กับดักอันตรายของการซื้อหุ้นราคาถูก

Image
กับดักอันตรายของการซื้อหุ้นราคาถูก "หุ้นราคาถูก" ในความหมายของพี่มาร์ค ที่เป็นนักเก็งกำไร คือ "หุ้นขาลง ที่ลงหนักจนคุณเทียบระยะห่างจากราคาที่จุดสูงสุดกับราคาปัจจุบันแล้วพบว่าตอนนี้มันลดราคาเยอะมาก" นะครับ แกไม่ได้ให้นัยเกี่ยวกับมูลค่าแต่อย่างใด (ถ้าคุณมั่นใจว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการคำนวณมูลค่าหุ้นชนิดหาตัวจับยาก ก็ให้ข้ามไปนะครับ ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวกับคุณ) . ความอันตรายของหุ้นขาลง ที่มือใหม่คิดว่ามันลงจนราคาถูกมากแล้วก็คือ  ๑) คุณเชื่อว่าตอนนี้มันราคาถูกมากแล้ว ๒) พอมันร่วงลงต่อ คุณจะไม่กล้าขาย เพราะเชื่อว่ามันถูกมากแล้ว ไม่น่าลงต่อไปได้อีกมากหรอก ๓) ยิ่งราคาร่วงลงต่อไปอีก คุณจะรู้สึกว่าราคาที่ถูกกว่านั้นมันดึงดูดให้คุณ "ซื้อเพิ่ม" โดยไม่ลังเล และชอบธรรมที่จะซื้อ ๔) ไป ๆ มามา คุณก็ได้ซื้อถัวเฉลี่ยด้วยเงินที่ก้อนโตมากเกินไป Position Sizing โตเกินไป โตจนจนละเมิดการบริหารความเสี่ยงที่ดีไป -- คุณกำลังเพิ่มความเสี่ยงในการทำลายตนเอง(Risk of Ruin)มากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ๕) และถ้าคุณโชคร้าย หุ้นตัวนั้นเป็นตัวซวย การถัวเฉลี่ยผู้แพ้แค่ตัวเดียว ก็ทำลายพอร์ตของคุณได้อย่างง

Good trade คืออะไร? ในมุมมองของมือโปร

Good trade คืออะไร? ในมุมมองของมือโปร

ที่มาคือ มือใหม่เจอ false breakout แล้วสงสัยว่า เขาทำอะไรผิด?

๑) มาร์ค ริชชี่ ตอบว่า Good trade ไม่ใช่ผลการเทรดหรอก

ด้วยความต้องการให้กระจ่างว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร จึงค้นเพิ่มจากความเห็นของมือโปรคนอื่นดู

๒) Trading Composure บอกว่า Good trade คือกระบวนการ ไม่ใช่ผลลัพธ์

๓) ลุง Peter Brandt บอกว่า Good trade ของเขาคือ การเทรดที่เขาได้กำไร แล้วสามารถยกระดับตัดขาดทุนไปไว้ที่ต้นทุนได้ไวที่สุด

- และยังบอกว่า Good trade จะมาหาคุณเอง คุณไม่ต้องมองหามันหรอก เพราะเราไม่สามารถควบคุมผลลัพธ์ได้เลย ถ้ามันจะ Good ก็ Good เอง

- แถมยังแนะนำมือใหม่ว่า อย่าได้โหยหาหมกมุ่นกับผลลัพธ์มากเกินไป 

สิ่งที่มือใหม่ควรหมกมุ่นคือ การจัดการการเทรดที่ขาดทุน ให้เสียหายน้อยไว้ก่อน เพราะการจัดการการเทรดที่ขาดทุนจะเป็นส่วนสำคัญของการเทรดที่ได้กำไรในเวลาต่อมา

- เพราะแท้จริงแล้ว นักเทรดผู้ชนะคือ "ผู้แพ้ที่ดี"

๔) สรุปตามความเห็นส่วนตัวของผมเอง 

Good trade ยังไงซะก็ต้องเกี่ยวกับ "ผลลัพธ์" อยู่ดี

แต่ผลลัพธ์ ก็เป็น "แค่ส่วนหนึ่ง" ของ Good trade

เพราะ Good trade มันคือการบริหารการเทรด ที่รับใช้เป้าหมาย "เมื่อคุณคิดถูกคุณได้มากแค่ไหน พอคิดผิดเสียน้อยแค่ไหน" อันเป็นกฎทองคำของการเทรดนั่นเอง

- ทำไมต้องบริหารการเทรด?

เพราะเราไม่สามารถควบคุมผลลัพธ์ได้เลย

แม้หน้าเทรดจะสมบูรณ์แบบ ก็สามารถขาดทุนได้

แม้หน้าเทรดจะไม่สมบูรณ์ ก็อาจให้กำไรได้

ไม่มีอะไรแน่นอนสำหรับผลลัพธ์

- เมื่อเราควบคุมผลลัพธ์ไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้คือ บริหารจัดการเทรดของตนเองซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ ให้ดีที่สุด เพื่อ "ให้เราเสียหายน้อยสุด(เมื่อคิดผิด)และได้ประโยชน์มากที่สุด(เมื่อคิดถูก)" -- แล้วทำซ้ำในระยะยาว

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล