างๆ อันจะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพการลงทุนที่พวกเขาพบว่ามันใช่จนต้องบอกต่อ ได้กระจ่างขึ้นครับ

และย้ำอีกครั้งว่ามันไม่ใช่ Holy grail หรือจอกศักดิ์สิทธิ์ ที่ท่านอ่านแล้วบรรลุ หรือเอาไปใช้แล้วรวยทันที เนื้อหาในเล่มนี้เป็นแค่เศษเสี้ยวตัวอย่างการเคลื่อนไหวที่เกิดตลาดหุ้นเท่านั้น คุณต้องเอาไปทดสอบและทดลองใช้เพื่อให้เจอวงสวิงที่เหมาะกับจริตของคุณที่สุดครับ

ทดลองอ่านตัวอย่างหนังสือ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่"  คลิกที่นี่ครับ


นี่เป็นสารบัญของ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด"

"หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" (เล่มเขียว) แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้นด้วยกราฟรายวัน เล่มนี้จะเน้นการดูแท่งเทียน เอามาใช้ในการหาสัญญาณต้นเทรนด์ของขาขึ้น ซื้อหุ้นแบบ buying strength, buy weakness รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 10,20,50, 100, 200 วัน ขายหุ้นออกด้วย selling into strength, selling weakness ครบวงจรเช่นกัน

มีจำนวนหน้า 373 หน้า

รีวิว ที่ยูทูป


สารบัญหนังสือ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด

สรุปรายบท

เริ่มที่บทแรก : Swing Trade
เป็นการให้คำจำกัดความ การเล่นหุ้นแบบ swing trade ที่ผมอยากนำเสนอให้อ่านในเล่มนี้ครับ
ก็เป็นการเริ่มต้นตั้งแต่

๑) Swing Trade คืออะไร เล่นยังไง
๒) วิธีการเล่นสวิงเทรดแบบคลาสสิค คือซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้าน
๓) สูตรการ Swing trade แบบ IBD (สำนักปู่โอนีล)
๔) สูตรการ swing trade ของลุง Oliver Velez
๕) สูตรการ swing trade ของลุง Dave Laundry
๖) สูตรการ swing trade ของลุงโฉลก
๗) สูตรการ swing trade ของโมเมนตัม มาสเตอร์


บทที่ 2 : EMA Swing Trade
เป็นการเอาเส้นค่าเฉลี่ยมาใช้รันเทรนด์ระยะสั้น เพื่อสวิงเทรดครับ คือเราจะไม่เล่นสั้นจบในวันแบบ day trade แต่จะถือไปจนราคาหมดแนวโน้มระยะสั้น ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันจะจบเมื่อไหร่ หากเห็นแท่งราคาหลุดทะลุเส้น EMA ลงไป ก็ขายเมื่อนั้น วิธีการนี้จะดีกว่า day trade เพราะว่าเรามีโอกาสได้กำไรมากขึ้นครับ คือไม่เน้นเอากำไรช่องสองช่อง แต่จะเอาหลายเปอร์เซ็นต์ 
ดังนั้น แนวทางที่จะทำให้เรารันเทรนด์ได้กำไรอย่างสบายๆก็คือ เน้นเล้นหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น ซึ่งเส้นค่าเฉลี่ยก็ทำหน้าที่ตรงนี้ได้อย่างดีเยี่ยมครับ เพราะมันจะใช้ได้ประโยชน์ที่สุดก็ต่อเมื่อมีแนวโน้มที่เด่นชัดเท่านั้น

 ซึ่งเส้นค่าเฉลี่ยที่จะใช้รันเทรนด์ก็จะมีตั้งแต่ EMA5, 10, 20 เป็นหลักครับ

บทที่ 3 : Moving Average คืออะไร
ก็เป็นการให้ข้อมูลที่มาของเส้นค่าเฉลี่ยครับ ซึ่งจะเน้นที่ EMA เป็นหลัก
จากนั้นก็จะเป็นการเอาเส้นค่าเฉลี่ยไปใช้กับการเคลื่อนไหวของราคาครับ คือใช้แบ่งแนวโน้มให้ท่านเห็นภาพชัดขึ้น ตั้งแต่
๑) แบ่งแนวโน้ม
๒) บ่งบอกสุขภาพของแนวโน้ม
๓) ใช้เป็นแนวรับแนวต้าน
๔) ใช้กับนักลงทุนต่างประเภท เล่นสั้นใช้เส้น 5,10, 20 กลาง 50, 100 ยาวก็ใช้ 200
๕) เป็นเส้นแบ่งนรกสวรรค์ ยังไง? ต้องไปอ่าน

บทที่ 4 : The Trend is Your Friend
แนวโน้มคือเพื่อคุณ , เล่นตามแนวโน้ม คุณถึงจะทำเงินได้ง่าย เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จเขาบอกตรงกันเป็นเสียงเดียว แล้ววิธีการดูแนวโน้มอย่างง่ายๆ เขาทำยังไงกัน?
ก็อาศัยเส้นค่าเฉลี่ยนี่แหละครับ
๑) ลักษณะของแนวโน้มขาขึ้น ดูยังไง?
๒) ลักษณะของแนวโน้มขาลง ดูยังไง?
๓) การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเพื่อเช็คแนวโน้มขาขึ้น
๔) การเช็คแนวโน้มด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเส้นเดียว ทำยังไง? บอกเลยว่าตอนนี้แหละที่เส้นค่าเฉลี่ยเกิดมาเพื่อการสวิงเทรดโดยแท้เลยครับ เส้นเดียวเอาอยู่


บทที่ 5 : Market Leader
ว่าด้วยหุ้นนำตลาดครับ มันก็คือหุ้นที่เป็นขาขึ้นหรือหุ้นซิ่ง นั่นแหละครับ เป็นหุ้นที่วิ่งเป็นขาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าตลาดจะดูไร้ทิศทาง

 แต่หุ้นนำตลาดก็จะแสดงออกถึงความเหนือชั้นกว่าด้วยบุคลิกที่โดดเด่น โดยท่านสามารถใช้เส้นค่าเฉลี่ยเทียบกันได้เลย


บทที่ 6 : Buying Strength - Price Pattern
เป็นแนวทางการซื้อหุ้นเมื่อราคาแสดงออกถึงความแข็งแกร่งครับ ซึ่งมันก็คือตอนที่ราคาได้ breakout ข้ามฐานราคา หรือ continuation pattern นั่นเองครับ ก็จะมีเคสของฐานราคาดังนี้
- flat base
- cup with handle
- inverse head and shoulders
นอกจากนั้นก็จะมีการเอ่ยถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการ buying strength ด้วยว่า
๑) แนวโน้มตลาดและหุ้นต้องแข็งแกร่ง
๒) พื้นฐานต้องแข็งแรงด้วย
๓) แนวทางการเล่นหุ้นจาก top gainer


บทที่ 7 : Buying Strength - Breakout & Gap
เป็นอีกตอนที่แยกออกมาเพื่อให้เห็นการ breakout ด้วยแท่งเทียนเขียวยาว ที่มาพร้อมกับวอลุ่ม ซึ่งเป็นลักษณะของหุ้นซิ่ง หรือ Momentum stocks ซึ่งมันต้องมีส่วนประกอบสองอย่างที่มาคู่กัน คือ
๑) แท่งเทียนเขียวยาว ที่บ่งบอกว่ามีแรงซื้อจากรายใหญ่เข้ามา
๒) จะบอกว่าเป็นรายใหญ่จริง วอลุ่มต้องสูงโดดเด่นด้วย
๒) อีกเรื่องคือวอลุ่มที่เป็น signature ของหุ้นซิ่งคือ เวล่ราคาดีดเขียวขึ้น วอลุ่มต้องพุ่งโดดครับ แต่พอราคาย่อวอลุ่มต้องลดลง ซึ่งถ้ามันจะไปต่อจริง ต้องไม่ออกข้างนาน พักไม่กี่วันก็จะดีดขึ้นไปต่อได้อีก ซึ่งตอนพักตัววอลุ่มก็จะแห้ง แบบชัดเจน
และอีกประเด็นที่ผมอยากนำเสนอให้ท่านได้ระวังมากๆ โดยยกเคสให้ท่านดูก็คือ อย่าเพลินกับหุ้นซิ่งครับ หุ้นบางตัวดีดขึ้นพรวดจบรอบเลย ดังนั้น ท่านต้องเฝ้าระวังรอดูสัญญาณกลับตัวให้ดี ซึ่งในบทนี้จะมีเคสให้ท่านเห็นเป็นตัวอย่างว่า แท่งเทียนจบรอบหน้าตาเป็นยังไง
ก็จะมีเคสทั้งหุ้นราคาแพงและหุ้นต่ำบาทให้ท่านดูด้วย ซึ่งก็จะมีแนวทางการดูที่แตกต่างไป แต่บอกตรงๆว่าเล่นยากเอาการ เพราะโอกาสกับความเสี่ยงนั้นมันไม่ค่อยคุ้มครับ
๓) Breakout Pivot Point เป็นการดูลักษณะการ breakout ที่ฟื้นจากการพักตัวอย่างทรงพลัง
๔) IPO Pivot Point เป็นการดูลักษณะฟื้นตัวพร้อมขึ้นของหุ้น IPO ที่ก่อนหน้านั้นถูกขายแล้วทิ้งให้แช่ออกข้างเป็นเวลานาน ถ้าใครต้องการต้นเทรนด์ของหุ้นชนิดนี้ก็อ่านดูได้
๕) Gap ก็จะเน้น breakaway gap ว่าหน้าตาเป็นยังไง ซึ่งก็จะเป็นเคสใหม่ ไม่ซ้ำจากเล่มก่อน
๖) Earning gap เป็นตอนแถมครับ ทำเพื่อไม่ให้ท่านตกเป็นเหยื่อของการเปิด gap ที่เกิดในช่วงประกาศงบ โดยผมจะยกเคสที่โดน sell on fact ให้ท่านดู มีทั้งล้มเหลว และสำเร็จ

บทที่ 8 : Buying Weakness
สำหรับใครที่สนใจเรื่อง buy on dip, buy pullback บทนี้ผมขอจัดเต็มเพื่อท่านเลย ซึ่งจะเริ่มปูให้ท่านเห็นแนวคิดและจะใส่เคสให้ท่านเห็นในบทต่อไปอย่างมากมาย โดยในบทจะมีตอนย่อยๆดังนี้
๑) Top trader ท่านไหนที่ buying weakness บ้าง เขาใช้เส้นระยะไหนกัน?
๒) แบบไหนจึงเรียกว่าแนวรับ แบบไหนที่เรียกว่าเอาอยู่?
๓) ลักษณะของแท่งเทียนกลับตัวที่น่าสนใจ ที่เราเห็นบ่อยตรงแนวรับหรือเส้นค่าเฉลี่ย
๔) ซื้อตรงไหนดีที่สุด?


บทที่ 9 : เคส buying strength & buying weakness เพิ่มเติม 
ขอจัดเคสให้ท่านได้ดูเพิ่มอย่างสาสมครับ คือยิ่งทำยิ่งเจอ ก็เลยเพิ่มบทนี้เติมให้ท่านอีก
ที่ผมนำเสนอแนวทางการซื้อให้ท่านอ่านสองแบบก็เพราะว่าหุ้นขาขึ้นมี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑) ขึ้นแบบฟันปลา คือวิ่งไม่ขาดน่ะครับ พูดง่ายๆ ทรงแบบนี้ follow buy แบบ breakout มีแต่เสียหายครับ ดังนั้นการซื้อแบบ buy weakness จะได้เปรียบ และสบายใจมากกว่า ซึ่งจะเหมาะสำหรับช่วงนี้มาก เพราะ SET กำลัง sideway หุ้นส่วนใหญ่จึงวิ่งขึ้นแบบเขย่า คือเป็นขาขึ้นอยู่ ทรงได้ แต่ไม่วิ่งแรง เพราะคนไม่แน่ใจในสภาพตลาดไง พวกเขาจึงเล่นแบบสวิง ย่อซื้อ เด้งขาย ดังนั้น buy weakness จึงเหมาะมาก
๒) ขึ้นแบบซิ่ง ก็วิ่งขึ้นแบบแข็งแกร่ง ดีดขึ้นแรง พอย่อก็พักออกข้าง วอลุ่มลด แบบนี้ buying strength ได้ประโยชน์ที่สุด แต่ก็สามารถ buy weakness ได้เช่นกัน


บทที่ 10 : Selling into Strength
บทนี้ผมตั้งใจทำให้ท่านที่อีตอนหุ้นขึ้นดีๆไม่กล้าขาย ต้องรอให้เท่าทุนหรือขาดทุนเสียก่อนจึงรู้สึกตัว
ซึ่งจริงๆบอกไว้เลยว่าทำใจยากมาก เพราะมันค้านความรู้สึก แต่เชื่อมั้ยว่า top trader ที่ประสบความสำเร็จเขาทำได้ เขาทำกันจนเป็นนิสัย ซึ่งถ้าท่านทำตามหลักการนี้ได้ ท่านก็จะไม่บ่นให้ได้ยินอีกว่า ซื้อเป็น-แต่ขายไม่เป็น เพราะผมจะยกไอเดียมาให้ท่านดู ตั้งแต่
๑) Selling into strength แบบปู่โอนีล ซึ่งท่านใช้หลักการดู climax run ครับ ซึ่งจะโฟกัสไปที่ลักษณะการเคลื่อนไหวที่รุนแรงผิดปกติ ซึ่งเราสามารถดูลักษณะแท่งเทียนได้


๒) กฎการขายที่ +20% ของปู่โอนีล และพี่มาร์ค
ตรงนี้แหละที่ผมคิดว่ามันเวิร์คมากครับ เพราะหุ้นในตลาดบ้านเรามี superperformance stocks น้อยมาก ส่วนใหญ่จะวิ่งขึ้นแบบชั่วคราวน่ะ คือวิ่งเดี๋ยวเดียวก็จบรอบ ดังนั้นถ้าเราเอาไอเดียนี้เป็นฐาน ก็น่าจะได้เป้าขายอย่างน้อยที่ระดับราคานี้ เพราะนอกจากปู่โอนีลจะใช้ พี่มาร์คก็เอาด้วยครับ นี่เป็นหลักการสวิงเทรดของแกเลย คือจะไม่เน้นรันเทรนด์ระยะยาว ยกเว้นว่าหุ้นตัวนั้นจะมีพื้นฐานและการเคลื่อนไหวที่โดดเด้งจริงๆ คือหุ้นที่จะทำกำไรให้เรา มีอยู่แค่ ๒ ประเภท คือ
- ขาขึ้นแบบธรรมดา มีเกิน 90% ซึ่งเราเล่นเอากำไรระดับ 5-20% พอไหว
- ขาขึ้นแบบยอดหุ้น มีไม่ถึง 10% คือปีนึง มีไม่กี่ตัวหรอก ถ้าเจอทรงสวยก็รันไปให้สุดเทรนด์
๓) สวิงเทรดแบบ IBD ที่เขาเน้นเอากำไรแค่ 5% พอ
๔) Buying wekness & Selling into strength ก็เป็นแนวทางคลาสสิคที่เรารู้จักกัน ซื้อตอนย่อ-ขายตอนเด้ง ซึ่งมันใช้การได้ดีกับแนวทาง +5% ของ IBD อย่างเป๊ะครับ
ใครที่อยากเล่นเก็งกำไรสั้นมาก ผมว่าแนวทางนี้เหมาะกับท่านมากครับ
๔) Most powerful candlesticks reversal เป็นการเอาทรงแท่งเทียนกลับตัวมารีรันให้ดูอีก
๕) Excess phase นี่คือทฤษฎีที่ผมคิดว่ามันเอามาอธิบายแนวทางการ selling into strength ได้ดีที่สุดครับ ก็มาจาก Dow theory นั่นเอง ซึ่งผมจะชี้ให้ท่านดูว่าในระยะนี้ทรงของแท่งเทียนจะเป็นยังไง เพื่อต่อไปท่านจะได้เอาไปสังเกตและลองทดสอบดูครับ
๖) สรุปข้อดีและข้อเสียของแนวทางนี้ ก็แน่นอนล่ะว่ามันก็ไม่ได้เป๊ะ 100% หรอก ผมบอกกับท่านไว้อย่างนั้น ท่านอาจได้ขายหมู แต่ก็กำไรนะ อย่าเสียดายกำไรจนปล่อยให้มันขาดทุนค่อยคิดได้สิ แม้มันจะทำใจยาก แต่ก็ลองทำดูเถอะ ตอนแรกอาจจับจังหวะยาก แต่พยายามลองให้เข้ามือ เดี๋ยวท่านก็จะเทพเอง

บทที่ 11 : Selling wekness - EMA trailing stop
เป็นแนวทางการขายเมื่อหุ้นแสดงออกถึงความอ่อนแอสุดขีดก่อนจบรอบครับ
แนวทางที่ผมแนะนำคือใช้เส้นค่าเฉลี่ยเป็นตัวช่วยครับ โดยใช้เป็น trailing stop
ซึ่ง trailing stop ก็มีหลายแบบ
๑) Support trailing stop เอาแนวรับเป็นจุดตัดขาย
๒) Trendline trailing stop เอาเส้นเทรนด์ไลน์เป็นจุดตัดขาย
๓) EMA trailing stop ใช้เส้นค่าเฉลี่ยเป็นจุดตัดขาย
ซึ่งผมพบว่าแบบ หนึ่งกับสาม ใช้งานง่ายสุด โดยแบบท้ายน่ะ ง่ายกว่าใคร เพราะเส้นค่าเฉลี่ย ระบบมันทำมาให้ท่านอยู่แล้ว ไม่ต้องไปลากให้เสียเวลา
แต่ปัญหาก็มีนะ คือท่านเถียงอินดิเคเตอร์ ตัดลงแล้วก็ต่อราคา รอดูอีกนิด กว่าจะได้ขายก็โน่น ขาดทุนเป็นสิบเปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้ก็ว่าใครไม่ได้ ปัญหาอยู่ที่ตัวท่านเองแล้วล่ะ


บทที่ 12 : Candlestick Emotion
เป็นบทส่งท้ายในภาคทฤษฎีครับ ก็เป็นการสรุปรวบยอดเรื่องแท่งเทียนอีกรอบ
๑) เทคนิคการอ่านสัญญาณแท่งเทียน
๒) แท่งเทียนกับวัฏจักรราคา แต่ละระยะแต่ละ stage แท่งเทียนควรมีลักษณะยังไง ผมก็จะมโนลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ให้ท่านได้ดูครับ
๓) Big white จิตวิทยาเบื้องหลังของมันคืออะไร
๔) แท่งเทียนที่เหมาะสำหรับการ buying strength
๕) Pocket Pivot Buy Point คือแท่งเทียนแบบไหน
๖) Pivot breakout คือแท่งไหน
๗) แท่งเทียนที่เหมาะสำหรับ buying weakness
๘) แท่งเทียนที่เหมาะสำหรับ selling into strength
๙) Onday reversal = blending candlesticks เป็นการแตกสมการแท่งเทียนครับ ว่าแท่งเดี่ยวนั้นมันมาจากการรวมแท่งเทียนไหนกับตัวไหน จึงได้ออกมาเป็นหน้าตาดังกล่าว
๑๐) Two & three day reversal เอาหน้าตามาให้ดูอีกครั้ง
๑๑) แท่งเทียนที่เหมาะสำหรับ selling weakness เป็นยังไง แท่งไหนที่เป็นพระเอก เห็นหน้าตาแบบนี้แหละออกอาการแน่ๆ เหมือนมวยโดนหมัดน็อค
๑๒) Candlestick entry & sell signal จุดซื้อขายโดยใช้แท่งเทียนประกอบ


บทที่ 13 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA5
ใครชอบหุ้นซิ่ง ผมมีเคสการรันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ยนี้ให้ดูครับ ประกอบด้วยหลายตอน
๑) EMA5 เส้นค่าเฉลี่ยสำหรับ super bullish trend
๒) สาเหตุที่ทำให้ราคาวิ่งแรงเกาะ EMA5 ได้ต่อเนื่อง
๓) เคส Buying weakness ที่โซน EMA5 
๔) แนวทางการขายหุ้นด้วยการใช้ EMA5 ช่วย


บทที่ 14 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA10
เส้นนี้ก็เป็นหุ้นซิ่ง ประกอบด้วยหลายตอนเช่นกัน
๑) ประโยชน์ของเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน
๒) การทนรวยด้วย EMA10
๓) การใช้เส้นค่าเฉลี่ย 10 วันเพื่อช่วยขายหุ้นของศิษย์ปู่โอนีล 
๔) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA10 กับหุ้นซิ่ง IPO
๕) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA10 กับหุ้นซิ่งในตำนาน
๖) ตอนเสริม ว่าด้วยการเป็นแนวต้านในขาลงของ EMA10


บทที่ 15 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA20
เส้นนี้ก็ยังซิ่งอยู่นะครับ ซึ่งก็มีบางตัวที่วิ่งยาว ก็มักจะเป็นหุ้นพื้นฐานดีขึ้น มักจะเกาะเส้นนี้ขึ้น ซึ่งยิ่งเส้นยาวขึ้นก็จะให้ตัวมากขึ้น ช่วงพักตัวก็จะนานขึ้น อึดอัดมากกว่า แต่ถ้ามันไม่จบรอบง่ายๆ ก็จะกำไรมากกว่า
๑) Top trader ท่านไหนที่ใช้ประโยชน์จากเส้นนี้
๒) แนวทางการใช้ประโยชน์จาก EMA20
๓) Price pattern ในโซน EMA20 
๔) จุดซื้อที่ EMA20 สไตล์พี่มาร์ค(ผมมโนเอานะ)
๕) เคส parabolic move (การซิ่งแหลก)เหนือ EMA20
๖) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA20 กับหุ้นซิ่งในตำนาน


บทที่ 16 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA50
เส้นนี้เป็นกรอบแนวรับของหุ้น superstocks ครับ ปู่โอนีลใช้เส้นนี้แหละ ที่ท่านเห็นในหนังสือเล่มส้มของแก ที่เป็นเส้น 10 week ก็คือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันนี้เอง ซึ่งในบทนี้ประกอบด้วย
๑) Top trader ท่านไหนที่ใช้ประโยชน์จากเส้นนี้
๒) นัยยะของ EMA50
๓) การเป็นแนวรับที่มีนัยยะของ EMA50
๔) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA50


บทที่ 17 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA100
เส้นนี้ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญหรอกนะ แต่ผมเห็นประโยชน์ของมัน
๑) EMA100 กับ bear trap เป็นลักษณะการเขย่าครั้งสุดท้ายก่อนซิ่งแหลก
๒) EMA100 dip แล้วเด้ง เคสหุ้นที่กลับตัวบนเส้นนี้
๓) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA100
๔) EMA100 แนวด้านหุ้นที่ดีดแรงจากขาลง
๕) ย้อนรอยหุ้น PTT ตั้งแต่ IPO ตามรอยเสี่ยยักษ์


บทที่ 18 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA200
เส้นนี้เป็นจุดเข้าทำของนักลงทุนระยะยาวครับ ถ้าหุ้นตัวนั้นมีพื้นฐานที่ดีเด่นของประเทศ ให้ท่านดูนัยยะของการเด้งที่เส้นนี้เลยครับ ซึ่งมีตอนย่อยดังนี้
๑) EMA200 กับการเป็นแนวรับกับแนวต้านที่มีนัยยะ
๒) ซื้อที่ EMA200 ขายที่ EMA10
๓) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA200

ทดลองอ่านตัวอย่างหนังสือ "หุ้นซิ่งสวิงเทรด"
คลิกที่ลิงค์นี้ https://issuu.com/home/published/swingtrade-promo


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)