ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

(ดีมาก อยากให้อ่าน เพราะอาจเปลี่ยนชีวิต) วิธีการเทรดแบบนักล่า แบบเสือพูม่า

ถ้าอยากเทรดให้ได้กำไรอย่างแท้จริง
ให้เลียนแบบพฤติกรรมของเสือพูม่าเอาไว้ครับ
(เสือพูม่า หรือ เสือคูการ์ หรือ สิงโตภูเขา)
มันเป็นนักล่าโดดเดี่ยวที่ปรับตัวให้เหมาะสำหรับป่าในทวีปอเมริกาเหนือ
มันได้รับการยกย่องมาก ว่าเป็นเสือที่ฉลาดที่สุด


ซึ่งยี่ห้อพูม่า ที่เราเห็นติดเสื้อ อุปกรณ์กีฬาทั้งหลาย
ก็เอามาจากเสือชนิดนี้นี่เองนะ


เสือพูม่าไม่ใช่นักวิ่งไล่ล่าเหยื่อ แต่เป็นนักซุ่มโจมตี
มันจะอุทิศตัวซุ่มเฝ้ารอเหยื่ออย่างอดทน บนต้นไม้ ในซอกหิน
เพื่อรอกวางที่หลงเข้ามาในโซนโจมตี






มันรู้จักนิสัยกวางเป็นอย่างดี
(เหมือนเทรดเดอร์รู้จักการวิเคราะห์ทางเทคนิค)
มันรู้ว่าตัวเองมีความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จสูง(ในการไล่ล่า-ถ้าจะทำ)

แต่มันกลับเลือกที่จะซุ่มดักรอให้กวางเดินเข้าไปในพุ่มไม้ของมัน
เมื่อจังหวะได้ มันก็กระโจนเข้าจับกวาง(โดยที่ไม่มีการไล่ล่า)

ซึ่งผลจากนั้นก็สามารถออกมาได้ทั้งสองแบบ
คือจับได้อยู่หมัด-กวางกลายเป็นเหยื่อ-เสือชนะ
แต่ถ้าหากเสือพลาด-มันก็ปีนขึ้นไปซุ่มที่ใหม่เพื่อรอโอกาสใหม่ต่อไป
เสือไม่บาดเจ็บ แม้จะพลาด ก็ไม่เป็นไร เอาใหม่

คุณสมบัติที่ต้องเพิ่มและพัฒนาก็คือ "ความอดทน"

เมื่อต้องเผชิญกับความไม่แน่อนและความเสี่ยงของการเทรด
เราต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นแทน

เพราะสภาพแวดล้อมของการเทรดมันไม่สามารถควบคุมผลได้เลย
หากอยากจะได้ประโยชน์จากมันก็ต้องมีทางเดียวคือปรับตัวตาม

เมื่อเราสามารถอยู่ในกระแสของตลาดได้แล้ว
หากมีความอดทนพอ ก็จะเห็นโอกาสสวยๆที่มีความน่าจะเป็นให้เราชนะ
แล้วเข้าทำเพื่อให้ได้กำไรตามที่ตลาดมอบให้

แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร รีบยอมรับมัน-ตัดขาดทุนให้ไว
แล้วกลับไปซุ่มรอจังหวะใหม่แบบนักล่ามืออาชีพ

สรุปคือ
เราต้องพัฒนาทักษะของความอดทน
เพิ่มความเคร่งครัดต่อวินัย
รู้จักรอจนกระทั่งได้จังหวะที่ดีที่สุด
แล้วค่อยลงมือทำ

ถ้าผิดทางก็รีบถอนตัวออกมาเพื่อไม่ให้เกิดความบาดเจ็บ
เพราะเราต้องอาศัยพลังในการโจมตีครั้งใหม่
ซึ่งลักษณะของแผนการณ์ก็ขึ้นอยู่กับสภาพตลาดนั้นจะเป็นไปในทางใด
เราก็ต้องปรับตัวตามนั้นเพื่อที่จะเห็นโอกาสที่สอดคล้องกัน

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

กราฟหุ้น GFPT ล่าสุด