จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด

"จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด" สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 ในโลกของการเทรด การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้มีแต่เส้นทางที่ราบรื่น หลังจากราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (leg up) ตลาดมักจะเข้าสู่ช่วงพักตัว (pullback) หรือการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางชัดเจน (chop and slop) ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีความแน่นอน แต่นี่คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับนักเทรดสายสวิงที่มีสายตาแหลมคม จังหวะพักตัวคือช่วงเวลาที่ตลาดปรับสมดุล ทดสอบแรงสนับสนุนและแรงต้าน การสังเกตจังหวะนี้อย่างใกล้ชิดช่วยให้นักเทรดมองเห็นรูปแบบที่สามารถนำไปสู่โอกาสการเทรดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาหุ้นหรือสินทรัพย์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี (index) และอาจนำหน้าดัชนีในบางจุด เคล็ดลับจากยอดนักสวิงเทรดการมองรอบราคาตลาด 1. ดูรอบของดัชนีตลาด (Price Cycle): การทำความเข้าใจว่าดัชนีอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรราคา เช่น ช่วงขาขึ้น ช่วงพักตั...

สรุปหนังสือ "ใครเอาเนยแข็งของฉันไป"

ใครเอาเนยแข็งของฉันไป
หนังสือดีสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง

"บางครั้งนะเฮม สิ่งต่างๆก็เปลี่ยนแปลงไปและไม่มีทางกลับมาเหมือนเดิม ชีวิตก็อย่างงี้แหละ ต้องก้าวต่อไป พวกเราก็เหมือนกัน"

เคยเป็นหนังสือที่ขายดีมากอยู่พักใหญ่ ใครๆก็พูดถึง
คาดว่า น่าจะถูกปล่อยออกมาถูกช่วง ถูกเวลา ที่สังคมโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง
รวมถึง เนื้อหาที่อ่านง่าย  ได้ข้อคิด และอยากบอกต่อ
อีกอย่างคือ คิดว่าคนส่วนใหญ่ในโลกนี้ ล้วนอยากจะเปลี่ยนตัวเอง แต่ก็เริ่มเองไม่ได้เสียที ต้องให้ใครสักคนมาบอก จึงมีทั้งคนซื้อมาอ่านเอง และซื้อฝากเป้าหมาย


ล่าสุด มีโอกาสฟังคลิป audiobook หนังสือเล่มนี้ แล้วประทับใจ เล่มเล็กๆ แต่ทรงพลังเหลือเกิน อุดมไปด้วยคำคม เอามาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวชวนคิด
หัวใจของเรืองเขาพูดถึง วิธีการรับมือกับ "การเปลี่ยนแปลง" ของคน 3 ประเภท ขอใช้คำว่า "คน" นะครับ แม้ในเล่มจะมีตัวละครเป็น หนู 2 ตัว กับ คน 2 คน แต่จริงๆแล้ว ผู้เขียนก็ใช้เป็นตัวแทนความเป็นมนุษย์นั่นเอง คือ
- คนที่รู้จมูกไว สังเกตเห็นความผิดปกติได้ก่อน เตรียมรับการเปลี่ยนแปลงได้ทันที และไม่กลัวที่จะเดินทางไปยังสิ่งแวดล้อมใหม่
- คนที่มี comfort zone แต่สามารถปรับตัวได้ ถ้าจำเป็น
- และคนที่ยึดติดกับ comfort zone ไม่ยอมเปลี่ยนตัวเอง

หนู คือตัวแทนของการใช้สัญชาติญาณ
คน คือตัวแทนของการใช้สมอง

อีกตัวละครหลัก คือ "เนยแข็ง" ที่เป็นตัวแทนของหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งงาน ความเชื่อ โอกาสทางธุรกิจ ความมั่นคงในชีวิต เงิน บ้านหลังใหญ่ อิสรภาพ สุขภาพที่ดี ฯลฯ ได้หมดที่มนุษย์ "ยึดติด" และ "พึ่งพา" หรือคิดว่ามันจะเป็น "นิรันดร" อยู่กับเราตลอดไป

หนังสือปูมาก่อนว่า ทั้งหนูและคน ต่างเริ่มต้นด้วยการวิ่งหาเนยแข็งกัน จนกระทั่งไปเจอสถานีเนย ซึ่งมีเนยแข็งให้กินอย่างอุดมสมบูรณ์
-  "คน" ที่ใช้สมอง พอเห็น และรู้ ว่ามีเนยให้กินทุกวัน ก็ชักขี้เกียจ ไม่กระตือรือร้น คิดว่ายังไงซะมันก็จะมีให้เขากินตลอดไป
- แต่ "หนู" กลับไม่ พวกมัน สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อย ที่เกิดขึ้น และเตรียมตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ก่อนที่ความกระจ่างจะเกิด

และในที่สุดการเปลี่ยนแปลงที่เด็ดขาดก็เกิดขึ้น คือ "เนยหายไป"
- คนทั้งสอง งุนงงกับสิ่งที่เกิดขึ้น เริ่มตีโพยตีพาย ก่นด่า โทษผู้ที่ทำให้เนยหายไป
- ซึ่งจากนั้นไปสักพัก หนึ่งในนั้น เริ่มรู้ตัวว่า บ่นไปก็ไร้ค่า เดินหน้าหาเนยดีกว่า เขาพบว่าการออกเดินทางหาเนยครั้งใหม่ ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มันทำให้เขารู้สึกว่ามีชีวิตชีวามากขึ้น ยอมรับความเป็นตัวเองได้มากขึ้น
และในที่สุดก็ไปเจอสถานีใหม่ ตามกลุ่มหนูที่ออกตัวไปก่อนแล้ว
- แต่อีกคน กลับไม่ยอมรับ งอแง อยากได้เนยรสชาติเดิม ที่เดิม ไม่ยอมไปไหน โทษโน่นโทษนี่ ซึ่งหนังสือก็ไม่ได้สรุปว่าที่สุดแล้วจะยอมเปลี่ยนหรือเปล่า


ฟังๆไป ทำให้นึกถึงอย่างแรกเลยว่า เนยแข็ง คือ สถานะของ "ความเป็นลูกจ้าง" ทำงานไปดีๆ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ มือถือไอโฟน ยังไม่หมดเลย อ้าว...ถูกเลิกจ้าง บริษัทเจ๊ง
เคว้งคว้างสิ เนยโดนหยิบออกไปจากอก ไม่ได้กินอีกต่อไป
คิดว่า ทำไงล่ะ? คนเกินครึ่งเลย โวยวาย ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทำตัวไม่ถูก ได้แต่หวังว่ามันจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม และเรียกร้องค่าชดเชย
ในขณะที่อีกกลุ่มเล็กๆ โน่น ได้งานใหม่ เริ่มชีวิตใหม่ นับหนึ่งได้แล้ว

ยังไม่ต้องถึงขั้นถูกเลิกจ้างหรอก แค่ถูกโขกสับ ใช้งานเกินเงินเดือน แบบไม่คำนึงถึงความเป็นมนุษย์เนี่ย ก็น่าจะตั้งคำถาม ว่าฉันทนกับมันทำไมตั้งนมนาน หาเนยสถานีใหม่ได้แล้ว สักแต่บ่นไปวันๆมันไม่ช่วยอะไรหรอกนะ

ไม่ต้องเป็นเรื่องงานก็ได้
การเล่นหุ้นก็ไม่ต่าง
เล่นหุ้นมาก็หลายปี พอร์ตรวม-แดง มาโดยตลอด ได้กำไรบ้าง แต่ส่วนใหญ่ขาดทุน
พอขาดทุน คุณทำไง ตรงนี้แหละที่จะบอกว่าคุณเป็นใครใน 4 ตัวละครนี้

ก็ต้องทบทวนตัวเองได้แล้วว่า แนวทางเดิมไม่เวิร์คแล้วล่ะ ต้องเปลี่ยน ล้างบาง นับหนึ่งใหม่ดีกว่า อาจจะขัดใจตัวเองบ้าง ใช้ความพยายามมากขึ้น แต่ก็ยังดีกว่าจมปลักกับแนวทางเดิมๆ จำได้ว่าตัวผมเองก็ใช้แนวทาง "หักดิบ" แบบนี้เช่นกัน ชีวิตก็ดีขึ้น

สลัดความกลัวออกไปได้ก็จะเป็นอิสระ
เวลาฮอว์รู้สึกหมดแรง ท้อใจ เขาก็ถามตัวเองด้วยคำถามเดิมว่า "ฉันจะทำอะไรถ้าไม่กลัว"
ชอบประเด็นที่เขาพูดถึง "ความกลัว"
ที่คนส่วนใหญ่ไม่กล้าเปลี่ยน ก็เพราะ กลัว
ผู้เขียนจึงใส่ คำคม เกี่ยวกับวิธีแก้ความกลัว ไว้เยอะ อาทิ
- คุณต้องสร้างภาพความต้องการของคุณในใจ มันจะเป็นเหมือนแรงจูงใจที่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและทำอะไรได้ดีขึ้น
- หลังจากคุณได้ผ่านความกลัวมาได้ คุณก็จะรู้ว่า มันมีสิ่งที่คุณต้องการ รอคุณมาพบ
- เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถนำคุณไปสู่สถานที่ใหม่ และดีกว่าเดิม
- ในการเปลี่ยนแปลงนั้น บางครั้งก็ต้องเสี่ยงเดินไปในหนทางที่มันมืด คือต้องกล้าได้ กล้าเสีย เพื่อจะได้ในสิ่งที่มันใหม่และดีกว่าเดิมก่อนคนอื่น

หัวเราะเยาะตนเอง
ทิ้งท้ายด้วยประโยคเด็ดและโดน ..."ตัวเขาเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่หัวเราะเยาะตนเองและสิ่งที่ทำผิดพลาด เขารู้แล้วว่าสิ่งที่จะทำให้ตัวเองเปลี่ยนแปลงได้เร็วที่สุดคือ รู้จักหัวเราะเยาะเย้ยความขลาดเขลาของตนเอง เพื่อที่จะได้รู้จักปล่อยวางและเร่งก้าวต่อไปข้างหน้า"

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)