3 Chart Patterns น่าเชื่อถือ และหาจุดซื้อที่ถูกต้อง

Image
บทเรียนที่ 3: วิธีอ่านกราฟอย่างมืออาชีพ  และหาจุดซื้อที่ถูกต้อง รูปแบบกราฟ (Chart Patterns) คู่มือในการค้นหาหุ้นเด่นของวันพรุ่งนี้ ในตลาดหุ้น สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ: ปีแล้วปีเล่า หุ้นที่ชนะตลาดมักจะสร้างรูปแบบกราฟบางอย่างก่อนที่ราคาจะพุ่งแรง และการสังเกตรูปแบบเหล่านี้ง่ายกว่าที่คุณคิด เริ่มจากการเรียนรู้ 3 รูปแบบกราฟที่พบได้บ่อยและสร้างกำไรได้ดีที่สุด: สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 Cup With Handle (ถ้วยมีหูจับ) - การจับโอกาสทำกำไรใหญ่ เริ่มจากการรู้จักรูปแบบ “ถ้วยมีหูจับ” ซึ่งมีลักษณะเหมือนถ้วยชาเอียงเล็กน้อย โดยหูจับจะอยู่ด้านขวาของกราฟ - หุ้นที่มีแนวโน้มขึ้นแรงมักจะสร้างรูปแบบนี้ก่อนเริ่มการพุ่งขึ้นรอบใหม่ - จุดซื้อ (Buy point) มักเกิดเมื่อราคาทะลุขึ้นจากหูจับ พร้อมปริมาณการซื้อขาย (volume) ที่สูงขึ้น --- Double Bottom (รูปตัว W) - รูปแบบ Double Bottom คล้ายกับตัว “W” กลับหัว โดยจุดต่ำสุดรอบที่สอ...

รูปแบบพฤติกรรมที่ทำร้ายนักเทรด และทางแก้ (Behavioral Patterns That Sabotage Traders)


แปลมาจากบทความชื่อ Behavioral Patterns That Sabotage Traders โดย  Brett N. Steenbarger, Ph.D.
ผมชอบประเด็นที่เขายกเรื่องของความกดดันระหว่างเทรด ว่ามันมีสาเหตุมาจากอะไร
และยังแนะวิธีแก้ให้ด้วย ซึ่งน่าสนใจไม่น้อย

เขาให้เราลองนึกถึงสถานการณ์เหล่านี้

- นักเรียนที่ต้องการสอบไฟนอลให้ผ่านวิชา anatomy มากๆ
เพื่อที่จะให้ตัวเองไม่โดนปรับตกชั้นปีที่หนึ่ง เพื่องจากผลสอบครั้งแรกของเขาคาบลูกคาบดอกระหว่างผ่านกับตก
ดังนั้นในตอนที่สอบ เขารู้สึกว่าตัวเองกังวลเกี่ยวกับผลการสอบมาก ส่งผลให้เกิดความระแวงและมักจะคิดเยอะเกินปกติในการตอบคำถามแต่ละข้อ

- เด็กสาวที่กลัวการพูดต่อหน้าสาธารธณะมาก
แต่ด้วยความที่เธอจำเป็นต้องออกไปพูดเพื่อให้ได้งาน
มันเป็นสถานการณ์ที่ชี้เป็นชี้ตายระหว่างได้งานกับไม่ได้งาน
ระหว่างการพูดนั้น เธอดันไปรู้สึกว่าคนที่เธออยากให้ชอบ กลับทำตัวไม่สนใจเลย
ความกังวลจึงพุ่งขึ้นสูง เธอรู้สึกหมดกำลังใจในการนำเสนอ มันจึงเป็นไปด้วยความลังเล

- นักเทรดที่มีผลงานการเทรดที่ชนะต่อเนื่องกัน รู้สึกมั่นใจมาก
จึงเพิ่มเงินเข้าเทรดให้มากขึ้น เพราะคิดว่ามือกำลังขึ้น ตอนแรกราคาก็วิ่งทำกำไรให้ แต่จากนั้นมันเริ่มกลับตัวและวิ่งสวนทาง ทำให้เริ่มขาดทุน และมากขึ้น จนในที่สุดก็ตัดสินใจขาย โดยความเสียหายมากกว่าที่ได้กำไรจากการเทรดชนะมาทั้งหมดก่อนหน้านี้
ด้วยความอยากเอาคืน จึงกลับไปเทรดอีก และก็แพ้อีก จิตตกสิ
ครั้งต่อไป เขาเริ่มเทรดด้วยจำนวนเงินที่ลดลง และลังเล

เหตุการณ์ตัวอย่างทั้งหมดนั้น เป็นลักษณะของการแบ่งโฟกัสแยกเป็นสอง
คือกังวลเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติมากไป โดยที่ไม่ได้คิดถึงปัจจุบันว่าควรทำให้ดีที่สุดไว้ก่อน แทนที่จะได้ผลงานดีก็กลายเป็นไม่ได้ดีดั่งใจอยาก


ในทางการเทรดก็มักจะเกิดเหตุการณ์เหล่านี้บ่อย คือพวกเรามักจะเครียดกับประสิทธิภาพของตัวเอง ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองตกอยู่ในความยากลำบากก็ให้ลองทำแบบนี้

๑) โฟกัสไปที่กระบวนการเทรดเท่านั้น อย่าเพิ่งไปสนใจกับผลกำไรและขาดทุน
นักเทรดส่วนใหญ่มักตั้งเป้าหมายเป็นเปอร์เซ็นต์กำไร คือเน้นการทำเงิน ซึ่งมันไม่ดี เพราะเป็นการสร้างความกดดันต่อตัวเองเกินความจำเป็น
โดยแนวทางที่มีประโยชน์มากกว่าคือการโฟกัสไปที่การทำตามขั้นตอนการเทรดให้สมบูรณ์ที่สุดจะดีกว่า โดยเฉพาะการตัดขาดทุน, การทนรวยตามสไตล์ ให้คิดแบบนี้เสมอว่า "ถ้าฉันทำการเทรดตามระบบ ยังไงก็ต้องมีกำไร" การคิดแบบนี้จะช่วยลดความกดดันได้มหาศาลเลยครับ


๒) อย่าปล่อยให้ความเสี่ยงเพิ่มสูง
ยิ่งเสี่ยงมาก ยิ่งเครียด ยิ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพให้ด้อยลง เพราะมันสร้างแรงกดดันมหาศาล
ไม่ว่าจะเป็นการเทรด หรือการแข่งขัน ยิ่งเสี่ยงมากยิ่งไม่ดี
ดังนั้นถ้าคุณรู้ตัวว่าการเทรดของตนเองเสี่ยงมากเกินไป ต้องลดลงจนกว่าคุณจะรู้สึกผ่อนคลาย


๓) ถอนตัวออกจากหน้าจอ
การทะเลาะกับตัวเองขณะเทรดนั้น มักจะไม่เป็นผลดีต่อประสิทธิ ภาพของการเทรดโดยรวม เพราะมันจะไปขัดขวางการประมวลผลที่เป็นกลาง
ถ้าพบว่าตัวเองกำลังบ้าบอ เถียงตัวเอง หงุดหงิดกับตลาด เพราะต้องการผลการเทรดที่ยอดเยี่ยมในเวลาเร่งด่วน ให้ลุกจากเก้าอี้ ออกไปห่างหน้าจอ การออกห่างจอทำให้เราได้ยืดเส้นยืดสาย สามารถปรับอารมณ์คุณให้กลับมามีสมดุลมากขึ้น



๔) ฝึกซ้อมในใจ เพื่อให้เคยชินกับสถานการณ์ที่น่ากลัว
ให้ท่านนึกภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้นเอาไว้ในหัว แล้วจินตนาการต่อว่าจะต้องแก้ไขยังไง
ท่านเชื่อมั้ยว่าวิธีการนี้มันเวิร์คมาก เพราะการคิดไว้ก่อนและหาวิธีแก้ไว้ก่อน มันสามารถช่วยลดความเครียดได้เยอะ เพราะอย่างน้อยเรารู้วิธีการรับมือและเตรียมไว้แล้ว


๕) ฝึกสมาธิ
ในระหว่างการเทรด คุณต้องเจอสถานการณ์ที่ผิดไปจากที่คาดอยู่แทบจะตลอดเวลา คุณต้องไม่หลงและเครียดไปกับมัน ต้องรู้จักดึงสติให้กลับมามีสมาธิ สมองโล่งผ่อนคลาย เพื่อที่จะมองและพิจารณาการเคลื่อนไหวตลาดด้วยความเป็นกลางมากที่สุด ตีวามตามสิ่งที่เป็น ไม่ใช่เราอยากให้เป็น
คุณต้องโฟกัส ต้องมีจิตใจที่สงบเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้คุณฝึกได้

๖) ทำเช็คลิสต์สภาพจิตใจก่อนการเทรด
ขจัดความคาดหวังอยากให้ผลออกมาสมบูรณ์แบบ เพราะมันจะเป็นการสร้างความกดดันให้กับตัวเองโดยใช่เหตุ เมื่อคุณเริ่มต้นคิดว่า "ราคาควรทำตัวแบบนั้น" มันเป็นสัญญาณให้คุณต้องหยุดและถอย ยิ่งคุณเทรดขาดทุนติดต่อกันแล้วพยายามรีบเอาคืนยิ่งเป็นเวลาที่คุณต้องหยุดและถอยออกมา เพราะว่าตอนนั้นความเครียดจะเพิ่งสูงกว่าปกติ อันจะส่งผลให้คุณคิดสั้น ตัดสินใจผิดพลาดได้ง่ายกว่า ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการเทรดด้อยลงไปอีก

๗) ใช้ชีวิตบ้าง
จริงอยู่ที่เราเทรดเพื่อเลี้ยงชีพ ถ้าไม่เทรดก็ไม่รู้จะหาเงินมาขากไหน แต่ถ้าหากว่าท่านเทรดด้วยความกดดัน แทนที่จะทำเงินก็กลายเป็นว่าต้องสูญเงินมากขึ้นไปอีก
เมื่อท่านรู้สึกว่าการเทรดมันตื้อตัน ให้ออกไปทำอย่างอื่นบ้าง หางานอดิเรกทำ เอาแบบให้ลืมการเทรดไปได้ยิ่งดี เมื่อสมองของคุณเคลียร์, การกลับมาเทรดครั้งใหม่ มันจะช่วยให้การเทรดของท่านมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอนครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ