สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ

Image
สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ ๑) เทรดแบบงานอดิเรก - มาทรงนี้ จะไปไวมาก เพราะงานอดิเรกมีแต่จ่าย และจ่าย // อีกกลุ่มใหญ่ไม่แพ้กันคือ เทรดแบบการพนัน เล่นหุ้นเสี่ยงสูงทั้งๆ ที่ตนเองความรู้แทบไม่มี จำคำพูดเซียนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ๒) ถึงแม้จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หาความรู้และฝึกฝนอย่างหนัก ก็ยังคงมีโอกาสขาดทุนหนักอยู่ เพราะ - ไปได้ข้อมูล แนวทางที่ผิด โดยเฉพาะการโฟกัสที่ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูง + เทรดโดยไม่มีการบริหารความเสี่ยง - แต่แม้จะได้ข้อมูลที่ดี ก็ยังมีโอกาสขาดทุนยับอยู่ ถ้าคุณมีความเชื่อที่ตรงข้ามกับกลยุทธ์/กระบวนการและกฎการเทรดที่ทำเงิน -- แบบนี้เรียกว่าความขัดแย้งจากภายใน ตัวอย่างที่ชัดมากคือ กลยุทธ์ให้คุณตัดขาดทุน แต่ถ้าภายในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำตามไม่ได้ // กลยุทธ์ให้คุณบริหารความเสี่ยง แต่ถ้าคุณอยากรวยเร็ว คุณก็ไม่ยอมทำตาม ๓) ประสบการณ์ คือ ตัวแปรสำคัญ ของการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ คุณผ่านเกมมากพอ คุณจะเข้าใจหลายเรื่อง ที่มันขัดกับความเชื่อทั่วไปของมนุษย์ได้ เพราะหลายเรื่องของเกมการเทรดนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาชนะ -

แชร์ขั้นตอนการเทรด Breakout แบบ Step by step



ผมมีซีรี่ส์ใหม่มาเขียนให้ท่านได้อ่านอีกแล้วครับ
คราวนี้จะเป็นการนำเสนอเรื่องขั้นตอนการเข้าซื้อ แบบ step-by-step
ก็มีการลงรายละเอียดทั้งจากประสบการณ์ของตัวเองและของฝรั่งนะครับ
ของคนอื่นเขาจะเน้นที่การรุก ส่วนผมเองขอเสริมเกมรับให้นะครับ
จะได้รอบด้าน เพราะส่วนใหญ่เราบุกเพลินกัน โดนสวนทีไรน็อคทุกที

เริ่มต้นที่ความหมายของ Break out แปลว่า การพุ่งทะลุ
ทะลุอะไร? ถ้าเป็น break out หุ้น คือการทะลุแนวต้านสิครับ

บางท่านเรียกการ breakout ว่า "ตีทะลุ", "ฝ่าด่าน", "ทะลุแนวต้าน" หรือ เบรกเอ้าท์ ตรงๆก็มี
ผมว่าการเทรด breakout ใช้ได้กับการเทรดทุกประเภทนะครับ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น,  FOREX, DW, FUTURE, Commodity, ทอง, bitcoin, ฯลฯ ขอให้มีการเก็งกำไรเข้ามาเกี่ยวข้อง ผมว่าใช้ได้หมดทุกตลาด

นึกภาพ การทะลุแนวต้าน ออกมั้ย?
ดูรูปดีกว่านะ


ส่วนประกอบสำคัญของการ breakout มีอยู่ ๓ จุดครับ
๑) ระดับจุดสูงสุดเก่า ที่ราคาเคยทำไว้ ระดับนี้แหละครับที่เขาเรียกว่าแนวต้าน
ทำไมถึงเป็นแนวต้านน?
ก็เพราะว่าจะมีนัก้ก็งกำไรส่วนหนึ่งเขาใช้เป็นจุดขายหุ้นออกไงครับ
เมื่อราคาหุ้นวิ่งถึงระดับนี้ พวกเขาจะเอาหุ้นที่ตัวเองมีมาตั้งวางขายกันมากมาย
ขายทำไม? ก็เก็บกำไรสิครับ เพราะเขาซื้อหุ้นได้ที่ราคาต่ำกว่านั้นไง
แมื่อมีคนเอาหุ้นมาตั้งขายเยอะทำให้กลายเป็นกำแพง ซื้อเท่าไหร่ก็ไม่ผ่านเสียที
แบบนี้แหละครับที่เรียกว่าแนวต้าน

๒) แท่งราคาเขียวยาว วิ่งทะลุระดับจุดสูงสุดเก่า ขึ้นไปปิดสูงกว่านั้นได้
แท่งเขียวยาว บ่งบอกว่ามีความต้องการซื้อ มีการขนเงินเข้ามาระดมซื้อหุ้นจำนวนมากครับ
เมื่อเงินเยอะ ทำให้คนซื้องับซื้อหุ้นที่ตั้งขายในระดับแนวต้านได้หมดน่ะสิครับ
เมื่อเอาชนะแนวต้านได้ ราคาก็ breakout สิครับ

๓) วอลุ่ม ต้องมากกว่าวันก่อนๆ ยิ่งเยอะยิ่งดี
วอลุ่มที่เยอะ ก็เป็นผลมาจาข้อ ๒ นั่นแหละครับ
คือการที่มีวอลุ่มเยอะ แสดงว่า คนซื้อมีความตั้งใจในการเข้าทำครั้งนี้มาก
แม้ว่าจะมีอุปสรรค คือคนเอาหุ้นมาตั้งขายที่แนวต้าน ขัดขวางมากแค่ไหน เขาก็สามารถเอาชนะได้
แสดงว่า เขาได้ลงทุนไปเยอะมาก ราคาน่าจะไปต่อได้อีก เพราะเพิ่งลงทุนไงครับ

ทรงของ SIAM นี่แหละครับ คือตัวอย่างที่ดีมากๆในช่วงนี้

อีกตัวครับ KSL


KSL ก็เป็นอีกตัวที่ทำได้สวย ครบถ้วนทั้งการทะลุ แท่งเขียวยาว และวอลุ่ม
แต่บางท่านอาจมีคำถามว่า ระหว่างการ breakout ระดับ (1) กับ (2) ซื้อตอนไหน?
ผมว่าตั้งแต่ระดับ (1) สิครับ ทุนจะได้ต่ำ

ตัวอย่างอื่นๆ



Breakout แล้วไงต่อ? จะใช้ประโยชน์จากมันได้ยังไง?
การ breakout ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ "การวิ่งต่อ" ครับ

ในที่นี้ผมขอเน้นไปที่ "การวิ่งขึ้น" เพื่อดำรงความเป็นขาขึ้นต่อไปได้อีก
การที่เราซื้อตอน breakout  แล้วราคาวิ่งขึ้นต่อไปได้อีก แสดงว่ามันทำให้เรา "ได้กำไร" ไงครับ


แบบนี้ชอบมั้ย ถ้าซื้อแล้ว กำไรทันที นั่นแหละครับ ประโยชน์ที่ breakout มีให้
แม้จะไม่ได้ที่ราคาต่ำสุดของการย่อ เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่ามันจะหยุดลงตรงไหน
แต่อย่างน้อยก็มีโอกาสลุ้นว่า กำไรเลย หรือขาดทุนทันที อิอิอิ

กลยุทธ์ ขั้นตอนการเทรด breakout
จากประสบการณ์ของผมนะ มันมีอยู่ ๔ ขั้นตอนที่เราต้องให้ความสำคัญ ดังนี้...

๑) หารูปแบบฐานราคา หรือ price pattern หรือการบีบตัวแคบๆ
ฐานราคา หรือ Price Pattern ทรงมันจะเป็นลักษณะนี้ครับ

ผมเคยเขียนบทความไว้นะครับ ชื่อ Price Pattern ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้


การบีบตัวแคบๆล่ะ?
ดูของจริงดีกว่า

การบีบตัวแคบๆ คือ แต่ละวันราคาวิ่งบวกลบแค่ สองสามช่อง บางวันก็เป็นโดจิ
เป็นอย่างนี้ติดต่อกันนับเดือนครับ


SIAM เองก็บีบตัวแคบๆ ติดต่อกันเป็นเดือน
แต่แค่ท่านเห็นการบีบตัวแคบๆอย่างเดียวมันไม่พอนะครับ อย่าเพิ่งเข้า
เพราะมันยังไม่วิ่ง เหมือนรถเมล์ที่จอดแช่รอออกในท่านรถน่ะ ไม่มีประโยชน์ รีบแค่ไหนก็ไม่ได้ไป

แต่จะว่าไปแล้ว ข้อนี้ท่านต้องทำการบ้านอย่างหนัก เก็บสะสมหุ้นที่น่าสนใจเอาไว้ให้มาก
แล้วหุ้นแบบไหนที่น่าสนใจ?
นักเทรดระดับโลก โดยเฉพาะโมเมนตัม อย่างพี่มาร์ค ปู่โอนีล พี่แดน พวกเขาจึงมุ่งไปที่พื้นฐานก่อนไง เพราะมันจับต้องได้ไง มันมีความน่าเชื่อถือว่าจะวิ่งไปแรงได้ ถ้าพื้นฐานดี การทำกำไรดี

ดังนั้น ถ้าคุณมีหุ้นพื้นฐานดีในลิสต์ไว้ ก็สามารถเอาชื่อไปเปิดกราฟดูทรงมันได้

อีกแนวของผม คือดูหุ้นที่ติด Top Gainer ครับ
เช็คว่าตัวไหนเขียวบวกดีๆ ก็ไปเปิดกราฟดู ถ้ามัน breakout ทะลุกรอบฐานราคาขึ้นไปได้ ก็ซื้อ
ผมเคยเขียนแนวทางนี้ไว้นะครับ แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ


๒) หาแนวต้าน
แนวต้านก็คือจุดสูงสุดที่อยู่ไกล้ๆครับ
โดยเราจะเอาจุดสูงสุดนั้นเป็นระดับอ้างอิงเพื่อดูการ breakout ครับ
ดูเพื่อยืนยันให้เข้าซื้อเมื่อราคาทะลุแนวต้านนั้นขึ้นไปได้



ดูตัวอย่างจาก SIAM อีกครั้งนะครับ
แนวต้านที่ว่านี้ก็คือ ที่ผมระบุและลากเส้นประ "ระดับจุดสูงสุดเก่า" นั่นแหละครับ
หากท่านเห็นมันทะลุระดับนี้ขึ้นไปก็ เป็นโอกาสซื้อที่ดี


๓) หาแนวรับ
แนวรับ คือระดับอ้างอิงที่เอาไว้สำหรับ "หนีตาย" ครับ
หนีตายก็คือ การตัดขาดทุนตั้งแต่ต้นลม ก่อนที่ราคาระร่วงต่อให้ขาดทุนหนักไงครับ
คือเราไม่เน้นรุกอย่างเดียว เพราะตลาดไม่แน่นอน มันเป็นเกมส์กินตังค์กันไง
ดังนั้น เราต้องเล่นแบบระมัดระวังตัวเองไว้ก่อน ได้ก็เอา หากไม่ได้ก็เสียให้น้อยไว้ก่อน
เก็บเงินไว้รอโอกาสดีๆ ครั้งใหม่ครับ
หน้าที่เบื้องต้นของนักเทรดคือรักษาเงินต้นเอาไว้นะครับ
เล่นแบบฉาบฉวย เอาแต่ได้เท่านั้น ถ้าเขาไม่ให้ก็อย่าไปดันทุรัง

แล้วแนวรับที่ว่านี้หน้าตาเป็นยังไง?


แนวรับ คือจุดต่ำสุดของการย่อครั้งล่าสุดครับ
ในแต่ละการแกว่งขึ้นลง แต่ละขยัก ของการเคลื่อนไหว ต้องมีจดสูงสุด และต่ำสุดของการแกว่งครับ
จุดสูงสุดก็คือแนวต้าน จุดต่ำสุด คือแนวรับ

ดูของจริงกันครับ



แล้วท่านควรเลือกแบบไหน?
แนวรับ กับความเสียหายของพอร์ตคุณ จะเลือกอันไหน?

ดูตัวอย่าง



๔) วางแผนขาย
มี ๒ ทางให้เลือกครับคือ...
๔.๑) ขายทำกำไร
๔.๒) ขายขาดทุน
ในโลกของการเทรดนั้น ทุกคนล้วนต้องการกำไรครับ
เพราะฉะนั้น ตลาดไม่สามารถให้เงินกับทุกคนได้หรอก เงินจะต้องย้ายจากคนที่อ่อนแอ มักง่าย ไปเข้ามือคนที่แข็งแกร่งกว่า รอบคอบกว่า เสมอครับ
ดังนั้น ท่านต้องติดตามผลงานของตัวเองตลอด ว่าตอนนี้ท่านอยู่ฝั่งไหน
แข็งแรง หรือ อ่อนแอ?

ถ้าซื้อแล้วท่านกำไร แถมมันยังกำไรเพิ่มให้ท่านได้ต่อเนื่อง แสดงว่าท่านเลือกฝั่งถูก คือแข็งแรง
แต่ถ้าซื้อแล้วราคาไม่ไปต่อ เกิด false breakout ให้ขาดทุน แสดงว่าท่านอยู่ฝั่งอ่อนแอ ต้องรีบชิ่ง


ความเสี่ยงของการ breakout
มีอยู่อย่างเดียวคือ false breakout หรือเบรกหลอก นั่นแหละครับ
คือเราเห็นว่าราคาทะลุแนวต้านขึ้นไปได้แล้ว ก็ซื้อตาม แต่มันดันยืนไม่อยู่น่ะสิ
จากนั้นก็กลับตัวร่วงหลุดลงไปวิ่งใต้ระดับราคา breakout ทำให้เราขาดทุน

เมื่อเจอแบบนี้ เราควรทำยังไงดี?
อันดับแรกเลยคือ "เตรียมขายหุ้นออก" ครับ
เพราะตลาดเขาบอกว่า ตอนนี้เราเป็นฝ่าย "เพลี่ยงพล้ำแล้ว" โอกาสแพ้มากกว่าชชนะ
ท่านต้องรู้ตัวว่าท่านพลาด อย่างน้อยคือ "ซื้อผิดจังหวะ" หรือไม่ก็ "คาดผิด"
ดังนั้น ต้องเตรียมตัวหนี

แล้วจะหนีตรงไหนให้ได้เปรียบ?
ก็ต้องดูข้อต่อไป...
ต่อมาคือ ดูแนวรับ ว่ามันจะเอาอยู่มั้ย?


ถ้าเอาอยู่หมายความว่า มันมีดอกาสเด้งขึ้นไปครับ
หรืออย่างน้อย ดีที่สุดมันอาจจะย่ำสร้างฐานต่อไปอีกสักระยะ


แต่ถ้าเอาไม่อยู่ มันก็มีโอกาสร่่วงต่อให้ขาดทุนเพิ่มน่ะสิ
แบบนี้แหละครับที่เราต้องระวังให้จงหนัก เพราะต้องไม่ขาดทุนหนัก
ขาดทุนน่ะขาดได้ เพราะเราไม่รู้อนาคต เราเลี่ยงมันไม่ได้
แต่ถ้าปล่อยให้ขาดทุนหนัก ก็ถือว่าเป็นความผิดของคุณล้วนๆเลยนะ


ดังนั้น ถ้าแนวรับเอาไม่อยู่ ต้องขายออกไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงครับ

แล้วท่านควรเลือกแบบไหน?
แนวรับ กับความเสียหายของพอร์ตคุณ จะเลือกอันไหน?

ดูตัวอย่าง

กลับมาที่ SIAM อีกทีครับ
สมมุติท่านเห็นว่าราคาทะลุแนวต้าน 2.02 ขึ้นไปได้ อาทิราคาเพิ่งอยู่ที่ 2.04 ท่านก็เข้าซื้อ
แต่เมื่อดูแนวรับแล้ว มันคือ 1.86  แต่ถ้าจะขายจริงๆ ก็ต้องรอให้ราคาลงไปหลุด1.84-1.82 นั่นเลย
เมื่อวัดจากต้นทุนเรา ถ้ารวมค่าคอมมิชชั่น คงเป็น 2.06 โดยที่ราคาขายออก 1.82 ห่าง 11% เลย
ท่านยอมรับได้มั้ย กับการขาดทุน 11%?
สำหรับผมก็บอกว่าพอไหวอยู่นะ ถ้าท่านคิดว่ารับได้ ก็ทนดูไปครับ

มาดูตัวอย่างอื่น


KSL สมมุติท่านซื้อได้ที่ 3.40 จุดขายขาดทุนที่ 3.20
เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยง เกือบ -6% จัดว่าสวยครับ


APURE สมมุติท่านซื้อได้ที่ 1.45 จุดขายขาดทุนที่ 1.32
เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยง เกือบ -9% ก็พอไหวครับ


นี่คือเหตุผลว่าทำไมนักเทรดผู้ช่ำชองเขาเลือกหุ้นราคาสูงๆ
เพราะช่องระหว่างแนวต้านกับแนวรับมันเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยกว่า หุ้นราคาต่ำๆไงครับ

แล้วทำยังไงดี ไม่ให้เสียหายเยอะ?
มืออาชีพเขา ซื้อแบบทยอยครับ
พี่ Mark Minervini บอกว่า แกจะทยอยซื้อ โดยจะทยอยเพิ่มจำนวนขึ้นเมื่อราคาหุ้นเริ่มวิ่งขึ้น
คือแกไม่อัดเต็มจำนวนตั้งแต่ไม้แรก โดยบอกว่าต้องการรับรู้อาการของหุ้นก่อน ถ้าใช่ ค่อยซื้อเพิ่ม

พี่ David Ryan บอกว่าซื้อไม้แรก 5% ของพอร์ต และเมื่อถึงชั่วโมงสุดท้ายของวัน ถ้ามันยืนอยู่ ก็จะซื้อเพิ่มเป็น 10% ของพอร์ต (เพราะแกมีกฎให้ซื้อแค่ 10% ของพอร์ตเท่านั้น)
แต่ถ้าราคาหุ้นปิดไม่แข็งแรง ก็จะรอดูวันต่อไปครับ หากยังมีแรงซื้อเข้ามาต่อเนื่อง ก็จะเข้าให้ครบ 10%

สรุป ขั้นตอน ระบบ เทรด breakout ตามสูตรผมนะครับ
๑) เก็บลิสต์หุ้นที่น่าสนใจเอาไว้ โดยเฉพาะพวกที่มีรูปแบบฐานราคา หรือ price pattern ย่อเพื่อไปต่อ continuation pattern
๒) หาแนวต้านของ price pattern เอาไว้
๓) หาแนวรับเอาไว้
๔) วางแผนขาย
- ขายเมื่อขาดทุน
- ขายเมื่อกำไร


(แนะนำ)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

แท่งเทียนกลับตัว - Reversal Candlesticks