สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ

Image
สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ ๑) เทรดแบบงานอดิเรก - มาทรงนี้ จะไปไวมาก เพราะงานอดิเรกมีแต่จ่าย และจ่าย // อีกกลุ่มใหญ่ไม่แพ้กันคือ เทรดแบบการพนัน เล่นหุ้นเสี่ยงสูงทั้งๆ ที่ตนเองความรู้แทบไม่มี จำคำพูดเซียนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ๒) ถึงแม้จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หาความรู้และฝึกฝนอย่างหนัก ก็ยังคงมีโอกาสขาดทุนหนักอยู่ เพราะ - ไปได้ข้อมูล แนวทางที่ผิด โดยเฉพาะการโฟกัสที่ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูง + เทรดโดยไม่มีการบริหารความเสี่ยง - แต่แม้จะได้ข้อมูลที่ดี ก็ยังมีโอกาสขาดทุนยับอยู่ ถ้าคุณมีความเชื่อที่ตรงข้ามกับกลยุทธ์/กระบวนการและกฎการเทรดที่ทำเงิน -- แบบนี้เรียกว่าความขัดแย้งจากภายใน ตัวอย่างที่ชัดมากคือ กลยุทธ์ให้คุณตัดขาดทุน แต่ถ้าภายในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำตามไม่ได้ // กลยุทธ์ให้คุณบริหารความเสี่ยง แต่ถ้าคุณอยากรวยเร็ว คุณก็ไม่ยอมทำตาม ๓) ประสบการณ์ คือ ตัวแปรสำคัญ ของการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ คุณผ่านเกมมากพอ คุณจะเข้าใจหลายเรื่อง ที่มันขัดกับความเชื่อทั่วไปของมนุษย์ได้ เพราะหลายเรื่องของเกมการเทรดนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาชนะ -

SOS (Sign of Strength)

 SOS (Sign of Strength)


เป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญของทฤษฎี Wyckoff accumulation

มันคือสัญญาณกระทิง ความทรงพลังของแรงซื้อที่สามารถเอาชนะแรงขาย(ที่หมดแรงไปแล้ว)ได้อย่างราบคาบ 

.

ดังนั้นตัว SOS นี้จึงมักจะเกิดหลังจากที่

- ช่วงพักตัว sideway สั้นๆ แท่งราคาสั้นวอลุ่มแห้งมากๆ

- ราคาลงไปเทสโลว์ด้วยวอลุ่มที่แห้ง หรือ เบาบาง

.

แท่งราคาที่เป็น SOS คือแบบไหน

- แท่งเขียวยาวที่มาพร้อมกับวอลุ่มสูงกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมายิ่งมากยิ่งดี

- gap up พร้อมกับวอลุ่มสูงกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมายิ่งมากยิ่งดี

เหล่านี้เป็นการยืนยันว่า แรงซื้อ(demand)ก้าวออกมาแสดงตัวยึดพื้นที่ในโซนนี้ได้อย่างราบคาบแล้ว (เพราะก่อนที่จะแสดงตัว ก็ปล่อยให้แรงขาย(supply)แสดงกำลัง จนกระทั่งไม่มีการสนับสนุนต่อแรงขายแล้ว แรงซื้อก็เข้ามายึดพื้นที่เลย)

.

เกิด SOS แล้วต้องดูพฤติกรรมต่อว่าแรงขายยังมีกองกำลังแทรกซึมอยู่หรือไม่ นั่นคือสัญญาณ LPS อันหมายถึงช่วงปล่อยให้แรงขายแสดงตัวหลังจากเกิด SOS ไปแล้ว

การย่อของราคาครั้งนี้ อาจเกิดจากการจงใจของคนทำราคาส่วนหนึ่งที่ต้องการทดสอบ หรือเป็นการแสดงตัวของฝ่ายอยากขาย(supply)เอง

เมื่อเกิดแรงขายที่มีนัยยะ ฝั่งซื้อก็จะหยุดดู ว่าจะออกอาการได้มากมายแค่ไหน ถ้ามากก็แสดงว่ายังไม่ถึงเวลา ต้องลงไปสะสม ย่อยแรงขายใหม่

แต่ถ้าแรงขายมีแค่หยิบมือ (วอลุ่มน้อยนิด) ก็จะเจอการแสดงตนเป็นใหญ่กว่าด้วยแท่งเขียวยาวกว่าวอลุ่มสูงกว่า ขึ้นต่อไปได้อีก

.

ในตลาดบ้านเรา ถ้ามองในมุมของการสะสมหุ้นตามสไตล์ Wyckoff จะพบว่าเพิ่งเกิดสัญญาณ spring ไปเมื่อเดือนตุลาคม(ตอนที่ panic) หลังจากนั้นเราสามารถเห็นทรงหุ้นได้เลยว่าตัวไหนแข็งแรงหรืออ่อนแอ

ถ้าแข็งแรง จะใช้โอกาสหลังจาก panic เด้งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการทำนิวไฮขึ้นมาเป็นระยะๆ

แต่ถ้าอ่อนแอ แท้จะดีดกลับขึ้นมาอยู่ในโซนสะสมได้ แต่ก็ไม่ไปไหนต่อ หนำซ้ำยังถูกแรงขายกดให้ลงต่อได้อีก


แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

แท่งเทียนกลับตัว - Reversal Candlesticks