ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

หัวใจ 10 ข้อ ของ risk management

 หัวใจ 10 ข้อ ของ risk management



๑. อย่าได้ถัวเฉลี่ยขาดทุน

อย่าเอาเงินดีไปสนับสนุนหุ้นขาดทุน มันคือความเสี่ยง อย่าไปสนับสนุนความเสี่ยง ให้ปล่อยให้ระบบกำจัดมันไปเอง  หากซื้อไปแล้วราคาร่วง ก็ให้รอดูการเด้ง หากมันยังคงอ่อนแอก็ให้ stop loss จัดการมันไป


๒. เทรดตามแนวโน้ม

แนวโน้มเหมือนกระแสน้ำ หากเราไหลไปตามน้ำ ก็จะออกแรงน้อยกว่า แถมความเสี่ยงก็น้อยกว่า



๓. มีการตั้ง stop loss ทุกครั้ง

Stop loss เป็นกระบวนการกำจัดหุ้นที่มีความเสี่ยงออกไป ไม่ให้มันทำลายพอร์ตให้ล่มจม 

จำกัดความสูญเสียให้อยู่ในขอบเขตที่เอาคืนได้ง่าย

และพิสูจน์ว่าเราคิดผิด ราคาอ่อนแอ


๔. อย่าไล่ราคาหลังจาก breakout ไปไกลจากฐาน

เมื่อราคาวิ่งขึ้นอย่างร้อนแรง ห่างจากระดับแนวต้านมากๆ ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตาม ดังนั้นอย่าได้ไล่ตาม เพราะยิ่งซื้อตามก็ยิ่งเสี่ยง


๕. อย่าซื้อหุ้นเกินลิมิต

จำนวนเงินที่เข้าซื้อยิ่งมากยิ่งทำให้เกิดความหวั่นไหว ทำให้เกิดความกลัว ตัดสินใจด้วยอารมณ์

และที่สำคัญคือ ยิ่งซื้อด้วนเงินเยอะ ๆ หากขาดทุนขึ้นมา ยอดความเสียหาย(ความเสี่ยง) ก็จะมากตาม มักจะทำให้เราเกิดความเสียดาย ไม่อยากตัดขาดทุน เปลี่ยนมาเป็นความหวังนั่งรอให้ราคากลับมาเท่าทุน หรือถ้ามันเปิด gap ลง อย่างรุนแรง พอร์ตมีสิทธิ์พังได้เลย


๖. ยก trailing stop ตามกำไร

อย่าได้ปล่อยกำไรให้กลายเป็นขาดทุนเด็ดขาด การลงทุนของเราต้องได้กำไรในหุ้นที่เป็นผู้ชนะ


๗. พยายามหาจุดซื้อที่เสี่ยงต่ำ หลากหลายแนว

จัดซื้อที่ดี ทำให้เราได้กำไรทันที หรือถ้าคิดผิด หุ้นตัวนั้นเป็นตัวหลอกก็ต้องมีจุดตัดขาดทุนที่พิสูจน์ชัดว่ามันหลอกให้เสียหายน้อยที่สุดไว้ก่อน


๘. หักห้ามใจตัวเองไม่ให้มือลั่นซื้อตามแรงเชียร์

อาการ FOMO หรือกลัวตกรถมักทำให้เราเข้าซื้อด้วยอารมณ์  จนลืมพิจารณาความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการไล่ราคา หรือรีบรับมีดตอนราคาลงแรง ตรงนี้แหละเป็นการสร้างความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น จงเลี่ยงอารมณ์แบบนี้ให้ได้มากที่สุด


๙. เทรดตามแผน

หากคุณเป็นมืออาชีพจริง มีประสบการณ์มากพอ คุณจะสามารถวางแผนจัดซื้อที่เสี่ยงต่ำได้ดี มาจากการตั้ง watchlist ระบุจุดซื้อที่ดีแล้วรอเข้าตามนั้น รวมถึงการวางแผนเงินเข้าซื้อ และจุดหนีที่ดีด้วย

หากไม่มีแผน คุณจะไปหาหุ้นหน้างาน ซื้อตามการเชียร์ นั่นทำให้ใช้อารมณ์และเกิด FOMO ได้ อันจะเป็นการก่อให้เกิดความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น


๑๐. รอให้เป็น

การขาดทุนของนักเทรดส่วนใหญ่มักจะมาจาก อาการคันไม้คันมือ อยากเข้าร่วมวงเทรดทั้งๆที่จังหวะไม่ดีพอ ไม่ได้เสี่ยงต่ำตามระบบของตนเองเลย เมื่อเข้าผิดจังหวะ จึงมักจะพบกับการขาดทุน ไม่มากก็น้อยร่ำไป หากท่านสามารถหักห้ามใจตนเองให้รู้จักรอคอย รอจนกว่าจะเห็นจังหวะซื้อที่เสี่ยงต่ำได้ มันจะช่วยให้การขาดทุนของท่านลดลงได้เยอะมาก มากในแบบที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

ไม่จำเป็นต้องทำเงินให้ได้ทุกวัน แค่ท่านได้จังหวะซื้อที่เสี่ยงต่ำ มีศักยภาพทำกำไรให้สูงๆ นานๆทีซื้อครั้ง แล้วรันเทรนด์กินกำไรคำใหญ่ ก็สามารถทำเงินให้โตก้อนใหญ่กว่าซื้อๆขายๆทุกวัน แต่ได้กำไรน้อยๆ(ซึ่งมักจะต้องตัดขาดทุนมากกว่าด้วยซ้ำ)


(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน