จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด

"จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด" สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 ในโลกของการเทรด การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้มีแต่เส้นทางที่ราบรื่น หลังจากราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (leg up) ตลาดมักจะเข้าสู่ช่วงพักตัว (pullback) หรือการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางชัดเจน (chop and slop) ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีความแน่นอน แต่นี่คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับนักเทรดสายสวิงที่มีสายตาแหลมคม จังหวะพักตัวคือช่วงเวลาที่ตลาดปรับสมดุล ทดสอบแรงสนับสนุนและแรงต้าน การสังเกตจังหวะนี้อย่างใกล้ชิดช่วยให้นักเทรดมองเห็นรูปแบบที่สามารถนำไปสู่โอกาสการเทรดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาหุ้นหรือสินทรัพย์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี (index) และอาจนำหน้าดัชนีในบางจุด เคล็ดลับจากยอดนักสวิงเทรดการมองรอบราคาตลาด 1. ดูรอบของดัชนีตลาด (Price Cycle): การทำความเข้าใจว่าดัชนีอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรราคา เช่น ช่วงขาขึ้น ช่วงพักตั...

ลงทุนแบบ Techno Fundamentalist

Mark Minervini เจ้าของหนังสือ Trade Like a Stock Market Wizard: How to Achieve Super Performance in Stocks in Any Market หรือภาษาไทยเรียกว่า เทรดแบบเซียนหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีมากโดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนที่เป็นแฟนของวิลเลียม โอนีล, Wyckoff และ Livermore
เขาเรียกตัวเองว่า Techno Fundamentalist ที่ยึดการเคลื่อนไหวของราคากับวอลุ่ม พร้อมๆกับข้อมูลทางพื้นฐาน ในการสร้างเงินจากการเทรด
แนวทางคล้าย CANSLIM เพราะเขาเรียนรู้วิธีการดูหุ้นหุ้นผู้ชนะมากมายจากปู่โอนีล
ซึ่งพี่มาร์ค น่าจะเป็นศิษย์เอกของปู่โอนีลได้เลย เพราะนอกจากจะเอาแนวคิดไอดอลมาต่อยอดแล้ว ก็ยังทำให้เป็น นวตกรรม หรือเครื่องหมายการค้าของตัวเองได้อีก

Techno Fundamentalist
ผมคิดว่าแนวคิดของพี่มาร์คนั้น ไม่ได้เน้นไปที่การคำนวนมูลค่าหุ้นมากนัก แต่ก็ไม่ละเลยไปเสียทีเดียว คือรู้ว่าธุรกิจนั้นทำอะไร สถาบันชอบมั้ย และที่สำคัญกว่านั้นคือ เขาให้ความสำคัญกับกราฟมากกว่า
โดยบอกว่า "มูลค่าหุ้นไม่ได้ดันราคาหุ้นขึ้นหรอก แต่เป็นคำสั่งซื้อ มูลค่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสมการตัวเลข ท้ายสุดแล้ว แรงซื้อเป็นปัจจัยสำคัญ" พูดง่ายๆคือ upside มากแค่ไหนไม่สำคัญ เขาไม่สน เขาจะรอแค่วอลุ่มกับการเคลื่อนที่ของราคาก่อนเท่านั้น เพราะความต้องการซื้อคือตัวจุดประกายให้หุ้นขึ้น
ดังนั้นแนวคิดนี้ก็เหมาะสำหรับ คนชอบกราฟเทคนิคอลแล้วเอาเสี้ยวคิดของวีไอมาเป็นตะแกรงในการคัดหุ้น

ซึ่งจะว่าไปแล้วนะ ปู่โอนีลก็คิดแบบนี้แหละ เพียงแต่ไม่ได้ตั้งฉายาตัวเองแบบนี้ แกก็เอาพื้นฐานกับเทคนิคอลมาเป็นส่วนผสมในการคัดหุ้นดาวรุ่งเช่นกัน
จึงสามารถสรุปด้วยสำนวนเสี่ยยักษ์ได้ว่า "เวลาเลือกหุ้นให้ใช้พื้นฐาน แต่จังหวะซื้อต้องใช้เทคนิเคิล"



ดังนั้นจึงไม่แปลกที่พี่เค้าจะเอ่ยประโยคนี้
"ผมไม่เคยซื้อหุ้นที่เทรดต่ำกว่า moving average 200 วันเลย ไม่ว่าผลกำไรต่อหุ้น การเติบโตของรายได้ กระแสเงินสด หรือกำไรต่อผู้ถือหุ้นน่าสนใจแค่ไหน ผมก็ไม่สนใจซื้อหุ้นที่มีแนวโน้มลงในระยะยาว ทำไมน่ะหรือ ผมอยากเห็นแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันเจ้าใหญ่ก่อน การซื้อหุ้นที่มีแนวโน้มขาลงในระยะยาว เป็นการลดโอกาสที่จะถือหุ้นชนะตลาด อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการเพิ่มโอกาส คุณควรเน้นหุ้นที่มีแนวโน้มขาขึ้นแน่ๆ"

เพราะว่า "กราฟทำให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับหุ้นในขณะที่ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่รวมกันในตลาดประมูล 
กราฟช่วยกลั่นกรองความขัดแย้งจากการตัดสินใจแบบใช้อารมณ์ เหตุผล 
และแม้แต่การตัดสินใจแบบถูกจูงใจให้เชื่อ ให้เป็นภาพที่ชัดเจนขึ้น 
ซึ่งก็เป็นการวิเคราะห์เรื่องอุปทานและอุปสงค์นั่นเอง"

"เวลาเทรดผมต้องพึ่งการทำกราฟจนถึงขนาดว่าผมไม่เคยกล้าเสี่ยงกับความเห็นทางปัจจัยพื้นฐาน ถ้าไม่มีความเคลื่อนไหวจริงของราคาหุ้นอ้างอิงมายืนยัน"

นี่มันเป็นแนวคิดของนักเทคนิคอลระดับ hardcore ชัดๆ ถ้าพี่ Dan Zanger ไม่ถูกเรียกว่า "A pure Wyckoff mark up trader" ตำแหน่งนี้คงต้องตกเป็นของพี่มาร์คอย่างไม่ต้องสงสัย

สรุปคือ "เน้นซื้อหุ้นที่พิสูจน์ได้ว่ามีแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันคอยสนับสนุน ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมวงเป็นคนแรก แต่ต้องพยายามหาว่าตรงไหนที่โมเมนตัมขึ้นและโอกาสล้มเหลวน้อยมากที่สุด"

ตรงไหนล่ะที่มีโมเมนตัม, ก็ต้องเป็นช่วงขาขึ้น หรือเวฟ 3 เท่านั้นครับ
พี่มาร์คใช้ไอเดียของ Stan Weinstein เพื่อหา stage ของหุ้น จากนั้นจึงโฟกัสการซื้อหุ้นเฉพาะที่อยู่ใน stage 2 เท่านั้น ซึ่งมันก็คือ Mark up Phase หรือ เวฟ 3 นั่นเองครับ


โดยลักษณะของ Stage 2 ควรเป็นแบบนี้
เลือกเฉพาะตอนที่ราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น
- ใช้ประโยชน์จากโมเมนตัมให้มากที่สุด
- เพื่อให้ซื้อถูกตัว, คุณต้องจำกัดวงให้แคบที่สุด คือเลือกเฉพาะหุ้นที่แสดงออกว่าได้รับการซื้อสนับสนุนจากสถาบัน อย่ารีบขึ้นรถก่อนสตาร์ท ให้มองหาที่มันมีโมเมนตัมพร้อมจะไปต่ออยู่อยู่แล้ว คามเสี่ยงจะน้อยลง
- เพื่อกำหนดจังหวะซื้อคือจะมองหาการบีบตัว/สะสมของราคา อันจะอยู่ในช่วงพักเหนื่อยชั่วคราวของแนวโน้มขาขึ้น
- ก่อนที่ราคาจะพักเหนื่อย มันมักทำแท่งเขียวยาว ซึ่งการพักเพื่อบีบตัวหรือสะสมในช่วงขาขึ้นที่ว่านี้อาจจะมาจากข่าว หรือสภาพตลาดโดยรวมพักฐาน

SEPA
นอกจากนี้, เขาก็ยังได้ตั้งคำถามว่า อะไรเป็นสาเหตุให้ราคาหุ้นเคลื่อนที่เข้าไปสู่ stage 2 หรือ เวฟ 3 หรือขาขึ้น
และที่เขาค้นพบคือปัจจัยพื้นฐาน (เช่นการเร่งการเติบโตของรายได้) โดยสิ่งนี้เองที่ทำให้หุ้นถูกสะสมโดยสถาบันก่อนที่จะนำไปสู่ขั้นตอนที่ 2 คือราคาวิ่งเป็นขาขึ้น โดยตั้งชื่อมันว่า SEPA
SEPA หรือ Specific Entry Point Analysis เป็นวิธีการหาหุ้นตัวเต็งชั้นยอดที่มีศักยภาพเป็นหุ้นดาวรุ่งได้ เพื่อให้มีโอกาสชนะมากที่สุด มี 5 องค์ประกอบ
๑) แนวโน้ม หุ้นจะวิ่งในช่วงที่พวกมันมีกำไรโต
๒) ปัจจัยพื้นฐาน คือกำไรปรับตัวดีขึ้น ก่อนที่มันจะโดดเด่น ราคาก็เริ่มเป็นขาขึ้นแล้ว
๓) ตัวกระตุ้น เป็นเชื้อเพลิงของการวิ่งเวฟ 3 เลย เช่น ได้รับใบอนุญาติจาก FDA, ได้สัญญาใหม่, ได้ CEO ใหม่, สินค้าใหม่ที่เขย่าตลาดให้เกิดความต้องการซื้อ หรือแม้แต่รอบวัฎจักรที่ได้จังหวะเริ่มขาขึ้นใหม่พอดี พวกนี้แหละที่ทำให้สถานสนใจอยากเห็น
๔) จุดเข้าซื้อ หาและรอตอนที่มีความเสี่ยงต่ำ และต้องทำในตอนที่ตลาดเป็นขาขึ้น
๕) จุดขายออก ขายเมื่อมันไม่เป็นอย่างคิด (stop loss) และ take profit เมื่อถึงจุดสิ้นสุดของช่วงผลกำไรโดดเด่น

โดยเป้าหมายในการทำแบบนี้เพื่อ
๑) หาหุ้นที่มีผลกำไรและยอดขายในอนาคตที่ทำให้ตลาดตื่นเต้น และการปรับประมาณการในทางบวก
๒) หาวอลุ่มหรือปริมาณการซื้อขายจากนกลงทุนสถาบัน (มีความต้องการซื้อสูง)
๓) ราคาปรับขึ้นเร็วจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน (แรงขายไม่มี เมื่อเทียบกับแรงซื้อ)
สรุปง่ายๆคือ หาหุ้นที่ราคาวิ่งขึ้นต่อเนื่อง จากเหตุผลเดียวคือกำไรโตขึ้น และมีแนวโน้มโตขึ้นได้อีกในอนาคต

แล้วจะดูยังไงว่าของจริง?
ต้องสังเกตุปฏิกิริยาตอบโต้การขึ้น 3 ช่วง คือขึ้นเพราะความตื่นเต้นจากผลกำไรแล้วมันต้องเจอขายประเภท sell on fact อยู่แล้วล่ะ แต่จากนั้นแหละ คือตัวพิสูจน์ว่าเป็นของจริงหรือเปล่า
1) แรงตอบรับหลังจากถูกไล่ราคาช่วงแรก วิ่งขึ้นต่อ หรือเจอทุบ(เพราะ sell on fact)? หลังจากทุบ เด้งกลับขึ้นไปมั้ย
2) แรงต้านต่อเนื่อง วิ่งต่อได้ทนมั้ย? คือขึ้นไปได้เรื่อยๆ มีพักย่อบ้าง แต่ก็ยกไฮยกโลว์ในภาพใหญ่
3) แรงยืดหยุ่น ฟื้นตัวเร็วแค่ไหน คือเมื่อวิ่งขึ้น ก็ต้องเจอการขายทำกำไรจากคนเล่นสั้นล่ะ ซึ่งพวกนี้เงินน้อย การย่อจึงไม่ลึก แต่ถ้าเกิดเจอไม้ใหญ่ๆหนักๆจากคนนหนากว่า ต้องย่อลึก จากนั้นแหละต้องดูว่า การฟื้นกลับไปหาจุดสูงสุดเดิมไวมั้ย? หรือ จบรอบไปเลย

พูดง่ายๆคือ หุ้นที่จะไปต่อได้อีกยาวๆ ไม่ควรโดนเทขายหนักจนทะลุผ่าน trend line หรือเส้นค่าเฉลี่ย ของแนวโน้มขาขึ้นทั้งหมด เจอทุบแล้วก็ต้องเด้งให้ไว ต้องพาตัวเองให้ทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีก

VCP
อีกทั้งพี่มาร์คยังเป็นคนให้กำเนิดชื่อรูปแบบ Volatility Contraction Pattern (VCP) ที่เป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของ cup with handle โดยเป็นลักษณาการของราคาหุ้นที่ค่อยๆผันผวนลงดลง แล้วค่อยๆหดตัว อันเป็นตัวบ่งชี้ว่าจำนวนหุ้นที่ต้องการขายค่อยๆลดลง ค่อยๆหมดไปจากตลาดจากที่เคยมีมากมายในตอนแรกก็ค่อยๆถูกดูดเก็บโดยคนกลุ่มหนึ่ง แล้วจากนั้นมันจะนำไปสู่ pocket pivot buy point (ซึ่งมีหลายคนชอบการอธิบายแบบนี้มากกว่า cup with handle เสียอีก)


๑) ลักษณะของยอดหุ้น Superperformance
- 90% ของหุ้นsuperperformance เริ่มซิ่งเมื่อตลาดรวม(หรือดัชนี)ยืนยันการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น
- การวิ่งขึ้นรอบใหญ่ของหุ้น superperformance จะเกิดขึ้นในช่วง 10 ปีจากที่ IPO
- เป็นหุ้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
- Market cap น้อยเมื่อเทียบส่วนใหญ่ในตลาด และจำนวนหุ้นน้อย
- ส่วนใหญ่มีช่วงเวลาที่ดีขึ้นในแง่ของปัจจัยพื้นฐานและกราฟราคาก่อนที่จะทำผลกำไรได้สูงสุด
- ถูกเทรดในราคาที่มากกว่ากำไร 30 หรือ 40 เท่า ก่อนที่ราคาจะวิ่งรอบใหญ่


๒) กุญแจสู่การสร้างรายได้มหาศาลในการลงทุนหุ้น
- ให้เอาพื้นฐานมาใช้ร่วมกับการสร้างฐานราคาในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น
- ต้องมีสามประสานที่สำคัญคือ พื้นฐาน-เทคนิคอล และสภาพตลาดที่เป็นใจ
- ที่สำคัญคือสิ่งที่สถาบันขนาดใหญ่คิด, เพราะมันจะเป็นสิ่งที่ขับดันเคลื่อนย้ายราคาหุ้นได้อย่างมาก ดังนั้นงานของคุณคือต้องหา บริษัทที่สถาบันเห็นว่ามีคุณค่า


๓) กำไรคือเจ้ามือตัวจริง : ปัจจัยพื้นฐานคือตัวผลักดันการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
- หุ้น superperformance แทบทุกตัวทำกำไรได้มากในขณะที่ราคาอยู่ใน stage 2 ของวัฏจักรราคาของมัน
- จากมุมมองพื้นฐาน, สาเหตุคือผลการดำเนินงานที่เปลี่ยนจากน่าเบื่อหน่าย(stage 1)ไปเป็นสร้างความประหลาดใจ(ช่วงเปลี่ยนจาก stage 1 ไป 2) และการเติบโตที่เร่งตัว(stage 2) ตามมาด้วยการชะลอตัวของการเจริญเติบโต(stage 3) และสุดท้ายจบลงด้วยการสร้างความผิดหวัง(stage 4)

- การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานเหล่านี้ทำให้ผู้เล่นสถาบันรายใหญ่ใช้เป็นจังหวะเข้าและออกจากหุ้น ซึ่งสามารถระบุได้ด้วยการประทุขึ้นของวอลุ่มที่เกิดขึ้นในช่วงขาขึ้น (stage 2) และการลดลงตามมา





ซื้อตอนไหน?
ให้คำนึงถึง 5 องค์ประกอบสำคัญนี้
แนวโน้ม: ราคาอยู่ในขาขึ้นที่ชัดเจน
พื้นฐาน: รายได้,กำไรสุทธิ โตขึ้น
ตัวเร่งปฏิกิริยา: สินค้า/บริการขายดี, ได้รับประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ, ซีอีโอคนใหม่, สัญญาใหม่ ฯลฯ
จุดเข้า: เข้าซื้อในจุดที่มีความเสี่ยงต่ำ
จุดหนี: หลุด stop loss

สรุปง่ายๆคือ
"จุดเข้าซื้อที่ดี ราคาต้องอยูในแนวโน้มขาขึ้น ในขั้นตอนที่ 2
Moving Average เรียงตัวกันจากล่างขึ้นบน 200-150-50
ราคาอยู่ไกล้จุดสูงสุดในรอบ 200 วัน โดยยิ่งไกล้ยิ่งดี
แต่ไม่ต่ำกว่า 25% จากยอด
ค่า Relative Strenge ต้องไม่น้อยกว่า 70

และถ้าอยู่ในช่วง 80-90 จะน่าสนใจมาก"

จากนั้นให้รอดู "การปรับฐานเหมาะสม คือช่วงที่ราคาทำรูปแบบผันผวนหดตัว (volatility contraction pattern) ราคาย่อลงแล้วดีดขึ้นคล้ายฟันเลื่อย-วอลุ่มลด"
และ "จุดเข้าซื้อคือตอนที่มัน breakout จากฐานนั้น พร้อมด้วยวอลุ่มสนับสนุนจำนวนมาก"
ซึ่งจุดซื้อที่ว่านั้นก็คือ Pivot point
อันมีลักษณะดังนี้ "วอลุ่มที่ลดลงต่ำมากจนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อาจดูเหมือนไม่มีการซื้อขาย(ถ้าเป็นหุ้นเล็กๆ) มันเป็นสัญญาณว่าหุ้นเตรียมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพราะการที่ปริมาณซื้อขายลดลงหมายถึงไม่มีใครอยากขายหุ้นแล้ว  เมื่อแรงขายหุ้นน้อยลงมาก แค่แรงซื้อเบาๆก็ทำให้ราคาปรับขึ้นได้เร็วมาก"

โดย "ปล่อยให้หุ้นทะลุผ่านเหนือ Pivot Point และรอให้หุ้นพิสูจน์ตัวเองให้ได้ก่อน การดูวอลุ่มประกอบจะช่วยได้มาก สมมุติว่าตามปกติหุ้นมักจะเทรด 1 ล้านหุ้น แต่ภายในเวลา 2 ชั่วโมงของวันทำการ มีวอลุ่มเข้ามาแล้วถึง 500,000 หุ้น และหุ้นกำลังวิ่ง คุณก็สามารถเตรียมตัวเข้าซื้อได้ทันที เมื่อราคาขึ้นผ่าน Pivot Point ได้"

แล้ว "จุดตัดขาดทุน เมื่อหุ้นขึ้นไปเบรคไม่ผ่านไฮเดิม และราคาลงไปหลุดจนปิด(เมื่อสิ้นวัน)ต่ำกว่าเส้น moving average 20 วัน ถือว่ามีความเสี่ยงที่มันจะไม่ไปต่อ"




สถาบัน, พี่มาร์คให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้มาก เพราะเป็นผู้เปิดเกมส์การวิ่งขึ้นทำเวฟ 3 หรือ ขาขึ้นอย่างแท้จริง โดยบอกว่า "เน้นซื้อหุ้นที่พิสูจน์ได้ว่ามีแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันคอยสนับสนุน ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมวงเป็นคนแรก แต่ต้องพยายามหาว่าตรงไหนที่โมเมนตัมขึ้นและโอกาสล้มเหลวน้อยมากที่สุด"

สัญญาณการเข้าซื้อของสถาบัน
- กำไรในอนาคตและยอดขายที่น่าประหลาดใจและการปรับประมาณการในเชิงบวก
- การสนับสนุนด้านปริมาณการซื้อขายของสถาบัน (ความต้องการซื้อที่เป็นนัยยะ)
- การวิ่งขึ้นของราคาอย่างรวดเร็ว, จากความไม่สมดุลของอุปสงค์ / อุปทาน (ความต้องการขายน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการซื้อ)


สัญญาณการสะสมหุ้นของสถาบัน
- ดูแท่งเขียวยาวเป็นหลัก โดยเฉพาะที่เด้งจากจุดต่ำสุดในด้านซ้ายมือของฐานราคา ถ้าเกิดพร้อมกับวอลุ่มที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยจะมีความน่าเชื่อถือมาก เพราะะบ่งบอกว่าเป็นสัญญาณของการเข้าซื้อจากสถาบัน
- การเปิด gap ที่มาพร้อมกับวอลุ่มสูงก็เป็นสิ่งสะท้อนถึงความต้องการซื้อที่แข็งแกร่ง
- เลี่ยงหุ้นวิ่งทำแท่งเขียวยาววอลุ่มสูง แล้ววันต่อมาเกิดแท่งแดงยาววอลุ่มสูงสวนทาง
- มองหาหุ้นที่ทำแท่งเขียวราคาขึ้นมีมากกว่าแท่งแดงราคาลงไว้

ครับ, คร่าวๆของแนวทาง Techno Fundamentalist ที่ผมพอสรุปได้ก็มีเท่านี้
ใครสนใจอยากรู้เพิ่ม ก็ซื้อหนังสืออ่านนะครับ ปกแบบนี้ ใครที่มีแล้วไม่อ่าน ถือว่าเสียของสุดๆ


(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)