จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด

"จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด" สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 ในโลกของการเทรด การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้มีแต่เส้นทางที่ราบรื่น หลังจากราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (leg up) ตลาดมักจะเข้าสู่ช่วงพักตัว (pullback) หรือการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางชัดเจน (chop and slop) ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีความแน่นอน แต่นี่คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับนักเทรดสายสวิงที่มีสายตาแหลมคม จังหวะพักตัวคือช่วงเวลาที่ตลาดปรับสมดุล ทดสอบแรงสนับสนุนและแรงต้าน การสังเกตจังหวะนี้อย่างใกล้ชิดช่วยให้นักเทรดมองเห็นรูปแบบที่สามารถนำไปสู่โอกาสการเทรดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาหุ้นหรือสินทรัพย์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี (index) และอาจนำหน้าดัชนีในบางจุด เคล็ดลับจากยอดนักสวิงเทรดการมองรอบราคาตลาด 1. ดูรอบของดัชนีตลาด (Price Cycle): การทำความเข้าใจว่าดัชนีอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรราคา เช่น ช่วงขาขึ้น ช่วงพักตั...

Jo's Methods


"ก่อนจะเป็นวีไอที่ประสบความสำเร็จแก่นแท้ข้อหนึ่งที่จะต้องท่องไว้เลยคือ "เราซื้อธุรกิจไม่ได้ซื้อหุ้น" คนส่วนใหญ่ที่คิดว่าซื้อหุ้น เพราะเขาเชื่อว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้น แต่หากคิดว่าซื้อธุรกิจ เราจะคิดว่าธุรกิจนี้ จะมีกำไรสูงขึ้น ซึ่งมันจะเป็นตัวผลักดันราคาหุ้นให้สูงขึ้น แต่จะคิดแบบซื้อธุรกิจได้คุณต้องศึกษาธุรกิจนั้นอย่างลึกซึ้ง"

"ตรรกะของการทำกำไรจากหุ้นคือ ซื้อถูกขายแพง คำถามต่อไป แล้วเราจะขายได้แพงตอนตลาดเป็นแบบไหน และหากเราจะซื้อของให้ได้ราคาถูก เราจะซื้อได้ตอนที่ตลาดเป็นอย่างไร"

มีนักลงทุนระดับไอดอลบ้านเราอีกคนที่ผมอยากตีความสรุปไอเดียแนวทางการเทรดเอาไว้ นั่นคือพี่โจ ลูกอีสาน ซึ่งแม้จะเป็นคนละแนวทางกัน แต่ก็ด้วยความชื่นชมเลยเป็นแรงบันดาลใจให้ลองดูครับ

ผมชอบเรียกพี่โจ ว่าเป็น "วีไอโฮบริด" เพราะความที่ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้ดีมากๆ
เท่าที่ตัวเองสังเกตุนะ ขอแบ่งประเภท วีไอ ไว้ 2 แนว ตามยุคสมัย
          แนวคลาสิค ผู้นำคือ ดร.นิเวศ เหมวชิรวรากร ที่เน้นของยุคถูกและดี ซื้อเฉพาะหุ้นดีหนึ่งประเภทหนึ่งเท่านั้นซึ่งวิธีนี้จะเหมาะสําหรับตอนที่ set ร่วงหนักมากในรอบสิบปีเลยนะผมว่า คือต้องวิกฤติขนาดดัชนีลงไปอยู่ในระดับ 100 จุด ประเภทที่เม่าและเซียนเลือดนองตลาดหุ้นนั่นแหละ แนวนี้ถึงจะชอบ

          แนวไฮบริด ก็แบบ พี่โจ นี่แหละครับ คือไม่รอวิกฤติ เพราะไม่เล่นหุ้นใหญ่ ไม่เอาบลูชิพ เน้นขนาดเล็กและกลางเน้นที่ถูกและดีพอประมาณ เพราะเชื่อว่าของถูกและดีพอใช้มีอยู่เสมอ ถ้าคุณหมั่นพลิกหินดูทีละก้อนในที่สุดก็ต้องมีหุ้นที่เข้าเรดาร์พอสมควร เท่าๆที่ตามงานสัมภาษณ์ของแกนะ พบว่าพี่เค้าจะมีหุ้นในลิสต์อย่างน้อยๆ สี่ห้าสิบตัว ซึ่งแนวคิดแบบนี้แหละที่เหมาะสำหรับ set พันกว่าจุด อย่างปัจจุบันมากครับ

รวยด้วยสมองและสองมือ
- "ผมถือคติว่า ฟังคนอื่นหรือลอกหุ้นคนอื่นชีวิตการลงทุนคงไม่รอด ที่ผ่านมาผมปฏิญาณกับตัวเองว่าจะไม่ใช้ “อินไซเดอร์” ถึงได้กำไรก็ไม่ภูมิใจ เราโกหกคนอื่นได้ แต่โกหกตัวเองไม่ได้ ไม่อยากเงยหน้าอายฟ้า ก้มหน้าอายดิน"


แนวทางการพลิกหินทีละก้อน
- ไล่อ่าน 56-1
- ตามดูคลิป Oppday
- ไล่อ่านรายงานประจำปี
- อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ธุรกิจทุกวัน
- อ่านงานวิจัยจากโบรคเกอร์ทุกแหล่งเพื่อหาเบาะแส
- ตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ทุกวันทำการ
- ดูเวปบริษัท
- อ่านรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
ยิ่งติดตามมาก เราก็ยิ่งรู้พื้นฐานมากขึ้น ขอบข่ายความรู้มากขึ้น ยิ่งติดตามมากโอกาสที่จะเจอช้างเผือกก็สูง เวลามีข่าวสารเข้ามาเราก็รู้ทันทีว่าเป็นข่าวดีหรือไม่ดี ซื้อหรือไม่ซื้อ ไม่ต้องเสียเวลาไปหาข้อมูลอีก


อ่านยังไงให้ได้หุ้น?
- ต้องทำทะเลให้แคบก่อน ทำเป็นบึงเป็นสระ ด้วยการคัดตัวที่ไม่เข้าใจออก หุ้นปั่น ธรรมาภิบาลไม่ดี อุตสาหกรรมตกดิน ถ้าเหลือซัก 200 กว่าตัว ส่วนใหญ่ผมติดตามตัวที่สนใจพิเศษ ตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ดูว่ามีนัยยะกับกำไรบริษัทหรือเปล่า ตอนเช้า 9 โมงผมจะอ่านข่าวตลาดแล้ว ไม่ได้ติดตามที่ไหนเป็นพิเศษ ผมจะมองล่วงหน้าก่อนหนึ่งปี
- เน้นข่าวที่มีนัยยะต่อผลประกอบการคือกำไรจะโตในอนาคตใน 1 ปีข้างหน้า


ของดีที่ชอบมีหน้าตายังไง?
- "ผมจะชอบหุ้นที่มีแนวโน้มว่ากำไรสุทธิจะเติบโตมากๆ อย่างน้อยต้องขยายตัว 20-30% ต่อปี นั่นแปลว่าบริษทนั้นมีสตอรี่ที่ดีมารองรับแล้ว"
- ผมจะวิเคราะห์ "มูลค่าหุ้นที่ควรจะเป็ นภายใน 1 ปีข้างหน้า" นำมาเปรียบเทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อขายในปัจจุบัน ถ้าหุ้นตัวนั้นมีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย (margin of safety) ยิ่งมาก..ยิ่งชอบ
- เน้นดูค่า P/E ควรต่ำเข้าไว้ แต่ถ้าคุณภาพดี ก็ไม่ต้องต่ำมากก็ได้ ปกติหากบริษัทนั้นมีคุณภาพที่ดี "ผมจะเพิ่มพรีเมียม..ให้ค่าเฉลี่ย P/E ขึ้ นไปอีก 1 เท่า" แต่ก็ไม่ได้ใช้หลักการนี้ ตายตัว ถ้าคุณภาพ "ดีปานกลาง" จะเพิ่มพรีเมียมค่าเฉลี่ย P/E อีกเพียง 0.5 เท่า จากค่าเฉลี่ยปกติ
- อัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ธุรกิจทั่วไปไม่ควรเกิน 1 เท่าไม่เช่นนั้นจะเริ่มเสี่ยง แต่บางธุรกิจมีข้อยกเว้น เช่น กลุ่มธนาคาร และกลุ่มลิสซิ่ง เป็นต้น
- ดูวงจรกระแสเงินสด บริษัทไหนมีเงินนอนอยู่ในบริษัทมากๆ ถือว่าน่าสนใจ
- เลือกหุ้นที่ปลอดภัยพวก Defensive Stock มีปันผลระดับหนึ่ง เวลาลงอาจจะไม่ลงมาก
- ผู้บริหารซื้อหุ้นจำนวนมาก


ไม่ควรมองข้ามวอร์แรนต์
- วอร์แรนต์ที่นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงเพราะมีความเสี่ยงสูง ทั้งที่ในความเป็นจริงวอร์แรนต์เหล่านี้ ในอนาคตก็คือหุ้นสามัญนั่นเองดังนั้นเราควรใช้บรรทัดฐานในการประเมินมูลค่าวอร์แรนต์ในทำนองเดียวกับที่เราประเมินมูลค่าหุ้น หากมูลค่าวอร์แรนต์ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในวอร์แรนต์ และที่จริงการลงทุนในวอร์แรนต์ โดยปกติจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นสามัญ เพราะคุณสมบัติจากอัตราทวีผลหรือ Gearing นั่นเอง นักลงทุนที่แสวงหากำไรสูงๆ ไม่ควรมองข้ามการลงทุนในวอร์แรนต์ครับ


ตัวเร่งที่รุนแรง
- มองหาปัจจัยที่จะเร่งให้กำไรของกิจการเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งจะหมายถึงราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นมากด้วย ตัวเร่งในที่นี้ อาจจะเป็นอะไรก็ตาม ที่จะทำให้กำไรของกิจการเพิ่มขึ้นทั้งโดยตัวพื้นฐาน
เช่น การขยาย ปรับปรุงกำลังการผลิต การขยายตลาด รวมถึงการเจริญเติบโตปกติของกิจการ การกลับตัวของดีมาน-ซัพพลายของอุตสาหกรรม การซื้อกิจการ การเพิ่มปันผล กำไรพิเศษ นอกจากนั้นยังอาจเป็นตัวเร่งทางปัจจัยจิตวิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหาร การแตกหุ้น
การแจกวอร์แรนต์


หุ้นเติบโต
- ราคาหุ้นขึ้นอยู่กับกำไรที่กิจการทำได้ ถ้ากำไรเพิ่ม ราคาหุ้นก็เพิ่มคนที่ถือไว้ก็ได้กำไร นักลงทุนทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จทั้งในอดีตและปัจจุบัน จะมีหุ้นเติบโตสูงอยู่ในพอร์ต


ซื้อที่มูลค่า
- หาหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าประมาณ 30% ขึ้นไป สมมติว่าหุ้นมีมูลค่าประมาณ 10 บาท ถ้าราคา 7 บาท
เราซื้อได้ ถ้า 5 บาท ยิ่งต้องซื้อ แต่ถ้าเจอหุ้นราคา 3 บาท เราอาจจะใส่เต็มที่เลย
ยังไงก็ควรจะมี "อัพไซด์" ประมาณ 30% ขึ้นไป ถ้าหุ้น มีอัพไซด์ 20% หรือต่ำกว่านั้นคิดว่าเป็นการลงทุนที่"ไม่คุ้ม กับความเสี่ยง"
- ข้อสังเกตุของผมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ มักเป็นหุ้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หุ้นเหล่านี้ แม้มีความเสี่ยงทางธุรกิจบ้าง แต่การเพิ่มยอดขายหรือผลกำไรจะทำใด้เร็วกว่าหุ้นมั่นคงขนาดใหญ่มาก ธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มขึ้ น ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นหุ้นเหล่านี้ไม่ค่อยมีนักวิเคราะห์คอยติดตาม ทำให้โอกาสที่จะเจอหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นมีสูง

หลักในการเลือก
Mcap < 3,000 ล้าน
ดูอดีต: PE ต่ำกว่าตลาด (ราคาต้องถูก)
ดูอนาคต : ต้องมีการเติบโต งบการเงินมีความมั่นคง  D/E ไม่ควรเกิน 1-1.5 เท่า (ไม่อยากเพิ่มทุน) เพื่อสนับสนุนการเติบโตของกำไร
มีความสามารถในการแข่งขัน อยู่ในอุตสาหกรรมขาขึ้น มีส่วนแบ่งตลาด โดดเด่นกว่าคู่แข่ง
กำไรของธุรกิจต้องเติบโต เช่นถ้าออกข่าวว่า EPS จะโตมากกว่า 15% ต่อปี
ผู้บริหารมีวิชั่น ตั้งใจทำธุรกิจ
ราคาที่เหมาะสม มูลค่าธุรกิจ ดูประเภทธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขัน ผู้บริหาร แบบนี้ ราคาควรเป็นเท่าไหร่


ซื้อเมื่อไหร่?
- ทุกๆ วันจะมองหาหุ้นที่จะซื้อตลอดเวลา มองหุ้นบางตัวอยู่แต่ราคาอาจแพงไปนิด แถมโอกาสชนะมีแค่ 50% ถ้าเป็นแบบนั้น "จะยังไม่ซื้อ" เพราะโอกาสชนะแค่ 50% เหมือนเรา "เล่นการพนัน" จะซื้อก็ต่อเมื่อโอกาสชนะต้องมากถึง 80-90% เท่านั้น
- เมื่อจอยอดหุ้นที่ upside สูงมาก ให้รีบซื้อให้เยอะที่สุด แต่กระนั้นก็ไม่ควรเกิน 40%


ซื้ออย่างไร?
- “ถ้าผมเจอหุ้นที่มีคุณสมบัติอย่างที่ชอบ ผมจะเคาะขวา (ซื้อฝั่ง Offer) เลย เพราะกลัวมีคนมาแย่ง ไม่ต้องตั้งรอ ซื้อแพงหน่อยไม่เป็นไร แต่ถ้าตัวไหนดูแล้วอัพไซด์ไม่มาก..ก็รอหน่อย! ส่วนใหญ่จะซื้อทีเดียวเลย ถ้าลงมาก็จะซื้อเพิ่มอีก ตัวไหนดีมากจะซื้อไม่เกิน 30% ของพอร์ต ปกติจะมีหุ้นตัวหลักในใจ 6-7 ตัว”


ถือนานมั้ย?
- ที่ผ่านๆมา ถือไม่เคยเกิน 3 ปีเลย ส่วนใหญ่ เกือบๆปี


ขายเมื่อไหร่?
- ตัวไหนมี Margin of Safety น้อยก็ขายไป เน้นตัวที่มีเงินปันผลรองรับ ธุรกิจไม่ผันผวนมาก
- ขายเมื่อเกินมูลค่าที่ควรจะเป็น ขายเมื่อคิดผิด ขายเมื่อเจอตัวอื่นที่ดีกว่า


ข้อคิดสำหรับรุ่นน้องๆ
- อยากให้นักลงทุนที่ยังไม่ถึงเป้าหมาย ศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด อย่าไปคิดว่าซื้ อแล้วหุ้นต้องขึ้นทันที ให้คิดว่าเรา "ซื้อธุรกิจ" ถ้าใครไม่พร้อมก็ให้ไปซื้อกองทุนรวมแทนก็ได้ ปัจจุบันมีหลายกองทุนสร้างผลตอบแทนได้ค่อนข้างดี
- หากเราพอร์ตเล็กเท่าไหร่ เราก็ควรจะทำการบ้าน ศึกษาหาข้อมูลหุ้นให้มากขึ้นเท่านั้น มีเพียงสิ่งนี้สิ่งเดียวที่เราควบคุมได้โดยตรง ทำให้ทุกเวลา ทุกนาทีโดยไม่ขึ้นนอยู่กับคนอื่น หากเราไม่มีความรู้ที่จะหาหุ้น ไม่มีความรู้ด้านบัญชี ด้านการเงิน วิธีทีดีที่สุด ก็คือต้องไปเรียน หาหนังสือมาอ่าน
- มาร์จิ้น ด้านดีก็มี แต่ผลเสียมหาศาล คนใช้มาร์จิ้นอาจจะมองโลกแง่ดีเกินไป แต่ควรระวังคำว่า "ดวงแตก" ไว้ด้วย


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)