กับดักอันตรายของการซื้อหุ้นราคาถูก

Image
กับดักอันตรายของการซื้อหุ้นราคาถูก "หุ้นราคาถูก" ในความหมายของพี่มาร์ค ที่เป็นนักเก็งกำไร คือ "หุ้นขาลง ที่ลงหนักจนคุณเทียบระยะห่างจากราคาที่จุดสูงสุดกับราคาปัจจุบันแล้วพบว่าตอนนี้มันลดราคาเยอะมาก" นะครับ แกไม่ได้ให้นัยเกี่ยวกับมูลค่าแต่อย่างใด (ถ้าคุณมั่นใจว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการคำนวณมูลค่าหุ้นชนิดหาตัวจับยาก ก็ให้ข้ามไปนะครับ ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวกับคุณ) . ความอันตรายของหุ้นขาลง ที่มือใหม่คิดว่ามันลงจนราคาถูกมากแล้วก็คือ  ๑) คุณเชื่อว่าตอนนี้มันราคาถูกมากแล้ว ๒) พอมันร่วงลงต่อ คุณจะไม่กล้าขาย เพราะเชื่อว่ามันถูกมากแล้ว ไม่น่าลงต่อไปได้อีกมากหรอก ๓) ยิ่งราคาร่วงลงต่อไปอีก คุณจะรู้สึกว่าราคาที่ถูกกว่านั้นมันดึงดูดให้คุณ "ซื้อเพิ่ม" โดยไม่ลังเล และชอบธรรมที่จะซื้อ ๔) ไป ๆ มามา คุณก็ได้ซื้อถัวเฉลี่ยด้วยเงินที่ก้อนโตมากเกินไป Position Sizing โตเกินไป โตจนจนละเมิดการบริหารความเสี่ยงที่ดีไป -- คุณกำลังเพิ่มความเสี่ยงในการทำลายตนเอง(Risk of Ruin)มากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ๕) และถ้าคุณโชคร้าย หุ้นตัวนั้นเป็นตัวซวย การถัวเฉลี่ยผู้แพ้แค่ตัวเดียว ก็ทำลายพอร์ตของคุณได้อย่างง

ใครทำให้เกิดการ Pullbacks หรือ Retracements ?


ราคาหุ้นในตลาด ไม่ได้วิ่งขึ้นพรวดเดียวจบ 50% หรือ 100% หรอกนะ (แม้แต่ ceiling 30% เองก็เถอะ) พูดง่ายๆคือ, เมื่อราคาเคลื่อนที่จาก A ขึ้นไปหา B ก็ไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรงพรวดเดียว กว่าที่มันจะเดินทางจากจุด A ไปถึงจุด B ได้ ก็ต้อง วิ่งขึ้นนิดนึง แล้วก็ย่อ จากนั้นจึงวิ่งกลับไปในทิศทางเดิมอีก แล้วย่อย้อนกลับลงไปอีกนิด ก่อนที่จะดีดกลับขึ้นไปทำนิวไฮ แบบนี้หลายครั้งจนกว่าจะถึงจุด B



ถ้ายังไม่เห็นภาพ ให้ดูตัวอย่าง หุ้น GCAP เอากราฟวีคก่อน จับตาดูช่วงที่ผมระบุ จาก A ไปถึงแท่ง B
ในกราฟคุณจะเห็นว่ามันวิ่งพรวดเดียวต่อเนื่องเลย ไม่มีพักไม่มีย่อ

แต่เมื่อดูกราฟรายวัน
คุณจะเห็นเลยว่า มันมีขึ้น-พัก(หรือย่อ) ขึ้นต่อ-พัก(ย่อ) แบบนี้ซ้ำๆกัน ไปเรื่อยๆ

แล้วทำไมราคาต้องย่อหรือพักตัวด้วยล่ะ? สาเหตุมาจากอะไร? เคยสงสัยกันมั้ย?
ผมไปเจอคำอธิบายจากบล็อกนี้ https://whatheheckaboom.wordpress.com/2013/06/16/why-do-pullbacks-retracements-happen/ แล้วคิดว่ามัน make sense ดี จึงอยากให้ลองอ่านกันดู

๑) เหตุผลทาง demand กับ supply แบบธรรมชาติ
A) สำหรับการวิ่งขึ้นของราคาแบบปกติ (ไม่ใช่โมเมนตัม capitulation-type move) ,เมื่อราคาบวกเพิ่มขึ้น(แพงขึ้น)-คนที่อยากซื้อก็จะลดลง
เพราะอะไร?
- เมื่อคนที่อยากซื้อได้หุ้นไปแล้วก็จะไม่อยากซื้อในต้นทุนที่แพงขึ้น
- คนที่ตกรถรู้สึกว่าราคาวิ่งแรงเกินไปกลัวดอย ก็รอมันย่อเพื่อซื้อ หรือแม้แต่รอช็อร์ต
a1) ผู้ต้องการขาย(เพราะกำไร-หรืออยากช็อร์ต) ก็จะเริ่มทดสอบความแข็งแรงของการขึ้น เมื่อเห็นว่าราคาเริ่มบวกแบบอ่อนแรงให้เห็น(เช่น แท่งสั้นวอลุ่มลด) ถ้าโดนขายสวนน่าจะกลับตัวได้แบบง่ายๆ
และเมื่อนักขายเหล่านั้นลงมือ-คนที่ถือหุ้นอยู่(และกำไรแล้ว หรือ long เอาไว้) เมื่อเห็นโมเมนตัมการขึ้นมันอ่อนแรง, บางคนก็เริ่มขายหุ้นออก-ทำให้โมเมนตัมเสียทรงไปอีก
a2) เทรดเดอร์ผู้รอสวนเทรนด์อยู่, เมื่อเห็นว่าราคาย่อ-ก็เข้าไปร่วมวงช็อร์ต, ทำให้ supply เพิ่มเข้ามาในตลาดได้อีก
a3) รายใหญ่ที่เล่นระยะยาว,ผู้ที่เป็นเจ้าภาพขับเคลื่อนให้ราคาวิ่งขึ้น ก็ผสมโรงทุบด้วย แล้วค่อยกลับไปรับซื้อในระดับราคาช่วงแนวรับ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าราคาต้องยกโลว์



สรุปคือ, เนื่องจาก
(i) ขาด demand จากผู้ซื้อ
(ii) supply จาก คนที่ long เอาไว้
(iii) supply จากผู้เล่น countertrend หน้าใหม่
(iv) supply จากผู้เล่นรายใหญ่หุ้นเยอะ ที่เคยผลักดันราคาให้วิ่งขึ้น
การย่อหรือ retracement จึงเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

ในกรณีที่ราคาย่อแบบนี้(momentum capitulation) มักจะมีที่มาจากการไล่ราคาที่รุนแรงมาก่อน(ทำแท่งเขียวยาววอลุ่มสูงปรี๊ด), จากนั้นรายย่อยมือใหม่ก็จะมาซื้อตาม ผลก็คือราคาขึ้นแบบอ่อนแอ(บวกแต่ขึ้นไปน้อย-แถมวอลุ่มก็บางมาก) ซึ่งมันก็อยู่ในสายตาที่รอจังหวะของนักอยากขายอยู่แล้วไง เมื่อเห็นว่าราคาขึ้นแบบอ่อนแอ-ก็จัดการขายทำกำไรทันที

ซึ่งทรงของราคาตามที่เขาอธิบายมานี้, น่าจะเป็นแบบ COL

หรือ MEGA ตอนที่เปิด gap


๒) เกิดจากการเกมของ Market Mover
- จากข้อที่แล้ว ได้กล่าวถึงการกระทำของ market movers ที่ผสมโรงทุบหุ้น เพื่อ recycle their capital (น่าจะหมายถึงการจัดการต้นทุนอะไรสักอย่าง-ซึ่งผมไม่ค่อยเข้าใจ หรือว่ามันจะเป็นการ SAP-short against port ประเภทหนึ่ง?) so as to continue supporting the market move in a particular direction.



และอีกประเด็นที่เขาอยากเสริมคือ: การที่ Market Mover ทุบเพื่อ recycle their capital เนี่ย ซึ่งบางครั้งมันก็ทำให้เกิดแนวโน้มขนาดใหญ่-ไม่ใช่แค่ย่อธรรมดา(คือมียุบลบเป็นสิบเปอร์เซ็นต์เลย)
ตัวอย่างเช่น, ผู้เล่นรายใหญ่(หรือ Market Mover)ไล่ราคาขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง ก็ไปเจอ supply จำนวนมากขวางอยู่-ก็พยายามซื้อแล้วนะ แต่ไม่ผ่านได้เสียที
เมื่อรู้ว่าสู้ไม่ได้-ก็อย่ากำไรกันเลย Market Mover ก็จัดการเอาหุ้นส่วนหนึ่งที่อยู่ในคลังสะสม-ออกไปขายทุบราคาให้ลงหนักๆ ราคาก็ลงแรงและเร็วสิ รายย่อยเห็นก็ตกใจขายหนีตายกันใหญ่ บางครั้งก็ลงหนักจนเกือบถึงจุดเริ่มต้นของการขึ้นเลยทีเดียว ในขณะที่คนส่วนใหญ่กลัวอยู่นั้น, รายใหญ่ก็แอบเก็บหุ้นที่ราคาต่ำๆกลับคืนคลังจนหมด
การลงมือในครั้งนี้ มันได้เพิ่มอำนาจให้กับรายใหญ่ ในแง่ของ:
1) เงินเขาเยอะมาก จึงรับหุ้นที่ถูกเทขายออกได้(เกือบ)หมด
2) ผลคือ-ได้หุ้นราคาถูกๆจำนวนมาก
เมื่ออะไรๆเป็นไปตามแผน, รายใหญ่ก็รีบดันราคาให้กลับขึ้นไปให้ทะลุจุดสูงสุดเดิมได้อย่างง่ายๆ(เพราะ supply ที่ดักขายจำนวนมากถูกย่อยไปหมดแล้วไง) นี่คือการสร้างแนวโน้มอีกแบบหนึ่ง (จริงๆเขาบอกว่า three nice big trends นะ แต่ผมแปลไม่ออก)
ไอเดียข้อนี้, ทำให้ผมนึกถึงเคสของ ECL
อาจจะไม่เป๊ะนะ เพราะผมอยากเห็นแท่งที่เป็นยอดก่อนกลับตัว วอลุ่มต้องสูง-เพื่อสื่อว่า supply จำนวนมากขวางไม่ให้ไป หรืออาจจะเป็นแบบ GCAP

NETBAY ก็คล้าย

๓) เขย่าคนใจฝ่อออกจากตลาด
เพื่อให้ตลาดวิ่งขึ้นสูงได้อีก, มันต้องมีการเขย่าคนใจฝ่อออกจากตลาด(คนใจฝ่อคือพวกที่ตอนแรกตั้งใจจะถือยาว แต่พอราคาย่อหนักๆก็เปลี่ยนใจไปขายที่จุดต่ำสุดอยู่เสมอ) ด้วย engineering retracements (คืออะไร?)
หลังจากที่ราคาย่อ, หุ้นก็ถูกเปลี่ยนไปอยู่ในมือของคนกลุ่มใหม่/หรือรายใหญ่ที่ตั้งโต๊ะดักรออยู่แล้ว นี่เป็นส่วนผสมที่จำเป็น-เพื่อให้ผู้เล่นรายใหญ่สามารถดันราคาขึ้นเหนือแนวต้านเดิม,ทำนิวไฮ และบินสูงได้อีก



๔) กำจัดคนตั้ง stop แคบออกจากตลาด
ผู้เล่นรายใหญ่จะรู้ว่าจะมีเทรดเดอร์ใช้หลักการ trailing stop เพื่อล็อกกำไร ซึ่งเมื่อราคาหลุด stop ลงไปก็ต้องขายหุ้นออกตามระบบ(ซึ่งพวกเขาทำถูกต้องแล้วนะครับ นี่ไม่ใช่เรื่องน่าอายอะไร)
อัลกอริธึมและผู้เล่นรายใหญ่จะกำจัดเรดเดอร์กลุ่มนี้, โดยการขายกดเพื่อให้ราคาลงหนักจนหลุด stop แล้วจึงตั้งราคารับซื้อต่ำกว่า stop นั้น

๕) การกระทำของ Market Maker
ในตลาดที่มี Market Maker เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดหลักทรัพย์ หาก demand เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มันจะบังคับให้ผู้เชี่ยวชาญต้อง short sell  เพราะเขาจะต้องกดราคาให้ลงเพื่อให้ตัวเองสามารถ cover ในราคาที่ต่ำกว่า

๖) ผลจากภาวะสูญญากาศ
เมื่อ demand มีมากกว่า supply แบบล้นหลาม ทำให้ราคาวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลาดจึงต้องรอให้มี bid เข้ามาเติมอีกครั้ง(ซื้อหนักมาก จน bid เข้ามาเติมไม่ทัน) ช่วงนี้แหละมันจะเกิด "สูญญากาศ" และในขณะที่ bid เข้ามาเติมเบาบางนี้เอง นักขาย(หรือคนทำราคา)ก็อาศัยประโยชน์จากจังหวะนี้ด้วยการสาดขายให้หลุดทุก bid กดให้ราคาหลุดลงแรง ก่อนที่ bid จะตั้งเข้ามาหนาขึ้นอีกครั้ง (ซึ่งกว่า bid จะมาหนาได้ ราคาก็ร่วงไปหลายเปอร์เซ็นต์แล้ว)
ปล. ไอเดียนี้ผู้เขียนเขาไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่

ใครซื้อ ใครขายตรงไหนบ้าง?
นี่เป็นไอเดียคร่าวๆที่ผมไปเจอมากจาหนังสือ "NEW FRONTIERS IN TECHNICAL ANALYSIS"
1. PB—Professional buyers who are correctly buying the lows of the range. คืิอคนที่เข้ามารับซื้อหุ้นที่ทุกโลว์ของการแกว่ง
2. PS—Professional sellers who are correctly selling the highs of the range. คืิอคนที่ขายหุ้นออกที่ทุกจุดสูงสุดของการแกว่ง
3. NS—Nonprofessional (novice) sellers who are shorting the lows in anticipation of a breakdown.คือมือใหม่ ที่มักจะขายทุกครั้งที่ราคาร่วงลงไปทำนิวโลว์
4. NB—Nonprofessional (novice) buyers who are buying the highs of the range in anticipation of a breakout. คือมือใหม่ ที่มักจะเข้าไปซื้อทุกครั้งที่ราคา breakout
พูดง่ายๆคือ มือชีพ เขาคุมเกมไว้หมดในทุกช่วงของการย่อ ทำอะไรก็เป๊ะไปซะทุกครั้ง เพราะเขาเป็นคนคุมเกมไง ตรงข้ามกับรายย่อยมือใหม่ทำอะไรก็ผิด เพราะเรามักจะไม่ดูตาม้าตาเรือ อยากเข้าก็พรวดทันที ผลก็คือเจอหลอกให้หงุดหงิคตลอด (นี่คือเสน่ห์ของตลาดเลย)
ดังนั้น ถ้าเห็นราคามันยังย่อหรือพักฐานไม่สะเด็ดน้ำ ก็อย่าไปยุ่งกับมัน รอดูการทะลุข้ามฐานราคาก่อนดีที่สุด คือซื้อแพงหน่อย แต่ไปต่อค่อนข้างชัวร์ จะดีกว่ามุ่งมั่นดักซื้อของถูก แต่มันมีโอกาสร่วง หรือซึมไม่ไปไหนให้อึดอัด

สรุป
ประโยชน์จากบทความนี้ คุณน่าจะได้มุมมองเพิ่มขึ้นว่าทำไมราคาหุ้นถึงได้ไม่วิ่งขึ้นรวดเดียวจบ มันมีรายละเอียดระหว่างทางมากมายอย่างน้อยก็น่าจะ ๖ ข้อที่ว่ามา
อีกอย่างคือ คุณควรจะเอามุมมองนี้ไปใช้ร่วมกับ Continuation pattern หรือ รูปแบบราคาที่ย่อเพื่อไปต่อทั้งหลาย คิดว่าน่าจะได้อะไรดีๆเพิ่มหยักสมองเป็นแน่

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล