3 Chart Patterns น่าเชื่อถือ และหาจุดซื้อที่ถูกต้อง

Image
บทเรียนที่ 3: วิธีอ่านกราฟอย่างมืออาชีพ  และหาจุดซื้อที่ถูกต้อง รูปแบบกราฟ (Chart Patterns) คู่มือในการค้นหาหุ้นเด่นของวันพรุ่งนี้ ในตลาดหุ้น สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ: ปีแล้วปีเล่า หุ้นที่ชนะตลาดมักจะสร้างรูปแบบกราฟบางอย่างก่อนที่ราคาจะพุ่งแรง และการสังเกตรูปแบบเหล่านี้ง่ายกว่าที่คุณคิด เริ่มจากการเรียนรู้ 3 รูปแบบกราฟที่พบได้บ่อยและสร้างกำไรได้ดีที่สุด: สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 Cup With Handle (ถ้วยมีหูจับ) - การจับโอกาสทำกำไรใหญ่ เริ่มจากการรู้จักรูปแบบ “ถ้วยมีหูจับ” ซึ่งมีลักษณะเหมือนถ้วยชาเอียงเล็กน้อย โดยหูจับจะอยู่ด้านขวาของกราฟ - หุ้นที่มีแนวโน้มขึ้นแรงมักจะสร้างรูปแบบนี้ก่อนเริ่มการพุ่งขึ้นรอบใหม่ - จุดซื้อ (Buy point) มักเกิดเมื่อราคาทะลุขึ้นจากหูจับ พร้อมปริมาณการซื้อขาย (volume) ที่สูงขึ้น --- Double Bottom (รูปตัว W) - รูปแบบ Double Bottom คล้ายกับตัว “W” กลับหัว โดยจุดต่ำสุดรอบที่สอ...

40 หลักไมล์ของเส้นทางนักเทรด จากนักเทรดมือใหม่สู่นักเทรดที่ร่ำรวย



40 หลักไมล์ของเส้นทางนักเทรด จากนักเทรดมือใหม่สู่นักเทรดที่ร่ำรวย
เรียบเรียงจาก 40 steps in the trader’s journey from new trader to rich trader. โดย Steve Burns

1. เรารวบรวมข้อมูล เราเรียนรู้ - ซื้อหนังสือ ถามคำถาม อาจจะไปสัมมนาและค้นคว้าว่าอะไรได้ผลจริงในการซื้อขาย

2. เราเริ่มซื้อขายด้วยความรู้ใหม่ที่เราค้นพบ

3. เราทำกำไรได้ แต่ก็คืนมันกลับอย่างรวดเร็ว และตระหนักว่าเราอาจต้องการความรู้หรือข้อมูลเพิ่มเติม

4. เรารวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม

5. เราเปลี่ยนตัวหุ้นที่เรากำลังติดตามและซื้อขายอยู่

6. เรากลับเข้าสู่ตลาดและทำการซื้อขายด้วยระบบที่ปรับปรุงใหม่ของเรา คาดหวังว่าครั้งนี้มันจะได้ผล

7. เรากลับเสียเงินมากขึ้น และเริ่มสูญเสียความมั่นใจว่าเราคงไม่อาจเป็นนักนักเทรดที่ดีได้ เราเข็ดต่อการขาดทุนแล้ว

8. เราเริ่มฟังนักเทรดคนอื่นและแนวทางที่เหมาะกับพวกเขา เราจำและเตรียมเอาไปใช้ตาม

9. เรากลับเข้าสู่ตลาดด้วยการเทรดตามแนวทางคนอื่น แต่ยังคงสูญเสียเงินมากขึ้น

10. เราตัดสินใจจะเปลี่ยนสไตล์ และวิธีการโดยสิ้นเชิง

11. เราตั้งหน้าตั้งตาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมอีก

12. เรากลับเข้าสู่ตลาด และเริ่มเห็นพัฒนาการเล็กน้อย

13. เรารู้สึก 'มั่นใจมากเกินไป' ในการซื้อขายครั้งเดียวและลงเงินก้อนโตเกินไปโดยเชื่อว่ามันชัวร์ แต่แล้วตลาดก็ทำลายเงินของเราอย่างรวดเร็ว

14. เราเริ่มเข้าใจว่าการซื้อขายที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องใช้เวลาและความรู้มากกว่าที่เราคาดไว้ คนส่วนใหญ่จะยอมแพ้ ณ จุดนี้ เนื่องจากพวกเขาตระหนักว่างานนี้ต้องตั้งใจจริงเท่านั้น และที่สำคัญก็คือกำไรไม่ได้มาง่ายๆเลย

15. เราจริงจังและเริ่มจดจ่อกับการเรียนรู้ "กระบวนการเทรดที่ตั้งอยู่บนความคาดหวังที่สมจริง"

16. เราเทรดตามวิธีการของเราและได้กำไรมาบ้าง แต่ก็ยังตระหนักว่ามีจิ๊กซอว์บางอย่างที่ขาดหายไป

17. เราเริ่มเข้าใจถึงความจำเป็นในการมีกฎการเทรดสำหรับวิธีการของเรา

18. เราใช้วันหยุดเพื่อพัฒนาและศึกษากฎการเทรดของเราให้รัดกุมขึ้น

19. เราเริ่มเทรดอีกครั้ง คราวนี้ด้วยกฎที่รัดกุม ช่วยให้ได้กำไรมากขึ้น แต่โดยรวมแล้ว เรายังคงลังเลเมื่อต้องลงมือ

20. เราเพิ่ม ลด และแก้ไขกฎ เนื่องจากเราเห็นว่าจำเป็นต้องเชี่ยวชาญกฎของเรามากขึ้น

21. เรารู้สึกว่าเราใกล้จะผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของการเทรดที่ประสบความสำเร็จแล้ว

22. เราเริ่มรับผิดชอบต่อผลการซื้อขายของเรา เนื่องจากเราเข้าใจว่าความสำเร็จของเราขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการดำเนินการตามวิธีการของเรา

23. เรายังคงซื้อขายและมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นด้วยวิธีการและกฎเกณฑ์ของเรา

24. ในขณะที่เราเทรด เรายังคงมีแนวโน้มที่จะละเมิดกฎของเรา และผลลัพธ์ของเรายังคงเอาแน่เอานอนไม่ได้

25. เรารู้สึกว่าเราเข้าไกล้ความสำเร็จมากขึ้น

26. เรากลับไปศึกษากฎของเราอีกครั้ง

27. เราสร้างความมั่นใจในกฎของเราและกลับเข้าสู่ตลาดและทำการเทรด

28. ผลการซื้อขายของเราดีขึ้น แต่เรายังคงลังเลที่จะปฏิบัติตามกฎของเรา

29. ตอนนี้เราเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎของเรา เมื่อเห็นผลลัพธ์ของการเทรดเมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎ

30. เราเริ่มเห็นว่าความล้มเหลวมาจากตัวเราเอง (การขาดวินัยในการปฏิบัติตามกฎเพราะความกลัวบางอย่าง) และเราเริ่มทำงานหนักเพื่อรู้จักตนเองดีขึ้น ด้วยการเรียนรู้จิตวิทยาการเทรด

31. เรายังคงเทรด และตลาดสอนเราเกี่ยวกับตัวเรามากขึ้นเรื่อย ๆ

32. เราเชี่ยวชาญวิธีการและกฎการซื้อขายของเรา

33. เราเริ่มทำเงินได้อย่างสม่ำเสมอ

34. เรามีความมั่นใจมากเกินไป และตลาดก็ทำให้เราขาดทุนหนักอีกครั้ง

35. เรายังคงเรียนรู้บทเรียนของเราต่อไป

36. เราเรียนรู้ที่จะลดขนาดการเทรดให้เล็กลงเพื่อลดดีกรีอารมณ์ของเราลง ดังนั้นเราจึงเทรดน้อยลงและสิ่งนี้ทำให้เราได้ผลงานดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจด้วยวินัยของเรา

37. เราเรียนรู้ว่าการจัดการความเสี่ยงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการชนะในฐานะนักเทรด เราเริ่มเข้าใจว่าการขาดทุนครั้งใหญ่จะทำให้เราต้องเสียเวลา/ยากลำบากในการทำกำไรคืน ดังนั้นเราจึงเทรดด้วยขนาดที่เล็กลงและสม่ำเสมอ

38. เราหยุดเทรดตามความเห็น และเทรดตามแผนและกฎของเราเท่านั้น (ตอนนี้เราพบว่าการเทรดกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่กลับได้กำไรสม่ำเสมอ) และพอร์ตของเรายังคงเติบโตเมื่อเราเพิ่มขนาดเงินลงทุนเมื่อเราคิดถูกเท่านั้น

39. เราทำเงินได้มากกว่าที่เราเคยฝันไว้

40. ชีวิตการเทรดของเรายังดำเนินต่อไปและบรรลุเป้าหมายมากมายที่เราใฝ่ฝันมาตลอด เงินกลายเป็นเครื่องมือใหม่ที่ช่วยให้เราทำในสิ่งที่เราต้องการมาตลอด






7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ