การเทรดคือเกมของฮีโร่ นี่คือตัวอย่างเส้นทางของคุณ

Image
  เส้นทางของ "The Hero's Journey" แบ่งออกเป็นสองโลกคือ Known (โลกที่รู้จัก) และ Unknown (โลกที่ไม่รู้จัก) ซึ่งวีรบุรุษจะต้องเดินทางไปในโลกที่ไม่รู้จัก (Unknown) เพื่อพัฒนาตนเอง ผ่านการผจญภัยและการทดสอบต่าง ๆ ก่อนที่จะกลับมายังโลกที่เขารู้จักพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงภายใน 1. Call to Adventure! (การเรียกสู่การผจญภัย)    - จุดเริ่มต้นของเรื่องราวเมื่อ "Hero" ได้รับการกระตุ้นให้เข้าสู่การเดินทางใหม่หรือการผจญภัยที่ไม่คุ้นเคย 2. Supernatural Aid (ความช่วยเหลือเหนือธรรมชาติ)    - Hero ได้รับการช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ เช่น กำลังภายใน ความสามารถพิเศษ หรือคำแนะนำจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3. Threshold Guardian (ผู้เฝ้าประตู)    - ตัวละครหรือสิ่งที่ยืนขวาง Hero ไม่ให้เข้าสู่โลกที่ไม่รู้จัก วีรบุรุษต้องเอาชนะหรือก้าวผ่านเพื่อเดินหน้าต่อ 4. Threshold (ประตูแห่งการเปลี่ยนแปลง)    - จุดที่ Hero ก้าวเข้าสู่โลกแห่งความไม่แน่นอน จากสิ่งที่เขารู้ไปสู่สิ่งที่เขายังไม่รู้ 5. Challenges (ความท้าทาย)    - Hero เผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ ที่ทดสอบทั้งร่างกายแล

Asymmetric risk เป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์...ของนักเทรดผู้ชนะทุกคน ...หัวใจสำคัญที่ช่วยให้นักเทรดผู้ชนะ ยิ่งเทรดยิ่งรวย

Asymmetric risk เป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์...ของนักเทรดผู้ชนะทุกคน 

เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้นักเทรดผู้ชนะ ยิ่งเทรดยิ่งรวย

.

Asymmetric risk คือ หน้าเทรดที่ให้ ขนาดความเสี่ยง-น้อยกว่า-ขนาดของโอกาส...อย่างผิดปกติ

.

ยอดนักเทรดแต่ละคน ก็มีหน้าเทรดที่ให้ Asymmetric risk ต่างกันไป

ที่ชัดเจนและเห็นภาพง่ายที่สุด คือ ลุงจิม โรเจอร์ส ที่บอกว่า 

"ผมจะ(อยู่เฉย ๆ) รอจนกว่าเงินไปกองที่มุม

และสิ่งเดียวที่ผมจะทำก็คือ เดินไปเก็บมัน"

.

มันก็จะทำให้เราเข้าใจคำที่พี่มาร์คบอกว่า

“เป้าหมายของผมคือเข้าร่วมในตลาด Easy dollar 

จากนั้นจะนั่งเฉย ๆ ถือเงินสดอย่างปลอดภัย ปล่อยให้พวกเสพติดการเทรดต่อสู้เพื่อเงินเพนนีในระหว่างตลาดพักฐาน 

การรู้ว่าเมื่อใดควรบุกหนักหรือเมื่อใดควรเหยียบเบรกเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างผลตอบแทนมหาศาลให้กับตลาดหุ้น”

Easy dollar  ของพี่มาร์ค ก็คือ Asymmetric risk หรือ "เงินไปกองที่มุม" ในอุปมาของลุงจิม โรเจอร์ส นั่นเอง

.

พอล ทิวดอร์ โจนส์ ก็บอกว่า

"ปรัชญาการลงทุนของผม คือ ผมจะไม่เสี่ยงแบบโง่ ๆ 

ผมจะมองหาโอกาสที่ - มีโอกาสในการให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงที่

บิดเบือนอย่างมาก(มันก็คือ Asymmetric risk นั่นเอง)"

และ...

"[ผมจะมองหา] (รางวัล:ความเสี่ยง ที่ 5:1)

5:1 หมายความว่าผมเสี่ยง $1 แล้วมีโอกาสได้กำไร $5

5:1 ทำให้คุณมีความแม่นยำ 20% ซึ่งผมสามารถคิดผิดได้ถึง 80% (ของการเทรดทั้งหมด) แต่ผมก็ยังคงอยู่รอดได้"

.

คุณสามารถค้นหา Asymmetric risk ผ่านวิธีการต่างๆ มากมาย (เช่น เทคนิคอล พื้นฐาน มาโคร ความรู้สึก ฯลฯ) จากนั้นจึงสร้าง Asymmetric risk ให้มากขึ้นผ่าน Position Size และการจัดการ Risk/Reward 

.

การค้นหาและการสร้าง Asymmetric risk จึงเป็นหน้าที่สำคัญของนักเทรดผู้ต้องการ "เป็นผู้ชนะ" ทุกคน

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

5 Holy Grail ที่ใช้ได้ผลจริง ในการเทรด

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo