เล่นหุ้นตามฝูง ไม่รุ่ง มีแต่เจ๊ง?

Image
" การเล่นหุ้นตามฝูงชน " มักจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่จะทำให้นักเทรดขาดทุนยับเยิน ถ้าได้ไปอ่านเว็บต่างประเทศ ก็ไม่ว่าจากแหล่งไหน ก็บอกตรงกัน ยิ่งนักลงทุนสายวีไอ ยิ่งแล้วใหญ่ พวกเขาชอบใช้ความบ้าคลั่งของฝูงชนเป็น "อินดิเคเตอร์" ซื้อขาย "ซื้อเมื่อเลือดไหลนองวอลสตรีท" และ"ขายเมื่อฝูงชนบ้าคลั่ง" เขาพูดกันถึงขนาดนี้เลย บ้านเราก็มีกูรูเทพอย่างคุณวิชับ จาวลา เจ้าของ " ทฤษฎีผลประโยชน์ " ท่านบอกว่า " Mass ผิดเสมอ " คนส่วนมากมักขาดทุน มีแต่คนส่วนน้อยเท่านั้นที่กำไร ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? มีตัวอย่างคลาสสิคหนึ่งที่ชี้ให้เห็นโทษ ท่านเคยได้ยินชื่อ " นิโคลาส ดาร์วาส " กันมั้ยครับ? เขาเป็นหนึ่งในตำนานนักเทรดที่ทำเงินมหาศาลจากตลาดหุ้น เจ้าของ "ทฤษฎีกล่อง" นั่นเองครับ ท่านสามารถอ่านได้จากบทความ  Nicolas Darvas Trading System  ครับ ก่อนที่ทวดดาร์วาส จะประสบความสำเร็จจากตลาดหุ้น ก็เจอพิษของการ " เล่นหุ้นตามผูงชน " มาอย่างน้อยสองครั้ง ครั้งแรก หลังจากที่ได้กำไรหุ้นอย่างฟลุคๆ ก็เข้ามาเล่นหุ้นในตลาด

Why Moats Matters หุ้นดีต้องมีปราการ

ถ้าใครชอบอ่านหนังสือธุรกิจ เปิดเล่มนี้จะผ่านไปได้อย่างสนุก เพราะมีเคสบริษัทที่ประสบความสำเร็จด้วยวิธีเจ๋งๆ ได้ไอเดีย ใหม่ๆ วิธีคิดที่น่าสนใจมากมาย
เป็นเอกสารอ้างอิงได้ดี เอาไว้ดูโอกาสของหุ้นที่เราสนใจว่ามีจุดอ่อน/แข็งตรงไหนบ้าง
โดยเฉพาะบทที่ ๙-๑๖ มีเนื้อหาที่เอาไว้เช็คกับบริษัทในตลาดบ้านเราได้เลย

ไอเดียหลักของการลงทุน ๒ ทาง ที่จะเอาชนะตลาดได้จริงๆ
๑. ซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และรอจนกว่าตลาดรับรู้มูลค่านั้น
๒. ซื้อหุ้นบริษัทที่เพิ่มพูนมูลค่าที่แท้จริงได้ไวกว่าที่อื่น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะบริษัทเหล่านั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่แข็งแกร่งและเติบโตดีกว่า


ป้อมปราการ หรือความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจทั้ง 5 ประเภท + วิธีการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มความแข็งแกร่ง
๑) ความได้เปรียบทางต้นทุน
ซัพพลายเออร์ มีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้นหรือไม่?
บริษัทมีขั้นตอนการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมั้ย?
มีสินค้าทดแทนที่ทำได้ถูกกว่าหรือไม่?

๒) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ลูกค้าเต็มใจที่จะซื้อสินค้าเพราะแบรนด์มากน้อยแค่ไหน?
สิทธิบัตรนั้นง่ายต่อการลอกเลียนแบบหรือเปล่า?

๓) ต้นทุนการเปลี่ยนย้าย
พัฒนาการทางเทคโนโลยีเปลี่ยนโฉมของอุตสาหกรรมและทำให้ต้นทุนการเปลี่ยนย้ายโดยรวมลดลงหรือไม่?
เงื่อนไขในสัญญายาวขึ้นหรือสั้นลง?
ผลิตภัณฑ์มีการปรับให้เข้ากับลูกค้าเฉพาะรายมากน้อยเพียงใด?

๔) ขนาดที่มีประสิทธิภาพ
ถ้าขนาดตลาดโตขึ้น คู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาได้ง่ายหรือยาก?

๕)พลังของเครือข่าย
ผู้ใช้มีความผูกพันต่อแบรนด์มากน้อยแค่ไหน?
ลูกค้าสามารถได้รับประโยชน์อย่างเดียวกันนี้จากแบรนด์อืนๆหรือไม่
ตลาดของธุรกิจนั้นถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมตลาดแบบผู้ชนะกินเรียบหรือไม่?
ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายขึ้นมาเองโดยการร่วมมือกันตัดคนกลางออกไปได้หรือไม่?

การประเมินตำแหน่งในการแข่งขันให้ถูกต้องนั้น สำคัญยิ่งที่จะดูว่า "ที่มาของป้อมปราการของบริษัท" เปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปหรือไม่ มากกว่าที่จะดูเพียง "การเติบโตของรายได้เท่านั้น"


สินค้าโภคภัณฑ์ ผลิตสินค้าที่ไม่มีความแตกต่าง, "ราคา" คือทุกสิ่งสำหรับผู้บริโภค    ดังนั้น, ความสามารถที่จะผลิตด้วยต้นทุนต่ำกว่าราคาตลาดขณะนั้น ก็แทบจะเป็นวิธีเดียวที่จะได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนได้ เช่น มาจากขนาดการผลิตที่ใหญ่เครือข่ายครอบคลุม และกระบวนการผลิตที่ให้ประสิทธิภาพสูง
ความได้เปรียบจากต้นทุนต่ำที่ยั่งยืน คือหัวใจของผู้ชนะ

สินค้าและบริการเพื่อผู้บริโภค (Consumer Products)
แบรนด์ คือหัวใจของธุรกิจนี้ ให้นึกถึง โค้ก ไฮนส์ มาร์โบโร่  ลูกค้าเต็มใจจ่ายราคาแพงเพื่อให้ได้ใช้แบรนด์ที่ต้องการ
การประหยัดต่อขนาด (economy of scale) และได้อำนาจต่อรองที่ทำให้ต้นทุนของตนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่า ระบบการกระจายสินค้าทำได้ดีก็มีส่วนช่วย ขยายส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น ที่สำคัญต้องหมั่นพัฒนาสินค้าออกมาอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคต้องรู้สึกว่าการพัฒนานี้ได้เพิ่มคุณค่าเข้าไปในผลิตภัณฑ์ด้วย

พลังงาน ราคาโภคภัณฑ์มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรมพลังงาน และเป็นเหตุให้อุตสาหกรรมนี้มีความผันผวนตามวัฏจักรสูง โดยที่การเปลี่ยนแปลงของอุปทานและอุปสงค์เพียงเล็กน้อยสามารถมีผลกระทบวงกว้างต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์และกำไรของบริษัทในระยะสั้น ดังนั้น #ความได้เปรียบทางต้นทุน จึงเป็นหัวใจของ ผู้ชนะ

ธุรกิจการเงิน มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ตั้งราคาเองไม่ได้ มีการตัดราคากันรุนแรง สิ่งที่บอกความได้เปรียบคือ เครือข่ายสาขาที่กว้างขวาง สะดวก หรือ มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นลึกซึ้งกับลูกค้า #ความได้เปรียบทางต้นทุน ก็ยังมีความสำคัญยิ่ง เพราะอำนาจการตั้งราคามีจำกัด จึงต้องอาศัยการควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงจะได้เปรียบกว่าบริษัทอื่น

การดูแลสุขภาพ (Healthcare) สิทธิบัตรยาคือป้อมปราการที่เด่นชัดสำหรับบริษัทยา การวิจัยและพัฒนาคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังนั้น  แต่ก็ต้องไม่ลืมในเรื่องของขนาดที่มีประสิทธิภาพ และความได้เปรียบทางด้านต้นทุนด้วย

การจัดการขยะและของเสีย จะได้เปรียบก็ต่อเมื่อมีการควบคุมวงจรได้ครบ ต้องเป็นเจ้าของหลุมฝังกลบ เตาเผา และศูนย์รีไซเคิล
ความหนาแน่นของจุดเก็บตามเส้นทางเก็บขยะก็ถือเป็นอีกหนึ่งความได้เปรียบ

สาธารณูปโภค  ป้อมปราการคือ  สัมปทานจากภาครัฐ

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
หุ้นดีต้องมีคู สรุปเล่มนี้จากมุมมองของ ดร.นิเวศน์ http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/604950
กลยุทธ์ หุ้นดีต้องมีคู โดย ดร.นิเวศน์  http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming?id=5416b734be04705e2d8b45bc&type=audio#.VlwAp1grK8o

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

เส้น EMA ที่เทรดเดอร์เทพนิยมใช้