3 Chart Patterns น่าเชื่อถือ และหาจุดซื้อที่ถูกต้อง

Image
บทเรียนที่ 3: วิธีอ่านกราฟอย่างมืออาชีพ  และหาจุดซื้อที่ถูกต้อง รูปแบบกราฟ (Chart Patterns) คู่มือในการค้นหาหุ้นเด่นของวันพรุ่งนี้ ในตลาดหุ้น สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ: ปีแล้วปีเล่า หุ้นที่ชนะตลาดมักจะสร้างรูปแบบกราฟบางอย่างก่อนที่ราคาจะพุ่งแรง และการสังเกตรูปแบบเหล่านี้ง่ายกว่าที่คุณคิด เริ่มจากการเรียนรู้ 3 รูปแบบกราฟที่พบได้บ่อยและสร้างกำไรได้ดีที่สุด: สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 Cup With Handle (ถ้วยมีหูจับ) - การจับโอกาสทำกำไรใหญ่ เริ่มจากการรู้จักรูปแบบ “ถ้วยมีหูจับ” ซึ่งมีลักษณะเหมือนถ้วยชาเอียงเล็กน้อย โดยหูจับจะอยู่ด้านขวาของกราฟ - หุ้นที่มีแนวโน้มขึ้นแรงมักจะสร้างรูปแบบนี้ก่อนเริ่มการพุ่งขึ้นรอบใหม่ - จุดซื้อ (Buy point) มักเกิดเมื่อราคาทะลุขึ้นจากหูจับ พร้อมปริมาณการซื้อขาย (volume) ที่สูงขึ้น --- Double Bottom (รูปตัว W) - รูปแบบ Double Bottom คล้ายกับตัว “W” กลับหัว โดยจุดต่ำสุดรอบที่สอ...

งานของนักเทรด : เฝ้าติดตาม และตัดขาดทุน

 การเฝ้าติดตาม และตัดขาดทุน

เมื่อเข้าซื้อได้แล้ว งานของเรายังไม่จบนะครับ

ต้องเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นตัวนั้นต่อ ตรงนี้แหละที่เป็นเหตุผลว่าทำไมท่านต้องมีจำนวนหุ้นในการดูแลและติดตาม "ไม่เยอะเกินไป" 3-5 ตัวกำลังพอดี ถ้าเกิน 10 ตัว ผมว่ามากไป


ทำไมต้องติดตาม?

เพราะเราไม่มีทางแม่นได้ทุกตัว บางคน ใน 10 ตัว มีพลาดถึง 5 หรือมากกว่านั้น

ตลาดหุ้นมีหน้าที่ทำให้นักเทรดขาดทุน 


การขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด และการทำธุรกิจก็เช่นกัน มันคือต้นทุน ที่ท่านต้องยอมรับ 

การขาดทุนจะไม่เป็นอันตรายสำหรับนักเทรดตราบใดที่คุณบริหารมันไม่ให้เสียหายมากเกินไป 3% - 10% คือลิมิตที่ถือว่าไม่ทำร้ายนักเทรด (แต่ต้องสัมพันธ์กับจำนวนเงินที่คุณยอมเสียได้ ที่คุณวางแผนในช่วง setup แล้วนะครับ ถ้าบริหารเงินเข้าซื้อที่ดี เป็นไปตามระบบ การตัดขาดทุนในระดับนี้จะไม่มีทางทำร้ายพอร์ตของคุณได้เลย)


ปัญหาในช่วงนี้ ใหญ่มาก มีผลกระทบมาก

เพราะนักเทรดส่วนใหญ่ ไม่สามารถทำตามระบบ หรือกฎการตัดขาดทุนได้ แม้จะวางแผน ให้สัญญากับตัวเองไว้แล้วก็ตาม


ตอนวางแผนนั้น เรายังไม่ได้เจอของจริงไง จึงพูดหรือเขียน ระบุล่วงหน้ายังไงก็ได้

แต่พอเจอของจริงเข้า เกินครึ่ง "แผนแตก" กันทั่ว

เพราะในตัวมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า "ความกลัวการสูญเสีย หรือ Loss Aversion" เราทำใจยากมากที่จะขายตัดขาดทุน เพราะความคาดหวัง ว่าอยากเป็นผู้ชนะ อยากได้กำไร ไม่อยากขาดทุนอีก ฯลฯ ส่งผลให้เกิดการบิดพลิ้ว เลี่ยงกฎ ขอต่อราคา เปลี่ยนโหมดไปเป็นภาวนาให้ราคากลับมาเท่าทุนก่อน


ตรงนี้แหละที่อารมณ์เข้ามามีส่วนร่วมอีกครั้ง

เมื่อไม่ยอมขายตัดขาดทุน ความเสียหายยิ่งใหญ่โต


วิธีแก้ ก็ต้องกลับไปปรับความเชื่อใหม่ อาทิ

- การขาดทุน เป็นต้นทุนของการทำธุรกิจ

- การขาดทุน เป็นส่วนหนึ่งของการเทรด

- เราควบคุมการเคลื่อนไหวของราคาไม่ได้ 

- เราไม่สามารถควบคุมผลลัพธ์การเทรดได้

- ตลาดมีหน้าที่ทำให้นักเทรดขาดทุน

- การขาดทุนจะไม่ทำร้ายเราได้ถ้าตัดตอนไว

- ตัดขาดทุนไว เสียหายน้อย เอาคืนง่าย

- หน้าที่อันดับแรกของนักเทรด คือรักษาเงินทุน

ฯลฯ ท่านต้องติดตั้งความเชื่อนี้ให้กับตัวเองให้ได้

ถ้ามีความเชื่อนี้ ท่านตัดขาดทุนได้ง่ายขึ้นแน่



แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์ 

ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo


***********


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ