สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ

Image
สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ ๑) เทรดแบบงานอดิเรก - มาทรงนี้ จะไปไวมาก เพราะงานอดิเรกมีแต่จ่าย และจ่าย // อีกกลุ่มใหญ่ไม่แพ้กันคือ เทรดแบบการพนัน เล่นหุ้นเสี่ยงสูงทั้งๆ ที่ตนเองความรู้แทบไม่มี จำคำพูดเซียนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ๒) ถึงแม้จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หาความรู้และฝึกฝนอย่างหนัก ก็ยังคงมีโอกาสขาดทุนหนักอยู่ เพราะ - ไปได้ข้อมูล แนวทางที่ผิด โดยเฉพาะการโฟกัสที่ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูง + เทรดโดยไม่มีการบริหารความเสี่ยง - แต่แม้จะได้ข้อมูลที่ดี ก็ยังมีโอกาสขาดทุนยับอยู่ ถ้าคุณมีความเชื่อที่ตรงข้ามกับกลยุทธ์/กระบวนการและกฎการเทรดที่ทำเงิน -- แบบนี้เรียกว่าความขัดแย้งจากภายใน ตัวอย่างที่ชัดมากคือ กลยุทธ์ให้คุณตัดขาดทุน แต่ถ้าภายในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำตามไม่ได้ // กลยุทธ์ให้คุณบริหารความเสี่ยง แต่ถ้าคุณอยากรวยเร็ว คุณก็ไม่ยอมทำตาม ๓) ประสบการณ์ คือ ตัวแปรสำคัญ ของการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ คุณผ่านเกมมากพอ คุณจะเข้าใจหลายเรื่อง ที่มันขัดกับความเชื่อทั่วไปของมนุษย์ได้ เพราะหลายเรื่องของเกมการเทรดนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาชนะ -

เข้าแบบไหน ให้ออกแบบนั้น คืออะไร? ทำยังไงที่มันใช่? Plan your trade and trade your plan

เข้าแบบไหน ให้ออกแบบนั้น
คืออะไร? ทำยังไงที่มันใช่? 

Plan your trade and trade your plan.


ผู้รู้มักจะบอกเราว่า "เข้าแบบไหน ให้ออกแบบนั้น"

ความหมายคือ

"เข้าซื้อด้วยเหตผลอะไร ก็ต้องออกด้วยเหตุผลนั้น"

แต่ปัญหาคือ แล้วมันทำยังไง?

เพราะมันดูคลุมเครือเกินไป

เหมือนที่บอกว่า คุณต้องมีวินัย นะ 

เรารับฟัง แต่ทำตามไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่า อะไรทำให้เราขาดวินัย

ทำไมต้องมีวินัย


เช่นเดียวกัน

เข้าแบบไหน ให้ออกแบบนั้น

ควรขยายความว่า

คุณวางแผนมายังไง ให้ทำตามแผนนั้น จะดีกว่า

แผนการเทรด/ลงทุนที่ดี คือสิ่งที่คุณต้องมี



แผนที่ดีคืออะไร

ต้องประกอบด้วย ๒ สิ่งนี้

สัญญาณซื้อของคุณคืออะไร?

สัญญาณขายของคุณคืออะไร?

ต้องตอบให้ได้ทั้งสองข้อ

ไม่ใช่คิดแค่ สัญญาณซื้อ เพียงอย่างเดียว

ไม่คิดเรื่องขาย เพราะไม่เชื่อว่าจะคิดผิด หรือ ไม่ขายไม่ขาดทุน

ถือว่า คิดไม่รอบด้าน




นักลงทุนที่สำเร็จนั้น จะมีการคิดถึง "จุดหนี" เสมอ

เขาเชื่อว่าเขาสามารถคิดผิดได้

แม้แต่ บัฟเฟต์ เอง ก็ยังขายตัดขาดทุนเลย

วีไอ ใช่ว่าจะถือหุ้นตลอดชีวิต เขาไม่แต่งงานกับหุ้น แค่เดทเท่านั้น

จุดที่พิสูจน์ว่า "ฉันคิดผิด" จึงต้องมี

คุณต้องเปิดใจ มองผลลัพธ์การเทรดในมุมของความน่าจะเป็น


แน่นอนว่า จุดที่คิดผิด ของแต่ละสไตล์ก็ต่างกัน

สายเทคนิคอล ถือตนว่าเป็นนักเก็งกำไร

เขาจะยึดมั่นในการ stop loss อย่างจริงจัง

เพราะพวกเขา เก็งกำไร เข้าไว ออกไว

เดย์เทรด, สวิงเทรด, แม้แต่ trend following ก็ต้องเคารพ stop loss

จุด stop loss จะอยู่ในแผนการเทรดของเขาตั้งแต่เริ่มเข้าซื้อ




เคยได้ยินวีไอ เขาก็มีการนึกถึง "สถานการณ์ที่พิสูจนว่าเขาคิดผิด" เช่นกัน

อาจจมาจากการดู ความสามารถในการเติบโต การทำกำไร อิ่มตัว ก็หนีแล้ว

ดูงบ ก็เห็นภาพอนาคตแล้ว ถึงขนาดนั้น



ซื้อแล้วถือเอาปันผล อาจต่างกันออกไป

ถ้าซื้อถือยาว เพื่อเอาปันผล โดยที่คุณมั่นใจในพื้นฐานว่าดีแน่ มั่นคงแน่ เพราะ บลา บลา บลา

ราคาลง ก็ต้องกล้าอยู่เฉย ๆ และซื้อถัว (คุณต้องได้จุดซื้อที่ดีจริง ๆ ว่าได้เปรียบ และ แบ่งเงินซื้อให้เหมาะสมด้วย)


จากบทความ "เรื่องของแต้มต่อ" โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
https://blog.settrade.com/blog/nivate/2016/05/09/1726


ด้วยเหตุนี้ คุณต้องมีแผนของตนเอง

คุณจะได้ไม่หวั่นไหว ไปฟังใครบอกว่าให้ตัดขาดทุน แล้วเกิดอาการ panic ตาม หวั่นไหวตาม

นั่นเป็นเพราะว่าคุณไม่มีแผน ตั้งแต่แรกนั่นเอง

เข้าแบบไหน ให้ออกแบบนั้น ไม่พอ

ต้องบอกว่า แผนคุณเป็นแบบไหน ให้ทำตามแผนนั้น

Plan your trade and trade your plan.





7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

แท่งเทียนกลับตัว - Reversal Candlesticks