การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

เล่นหุ้นขาดทุนแล้วไงต่อ? นี่คือความต่างระหว่างมือสมัครเล่นกับมือโปร


เล่นหุ้นขาดทุนแล้วไงต่อ? นี่คือความต่างระหว่างมือสมัครเล่นกับมือโปร

มือสมัครเล่น
ยอมรับการขาดทุนได้ยากมาก พวกเขาไม่อยากเทรดแล้วเสียเงินแม้แต่บาทเดียว
เมื่อเกิดการขาดทุนแล้ว พวกเขาจะทำแบบนี้ครับ
๑) เลื่อนระดีบ stop loss ให้ถอยออกไปอีก เพื่อที่จะไม่ต้องขายขาดทุน
(ไม่อยากเสียเงิน ไม่ต้องการยอมรับว่าตัวเองผิด)
๒) ซื้อถัวเฉลี่ย เพราะมีการหลอกตัวเองว่าได้หุ้นราคาถูกลง
ถ้าหากราคาวิ่งขึ้นไป เขาจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม ได้กำไรมากขึ้น
(เป็นการไม่ยอมรับว่าตัวเองคิดผิด เพราะไม่อยากแพ้ ไม่อยากเสียเงิน)
๓) เลิกใช้ stop loss ไปเลย โดยมีข้ออ้างว่า "ขายทำไม เดี๋ยวก็เด้ง"
หรือ "ไม่เป็นไร มันเป็นหุ้นดี มีปันผล"

พวกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความเสียหายครับ

ถ้าหากไม่ยอมตัดขาดทุนแต่เนิ่น ๆ หากตลาด หรือ SET เกิดการ panic
ก็จะทำให้ราคาหุ้นตัวนั้นร่วงแรงได้ และถ้าหากหุ้นตัวนั้นเป็นขาลงไปแล้วด้วย
การร่วงจะรุนแรงกว่าที่ผ่านมา
เพราะว่าคนที่ถือหุ้นตัวนั้นเกิดความกลัวมากกว่าปกติ
ทำให้ตัดใจขายหุ้นออกได้อย่างรวดเร็วหากเกิดการกระตุ้นจากความตื่นตระหนก
ซ้ำร้ายนะ หากมีการใช้มาร์จิน ด้วยล่ะก็ โดน force sell ให้เสียหายหนักแน่นอน


มือโปร
พวกเขาจะมีหลักการแบบนี้ครับ
๑) การเทรดแค่ครั้งเดียว และผลที่เลวร้าย(ขาดทุน)ของมันไม่ได้มีผลกระทบต่อภาพใหญ่
การตัดขาดทุนในระดับที่ยังไม่เสียหายมาก ถือเป็นเรื่องสมควร
๒) การตั้งระดับ stop loss มัเกิดจากความตั้งใจที่จะออกจากหุ้นตัวนั้น
เพราะราคาหุ้นทำตัวไม่น่าไว้ใจแก่เขา หรือบอกว่าเขาเดาการเคลื่อนไหวของราคาผิดไป
(เขายอมรับผลการเคลื่อนไหวของตลาดโดยไม่มีการอิดเอื้อน)

มือโปรเขารู้ว่าผลการเทรดแค่ครั้งเดียวมันไม่มีผลต่อสถานะการเทรดของเขาเลยแม้แต่น้อย
การแพ้ในสนามรบคือส่วนหนึ่งของสงคราม ต้องยอมรับมัน
และตัดความเสียหายเล็กๆน้อย ออกไปให้ไวที่สุด จะได้มุ่งหน้าไปทำงานใหญ่ได้

มืออาชีพรู้ตรงกัน ไม่ว่าเขาจะเทรดชนะหนือแพ้ในแต่ละครั้งนั้น มันไม่ได้สำคัญอะไรมากมาย
เนื่องจากต่อไปเขาต้องเทรดหุ้น 100, หรือ 500, กระทั่ง 1000 ตัว
เพราะเขามองการเทรดเป็นเกมระยะยาว
ตราบใดที่ผลการเทรดโดยรวมมันทำกำไรใหเแก่เขา แค่นั้นก็พอใจ
เนื่องจากเขารู้ดีว่าระหว่างทางของการเทรดไม่ราบรื่น
เขาจะต้องเจอการขาดทุนโดยตลอด
ดังนั้นเมื่อเจอการขาดทุนก็ยอมรับมัน เนื่องจากเป็นสิ่งที่เขาไม่ต้องการ
สิ่งที่ทำก็ง่าย ๆคือ เขี่ยให้มันพ้นทาง เพื่อที่จะทำให้ทางเดินสะดวกขึ้นเท่านั้นเอง

เมื่อคิดว่าการขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด
การตัดขาดทุนจึงเป็นอะไรที่เขา happy
และทำตามระบบไปแบบไม่ต้องคิดมาก
เนื่องจากเป้าหมายของพวกเขาคือการทำเงิน ไม่ใช่เป็นคนที่ถูกตลอดเวลา

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่