เหตุใดเราจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตของการเทรด?

Image
เหตุใดเราจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตของการเทรด?  Dr. Van K. Tharp พูดเสมอว่า “นักเทรดไม่เทรดตามที่ตลาดเป็นหรอก  แต่พวกเขาเทรดตามความเชื่อของพวกเขา”   เรื่องนี้ผมเห็นด้วยอย่างสมบูรณ์   ความเชื่อของผมมีดังนี้:  1) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีกลไกการซื้อ/ขายที่สมเหตุสมผลและช่วยให้เขาลงมือตามสัญญาณได้ทันที   2) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางที่สมเหตุสมผลในการกำหนด Position Size ของเขาอย่างเป็นระบบ ซึ่งช่วยลดความน่าจะเป็นที่จะถูกทำลาย   3) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีกลยุทธ์ที่ช่วยลด Drawdown ของ Equity Curve เพื่อทำให้เขาเครียดน้อยลง   4) ตลาดจะเปลี่ยนแปลงเสมอ มันจะขึ้น, ลง, และไซด์เวย์ 5) การลอกกลยุทธ์คนอื่นมาใช้ทั้งดุ้น มักจะไม่เวิร์ค  การสร้างกลยุทธ์หรือพัฒนากลยุทธ์ที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณคือแนวทางที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า 6) ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบในการเทรด   7) ตลาดจะทำในสิ่งที่มันอยากจะทำ - Tom Basso จากหนังสือ The All-Weather Trader

วอลุ่มกับแนวโน้มและกฎของนิวตัน (Law of volume)

ปริมาณการซื้อขายนำราคา
วอลุ่มสามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นโดยระบุการเปลี่ยนแปลงของราคาก่อนที่มันจะเกิดขึ้น
การดูวอลุ่ม(ประกอบกับราคา)สามารถได้ข้อมูลที่ดีกว่าการโฟกัสราคาเพียงอย่างเดียว

Gervails, Kaniel และ Minglegrin บอกว่า "เราพบว่าหุ้นตัวใดตัวหนึ่งที่มีกิจกรรมการซื้อขายในปริมาณมาก (หรือน้อย) ผิดปกติกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาของวันหรือสัปดาห์ที่เคย หุ้นตัวนั้นมักมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนขนาดใหญ่ (หรือน้อย) ในเวลาต่อมา. "

"หุ้นที่มีการซื้อขายมากผิดปกติ เกินกว่าค่าเฉลี่ยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันหรือสัปดาห์ เป็นที่คาดได้ว่าจะให้ผลตอบแทนที่น่าชื่นชม "

ผลการทดสอบตลอด 33 ปี ของการศึกษา เขาเปรียบเทียบหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายกระชากขึ้นสูง เทียบกับหุ้นที่มีปริมาณซื้อขายปกติและ วอลุ่มต่ำ จะแสดงในรูปที่ 5.1

ก็ได้ข้อสรุปที่คล้ายกัน "หุ้นยิ่งวอลุ่มสูง ยิ่งให้ผลตอบแทนสูงตาม " (The High Volume Return Premium)


ปริมาณการซื้อขายสามารถตีความราคาได้
ข้อที่สองของการให้ข้อมูลของปริมาณการซื้อขาย คือ การช่วยให้นักเทคนิคตีความราคา
วอลุ่มให้ข้อมูลในแบบที่ราคาให้ไม่ได้ การใช้ราคาวิเคราะห์อย่างเดียว จะทำให้ความแม่นยำลดลง
ดังนั้นการนำวอลุ่มมาร่วมวิเคราะห์ด้วยจึง เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง

B = S = T
ในหมู่นักลงทุนมีบางคนเข้าใจผิดอย่างรุนแรง เกี่ยวกับวิธีการทำงานของตลาด
ว่า "ราคาหุ้นจะสูงขึ้นเพราะมีผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย และหุ้นจะลงเพราะมีผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ"

แต่ความจริงคือ ในตลาดนั้น ราคาและวอลุ่ม มีความสัมพันธ์กันผ่านข้อตกลงในการซื้อขาย
B = S = T เป็นสูตรง่ายๆที่จะช่วยให้คุณเข้าใจความเป็นจริงนี้
B คือปริมาณของผู้ซื้อ
S คือปริมาณของผู้ขาย,
และ T คือปริมาณการซื้อขายรวม

ในตลาดแลกเปลี่ยน / ประมูล จำนวนหุ้นที่ซื้อไปแล้วต้องเท่ากับจำนวนหุ้นขายซึ่งมักจะเท่ากับจำนวนรวมของหุ้นที่ซื้อขาย
วอลุ่มการซื้อขายก็คือจำนวนหุ้นที่แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

แนวรับและแนวต้าน
ในการวิเคราะห์ price-volume ให้มองว่าวอลุ่มเป็นแรงที่ขับเคลื่อนตลาด แรงที่ว่านี้มักจะมีการแสดงตัวในโซน ที่เรียกว่าแนวรับกับแนวต้าน

แนวรับคือราคาที่ผู้ซื้อสิงสถิต เมื่อหุ้นตกอยู่ในโซนการแนวรับ ผู้ซื้อก็จะเข้าซื้อเพราะเชื่อว่าราคาหุ้นจะไม่ลงต่ำไปกว่านี้แล้ว จึงเป็นการผลักดันหุ้นกลับขึ้นมาอีกครั้ง เราสามารถระบุโซนแนวรับได้โดยการหาจุดต่ำที่มักมีการเข้าซื้อที่ทุกครั้งในอดีตที่ผ่านมา

เช่นเดียวกัน, แนวต้านเป็นพื้นที่ที่อาศัยอยู่ผู้ขาย เมื่อราคาเพิ่มขึ้นถึงโซนแนวต้าน ก็จะมีผู้ขายแสดงตัวเพื่อระบายของออก เพราะพวกเขาเชื่อว่าราคาหุ้นจะ overvalued ในระดับราคาที่สูงนี้ มันจึงเป็นการ "ต่อต้าน" การขึ้น เกิดเป็นแรงขายกดดันหุ้นกลับลงมาอีกครั้ง
ดังนั้น หากต้องการจะทะละแนวต้านหรือแนวรับ สิ่งที่จะเป็นแรงผลักดันคือวอลุ่ม ที่มากกว่า(ดูรูปที่ 5.2)


แนวโน้มราคา(Price Trend) คือ มีแบ่งเป็น ขาขึ้น ขาลง และ sideway
ซึ่งเรารู้จักเป็นอย่างดี แต่ตอนนี้จะพูดถึง ขาขึ้น และ ขาลง เท่านั้น

ขาขึ้น บ่งบอกว่าความต้องการซื้อมีมากกว่าความต้องการขาย
แต่ในขณะที่ห้นวิ่งในขาขึ้นก็มีความพยายามขายกดให้ราคาลดลง กระนั้นก็ไม่สามารถดันให้ราคาต่ำลงไปกว่าโลว์เดิมล่าสุดได้ (จุดต่ำสุดยกสูงขึ้น) หรือไม่หลุดเส้นแนวโน้ม(trend line)
แสดงถึงผู้ซื้อมีความกระหายที่จะสะสมเก็บหุ้นให้ได้มากกว่าที่มีวางขายในราคาขณะนั้น
หากอยากได้ของเพิ่มแบบทันทีต้องไล่ราคาขึ้นไปอีก (ถือเป็นช่วงสะสมหุ้น เก็บทุกราคาที่เสนอขาย)จึงทำให้แนวโน้มราคายิ่งมายิ่งสูงขึ้น (ดูรูปที่ 5.3 ประกอบ)

ขาลง คือการพาดต่ำลงของเส้นแนวโน้ม (ดูรูปที่ 5.4) คือราคาหุ้นทำจุดต่ำสุดใหม่ลงไปเรื่อยๆ มันบ่งบอกว่าแรงขาย(supply)ชนะแรงซื้อ(demand)อย่างสิ้นเชิง ราคาที่ตกลงไปเรื่อยๆแสดงว่าคนขายจำเป็นต้องปล่อยหุ้นของตัวเองออกในราคาให้ต่ำกว่าเดิมเพื่อให้ตรงกับราคาที่ผู้ซื้อเต็มใจจ่าย

ขาลงเป็นการเผยว่าผู้ขาย มีความเต็มใจที่จะยอมรับราคาที่ต่ำกว่า (ถือเป็นช่วงแจกจ่ายหุ้น แต่ไม่ค่อยมีใครอยากได้สักเท่าไหร่จึงลดราคาเพื่อให้ขายได้)


วอลุ่มกับกฎของนิวตัน
เราสามารถสังเกตุความสัมพันธ์ระหว่างวอลุ่มกับพฤติกรรมราคาได้ ผ่านกฎของนิวตัน ดังนี้

กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน บอกว่า "วัตถุพยายามรักษาสภาพเดิมของวัตถุอยู่เสมอ ถ้าอยู่นิ่งก็จะอยู่นิ่งตลอด ถ้าเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วย ความเร็วคงที่ จนกว่าจะมีแรงจากภายนอกมากระทำ"

ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์จะบอกว่า วอลุ่มคือแรงขับที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของราคา
ถ้าเอากฎนี้มาใช้กับพฤติกรรมราคาก็จะได้ใจความว่า เทรนด์ของราคาจะคงอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะมีปัจจัยภายนอกที่มีกำลังมากกว่า ออกมาตอบโต้


กฎข้อที่สอง ของนิวตันกล่าวว่าแรงเท่ากับมวลคูณอัตราเร่ง ถ้าเอาหลักนี้มาทำความเข้าใจตลาดจะได้ว่า จะต้องใช้วอลุ่ม(F)มากแต่ไหน ถึงจะผลักดันให้หุ้น(M) วิ่งได้ระยะทาง(S) ในความเร็วที่ต้องการ(V)

อาจจะพูดได้ว่า ขนาดของการเสนอ Bid และ Offer แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของนักลงทุน
การเคลื่อนไหวของราคาไม่ควรเกินเคลื่อนไหวของวอลุ่ม เพื่อที่จะเห็นภาพความสัมพันธ์นี้คุณจะต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงของราคา (เร่ง) มันมีความเกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงของวอลุ่ม (แรง)

พิจารณาตัวอย่างนี้...
หุ้นบวกขึ้นไป 10% จากราคาปิดเดิม ด้วยวอลุ่มที่สูงกว่า 200% จากปกติ วันต่อมาราคาหุ้นบวกเพิ่มไปอีก 5% ด้วยวอลุ่มเพิ่มขึ้นอีก 300% ในวันที่สามราคาหุ้นเคลื่อนขึ้น 2% ด้วยวอลุ่มเพิ่ม400 % วอลุ่มสูงขึ้นบนราคาที่ breakout เป็นการแสดงออกถึงสภาวะกระทิง อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ด้วยเวลา, วอลุ่ม (แรง) ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของราคา (เร่ง) ในอัตราถดถอย Wyckoff บอกว่า ถ้าใช้แรงมากขึ้นแต่ได้งานน้อยลง นี่คือสัญญาณเตือนว่ามันอาจจะเปลี่ยนเทรนด์ในอนาคต (แม้หุ้นจะวิ่งแข็งแรงในตอนนี้ก็ตาม)

ชาร์ลส์ ดาว แห่ง Dow’s Theory บอกเอาไว้ว่า “วอลุ่มต้องนำราคา” หมายความว่าวอลุ่มที่มีนัยยะ สามารถเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของราคาได้ อีกร้อยปีต่อมา Joseph Granville ก็สนับสนุนความเชื่อนี้โดยเสริมว่า วอลุ่มเป็นการวัดแรงที่เกิดจากการตัดกันของดีมานด์กับซัพพลาย มันเป็นแรงที่ "ผลักดัน" ราคา นั่นเอง



กฎข้อสามของนิวตัน แรงกริยา เท่ากับแรงปฏิกริยา
ในทางหลักเศรษฐศาสตร์อนุมานว่าอุปทานจะเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น; เหมือนผู้ผลิตที่มีมีแรงจูงใจในการผลิตสินค้าหรือบริการมากขึ้น หากมีความต้องการซื้อเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม ในตลาดแลกเปลี่ยน สำหรับบริษัทมหาชนหนึ่งๆ จะมีจำนวนหุ้น(supply) ที่จำกัด (แต่ก็สามารถเพิ่มได้ด้วยการแตกพารื หรือเพิ่มทุน - ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากหัวข้อนี้)
ในภาวะปกตินั้น, ทุกคำสั่งซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นการทำเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นผ่านเงินปันผลหรือส่วนต่างของราคา คนที่ต้องการเสนอขายจะยอมปล่อยของเมื่อได้ส่วนต่างราคาที่พอใจ (หรือในภาวะวิกฤตก็ยอมขายเพื่อรักษาเงินสดเอาไว้)

ดังนั้น ทั้งอุปสงค์(demand)และอุปทาน(supply) จะทำงานบนรูปแบบของมูลค่า
คนที่มีเงินมากก็มองหาโอกาสทำให้เงินเติบโต หรืออย่างเลวร้ายที่สุดที่สุดก็ต้องรักษาเงินต้นเอาไว้

อุปทาน (supply อันมาในรูปแบบของผู้ขาย) มาจากผู้ถือหุ้นเดิม (หรือคนเล่นสั้น) ที่อยากถือเงินสดหรือเห็นว่ามีโอกาสอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการถือหุ้นตัวนั้น(ในราคาขณะนั้น)

ส่วนอุปสงค์(demand อันหมายถึงความต้องการซื้อ หรือผู้ซื้อ) มาจากนักลงทุนที่เชื่อว่าการซื้อหุ้นตัวนั้น(ในราคาขณะนั้น)เป็นโอกาสที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เขามั่งคังขึ้นได้ (อธิบายง่ายๆคือ ซื้อแล้วราคาขึ้นแน่ๆ หรือ มีเงินปันผลมากกว่าฝากธนาคาร)


ตลาดหุ้นทำงานเหมือนเป็นที่ประมูลหุ้น ปริมาณของจำนวนหุ้นที่ซื้อมักจะตรงกับปริมาณการขายในทุกการดำเนินการคำสั่งซื้อ เมื่อราคาเพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวราคาขึ้น เป็นสถานการณ์ที่มี demand มากกว่า supply (นั่นคือผู้ซื้อมากกว่าต้องการขายอย่างเด็ดขาด)

ในทำนองเดียวกันเมื่อราคาร่วงก็หมายความว่าอุปทานเกินความต้องการ (supply มากกว่า demand)(นั่นคือผู้ขายสามารถควบคุมตลาดได้)

แล้วคุณยังรู้ในเวลานั้นเลยว่า แนวโน้มของ demand กับ supply จะสร้างรูปแบบแบบการสะสมและการแจกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มเหล่านี้จะขึ้นลงหรือออกข้าง(sideway) วอลุ่มคือแรงที่จะรักษาแนวโน้มเหล่านี้ไว้
Anna at Making Bread กล่าวว่า "วอลุ่มก็เหมือนน้ำในท่อ เมื่อแรงดันน้ำมากขึ้น น้ำก็ไหลได้แรงขึ้น"


การประยุกต์เอากฎของนิวตันมาใช้กับวอลุ่ม
จากการตรวจสอบกฎข้อที่หนึ่งของนิวตัน, คุณได้เรียนรู้ว่า
- การเปลี่ยนแปลงของราคาที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากวอลุ่ม
- นอกจากนี้คุณยังได้เรียนรู้ว่าความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานเป็นที่ประจักษ์ผ่านปริมาณการซื้อขาย เป็นแรงภายนอกที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคา
- กฎข้อที่สามของนิวตันทำให้คุณได้เรียนรู้ว่าความแตกต่างระหว่างความต้องการ(แรงซื้อ) และอุปทาน (แรงขาย) กำหนดจำนวนของการเกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของราคา


Wyckoff มีกฎที่คล้ายกันเรียกว่ากฎแห่งเหตุและผล
คือก่อนจะเกิดผลมันต้องมีเหตุเกิดรออยู่ก่อนแล้ว ความแข็งแรงของเหตุควรจะเป็นสัดส่วนกับผลกระทบ ดังนั้นความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน(แสดงออกผ่านวอลุ่มการซื้อขาย)เป็นแรงภายนอกที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาที่สูงขึ้น สรุปคือยิ่งวอลุ่มกระชากแรงจะส่งผลให้ราคาสวิงแรงตามนั่นเอง

-------------------------------------------
----------------------
----------------------

สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้น
ที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks


"ส่งข้อความ" สั่งได้ที่เพจ zyobooks : facebook.com/zyobooks ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการเทรดหุ้น คุณไม่ต้องรอบรู้ไม่ต้องเก่งทุกเรื่องและทุกอย่างหรอก ทำแค่ 7 เรื่องนี้ให้ได้ก็พอ....

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ศาสตร์และศิลปะของการปั้นพอร์ต ให้เติบโตสม่ำเสมอ Art & Science of Trading