3 Chart Patterns น่าเชื่อถือ และหาจุดซื้อที่ถูกต้อง

Image
บทเรียนที่ 3: วิธีอ่านกราฟอย่างมืออาชีพ  และหาจุดซื้อที่ถูกต้อง รูปแบบกราฟ (Chart Patterns) คู่มือในการค้นหาหุ้นเด่นของวันพรุ่งนี้ ในตลาดหุ้น สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ: ปีแล้วปีเล่า หุ้นที่ชนะตลาดมักจะสร้างรูปแบบกราฟบางอย่างก่อนที่ราคาจะพุ่งแรง และการสังเกตรูปแบบเหล่านี้ง่ายกว่าที่คุณคิด เริ่มจากการเรียนรู้ 3 รูปแบบกราฟที่พบได้บ่อยและสร้างกำไรได้ดีที่สุด: สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 Cup With Handle (ถ้วยมีหูจับ) - การจับโอกาสทำกำไรใหญ่ เริ่มจากการรู้จักรูปแบบ “ถ้วยมีหูจับ” ซึ่งมีลักษณะเหมือนถ้วยชาเอียงเล็กน้อย โดยหูจับจะอยู่ด้านขวาของกราฟ - หุ้นที่มีแนวโน้มขึ้นแรงมักจะสร้างรูปแบบนี้ก่อนเริ่มการพุ่งขึ้นรอบใหม่ - จุดซื้อ (Buy point) มักเกิดเมื่อราคาทะลุขึ้นจากหูจับ พร้อมปริมาณการซื้อขาย (volume) ที่สูงขึ้น --- Double Bottom (รูปตัว W) - รูปแบบ Double Bottom คล้ายกับตัว “W” กลับหัว โดยจุดต่ำสุดรอบที่สอ...

เคล็ดลึกแก้ไข คนที่ชอบเปลี่ยนกำไร กลายเป็นขาดทุน ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ

เคล็ดลึก Let’s profit run: ทนรวยอย่างไร? ถือสั้น-ยาวแค่ไหน? ให้ได้กำไรคุ้มที่สุด https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM2NDk4MTt9


ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

“ไม่มีกำไรไหนเจ็บเท่ากับกำไรที่ ‘เคยได้’ แล้วปล่อยให้หลุดมือไป…”

เทรดได้กำไร…แต่สุดท้ายกลับมาที่ Break Even


มันเกิดขึ้นได้กับทุกคน:

คุณถือหุ้นตัวหนึ่ง พอร์ตขึ้นมาสวย +4R

คุณยังไม่ขาย เพราะหวังว่ามันจะ “รันได้อีก”

หุ้นเริ่มพักตัว → ยังไม่เป็นไร

หุ้นหลุดแนวรับ → ยังกลัวขายเร็วไป

หุ้นกลับมาที่จุดเข้า → ไม่อยากขายแล้ว (อารมณ์มาแทนแผน)

สุดท้าย หลุดเข้าเขตขาดทุน...ทั้งที่เคยได้กำไรเยอะมาก


คำถามคือ…เกิดอะไรขึ้น?

คำตอบคือ…คุณไม่มี “แผนปกป้องกำไร”

 ไม่มีอะไรเจ็บกว่า “เปลี่ยนกำไรเป็นขาดทุน”

การเทรดแล้วขาดทุนตั้งแต่ต้น…จิตใจยังรับได้

เพราะคุณรู้ว่ามันคือ “ความเสี่ยง” ที่วางไว้แล้ว


แต่การ “ได้กำไรแล้วปล่อยให้หาย” มันบั่นทอนความมั่นใจ

รู้สึกผิด

รู้สึกว่า “ไม่น่าเลย”

รู้สึกว่าทำไมไม่ขาย

รู้สึกว่าเรา “ไม่เอาไหน”

และเมื่อคุณเริ่มสงสัยในตัวเอง…เกมก็เริ่มจบลงทีละนิด


การป้องกันกำไร คือหัวใจของ Position Management

การจะถือยาวไม่ใช่แค่ “ไม่ขาย”

แต่ต้องมีแผน “ดูแลกำไร” อย่างมีกลยุทธ์


ตัวอย่างแนวทางที่ใช้ได้จริง:

✅ ขายบางส่วน เมื่อราคาวิ่งถึงจุดที่วางไว้ (เช่น 1.5–2R)

→ เพื่อ “จ่ายเงินให้ตัวเอง” และลดแรงกดดันทางจิตใจ

✅ ยก Stop Loss ขึ้นมาเป็น Break Even

→ เพื่อกันความเสี่ยงจากการกลับตัวรุนแรง

✅ ใช้ Moving Average เช่น เส้น 20 วันเป็นแนว Soft Stop

→ ปิดไม้บางส่วน ถ้าหลุดลงแรงหลายวันติด

✅ ยอมรับว่า...คุณไม่มีทางขายได้ที่ยอดดอยเสมอไป

→ เป้าหมายของคุณคือ “ได้กำไรสม่ำเสมอ ไม่ใช่ขายได้แพงที่สุด”


เปลี่ยนมุมมอง = เปลี่ยนผลลัพธ์

จาก “จะถือไปเรื่อย ๆ เผื่อวิ่งไกล”

→ มาเป็น “จะถือให้ไกลที่สุด ที่ไม่ทำลายกำไรที่ได้มาแล้ว”

จาก “ยังไม่อยากขาย เพราะยังไม่พีค”

→ มาเป็น “ถึงพีคหรือไม่ ฉันมีแผนว่าจะขายเมื่อไหร่”


การมี “กรอบคิดที่ป้องกันกำไร” จะทำให้คุณเทรดได้แบบ

✅ ไม่เครียด

✅ ไม่เสียดาย

✅ ไม่หมดความมั่นใจ



7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ