เหตุใดเราจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตของการเทรด?

Image
เหตุใดเราจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตของการเทรด?  Dr. Van K. Tharp พูดเสมอว่า “นักเทรดไม่เทรดตามที่ตลาดเป็นหรอก  แต่พวกเขาเทรดตามความเชื่อของพวกเขา”   เรื่องนี้ผมเห็นด้วยอย่างสมบูรณ์   ความเชื่อของผมมีดังนี้:  1) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีกลไกการซื้อ/ขายที่สมเหตุสมผลและช่วยให้เขาลงมือตามสัญญาณได้ทันที   2) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางที่สมเหตุสมผลในการกำหนด Position Size ของเขาอย่างเป็นระบบ ซึ่งช่วยลดความน่าจะเป็นที่จะถูกทำลาย   3) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีกลยุทธ์ที่ช่วยลด Drawdown ของ Equity Curve เพื่อทำให้เขาเครียดน้อยลง   4) ตลาดจะเปลี่ยนแปลงเสมอ มันจะขึ้น, ลง, และไซด์เวย์ 5) การลอกกลยุทธ์คนอื่นมาใช้ทั้งดุ้น มักจะไม่เวิร์ค  การสร้างกลยุทธ์หรือพัฒนากลยุทธ์ที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณคือแนวทางที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า 6) ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบในการเทรด   7) ตลาดจะทำในสิ่งที่มันอยากจะทำ - Tom Basso จากหนังสือ The All-Weather Trader

(สรุปหนังสือหุ้น) เศรษฐศาสตร์แห่งความจริง

ผมเคยได้ยินคุณพิชัยพูดถึงบ่อยๆ แต่ก็ไม่เคยเห็นเป็นเล่มเลย ผมเพิ่งซื้อเล่มพิมพ์ครั้งใหม่ล่าสุด ดูๆแล้วเนื้อหาก็คล้ายๆกับหนังสือรวยหุ้นด้วยระบบผลประโยชน์ มากๆ

ผมคาดหวังอยากได้จากเล่มนี้คือ ทำยังไงผมถึงจะไม่เป็น Mass

เพราะผมเคยได้ดูคลิปของคุณพิชัย ที่พูดถึงทฤษฎีผลประโยชน์ ก็เกิดอาการเคลิ้มว่าถ้าเราเก็งกำไรตรงข้าม Mass ได้เมื่อไหร่ เราจะรวยอย่างง่ายๆได้ทันที

นักเขียนไม่ได้มีบทที่เขียนแยกแยะอธิบายว่าชัดเจน Mass คือใคร แต่จากการสแกนอ่านไปทั้งหมดเล่มก็พอจะได้ใจความประมาณนี้ (ขอบอกก่อนว่า Mass ในตลาดเก็งกำไรกับ ในชีวิตประจำวัน ไม่เหมือนกันนะ)

1) ในตลาดเก็งกำไร Mass ผิดเสมอ และขาดทุนเสมอ เกิดมาเพื่อเป็นเหยื่อ

2) Mass เชื่อว่าสถานการณ์หรือข่าว เป็นตัวกำหนดราคาในตลาดเก็งกำไร

3) Mass จะใช้เหตุผลในการตัดสินใจเก็งกำไร โดยเอาข่าวในปัจจุบัน การเปรียบเทียบกับอดีตที่เคยเกิดขึ้น แล้วเอามประมวลผล ตีความกะเก็งสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4) Mass คือใครก็ได้ที่เก็งกำไรด้วยเหตุผลที่คล้ายๆกันเป็นจำนวนมาก ไม่จำกัดว่าจะเงินมากเงินน้อย ความรู้มากน้อย หากคิดเรื่องใดไปในทางเดียวกันหมด ก็ถือว่าเป็น Mass พวกนี้จะวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารโดยตรง ตัดสินใจซื้อขายหุ้นด้วยระบบเหตุผล เมื่อใดที่มีข่าวดี มีแต่เหตุผลดีๆ ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ดีๆ บ่งบอกว่าราคาหุ้นจะขึ้นต่อไปอีก Mass จะซื้อหุ้น

5) เมื่อใดที่มีแต่เหตุผลด้านไม่ดีที่บ่งบอกว่าราคาจะลงต่อ คนส่วนใหญ่คิดด้วยระบบเหตุผลวิเคราะห์เหตุการณ์ข่าวสารเปรียบเทียบความซ้ำความเหมือนกับอดีต สิ่งที่เคยเกิดขึ้น ก็ขาย วิธีคิดหลักใหญ่ๆของ mass ที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อขายในตลาดเก็งกำไรมีไม่กี่อย่าง คือใช้เหตุผล ข้อมูลข่าวสารวิเคราะห์ เชื่อในสิ่งที่เหฌนและมองตามสิ่งที่เกิดขึ้น และเปรียบเทียบอดีตเพื่อจะนำไปใช้ในอนาคต ดูความซ้ำความเหมือน ไม่ว่าความเหมือนของสถานการณ์ หรือในรูปแบบของกราฟ เปรียบเทียบกับตลาดเก็งกำไรอื่นๆ

6) เมื่อใดที่ราคาขึ้นจากจุดที่ Mass ขาย(จุดที่มีแต่ข่าวหรือเหตุผลที่ทำให้คิดว่าราคาจะลงไปเรื่อยๆ) ต่อมาแม้ราคาสูงขึ้นไปแล้ว แต่ยังไม่มีเหตุผลหรือข่าวใดๆที่ชัดเจนพอที่จะทำให้ Mass เข้าไปซื้อ แสดงว่าราคายังขึ้นไปไม่สุด แม้ว่าเราจะมองว่าสูงไปแล้วก็ตาม แต่คำว่าสูงก็เพียงเกิดจากการเปรียบเทียบกับอดีตของเรา แต่ปัจจุบันบริบทได้เปลี่ยนไปแล้ว ราคานั้นยังไม่สูงจริง และยังจะขึ้นต่อไปอีกจนราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ราคาที่สูงขึ้นไปจะไปกำหนดให้เกิดสถานการณ์ และเหตุผลในด้านที่จะทำให้ Mass ซื้อจนได้ จากนั้นจึงค่อยลง

7) พอ Mass ซื้อหุ้นแล้วราคามักจะลง และต้องรอนานกว่าจะขึ้น และก่อนจะขึ้นก็อาจจะขายไปเสียแล้วจากการพยายามกะเก็ง เพราะก่อนหุ้นจะขึ้นย่อมไม่มีเหตุผลใดๆที่บ่งบอกว่าหุ้นจะขึ้นแล้ว มีแต่เหตุผลว่าจะลงต่อ Mass เล่นหุ้นด้วยเหตุผล แม้ถือหุ้นพื้นฐานดีอยู่ก็มักจะขายออกมา จากการพยายามที่จะซื้อขายให้ถูกจังหวะของตลาด เพราะ Mass เห็นมามากแล้วว่า หุ้นพื้นฐานดีแค่ไหน ก็ขึ้นลงตามจังหวะของตลาด

ถ้า Mass ไม่ได้ขายหุ้นไปก่อนที่หุ้นจะขึ้น ถือไว้ได้จนหุ้นขึ้นไป ก่อนที่หุ้นจะลงอีกครั้งก็อาจไม่ได้ขายอีก เพราะก่อนหุ้นจะลงย่อมมีแต่ข่าวดี ถ้าวิเคราะห์ด้วยเหตุและผล ปัจจัยพื้นฐานแล้วย่อมยังจะดีอยู่ และมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นอีก ราคาหุ้นจะขึ้นต่อได้อีก ผลกำไรของธุรกิจจะดีขึ้นอีก อันเป็นธรรมชาติของช่วงเวลาที่เป็นจุดสูงสุด

8) Mass วิเคราะห์ จ้องมองดูราคา ที่เคลื่อนไหวแล้วซื้อขาย โดยพยายามเข้า-ออกให้ถูกจังหวะของตลาด โดยคิดว่าตัวเองทำได้ ในที่สุดก็ขาดทุน และไม่ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น


แล้วคนที่อยู่ตรงข้าม Mass ล่ะเขาคิดยังไง? ผมขอเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Smart Money นะ (
1) Smart Money จะไม่วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารโดยตรง พวกเขาจะวิเคราะห์ผู้ที่ใช้ข้อมูลข่าวสาร(Mass)ว่าตัดสินใจไปในทางใด แล้วทำตรงข้าม

2) Smart Money จะไม่ซื้อของในสถานการณ์ที่ดี พวกเขาจะซื้อในเวลาที่หลังจากคิดด้วยเหตุผลแล้วไม่ดี ไม่น่าลงทุน

3) Smart Money ใช้ช่องว่างทางความคิดของ Mass ในการคาดเดาทิศทางราคาตลาดเก็กำไร

4) Smart Money จะคอย Balance เงินของ Mass ที่เข้าไปซื้อ-ขายในตลาดเก็งกำไรไว้ในจำนวนที่เท่ากัน และราคาในตลาดเก็งกำไรให้เคลื่อนตัวไปกำหนดสถานการณ์ในทิศทางที่ Mass ขาดทุนเสมอ ซึ่งทิศทางที่ว่านั้นจะตรงข้ามกับที่ Mass คิด ทุกครั้ง

5) ถ้า Smart Money ซื้อลงทุนในตลาดเก็งกำไรในช่วงเวลาที่ Mass กำลังระดมขายกันหมด แม้ต่อมาจะมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดด้านไม่ดีใดๆเกิดขึ้นในโลก พวกเขาก็ไม่ขาดทุน

ดังนั้นถ้าอยากชนะในตลาดหุ้น ให้ติดตามและทบทวนตัวเองตลอดเวลา ให้คิดเสมอว่าเราเป็นหนึ่งในกลุ่มคนระดับล่างสุดที่ซื้อขายในตลาดเก็งกำไร ถ้าเรากำไรแล้วใครจะขาดทุน มันไม่มีแล้วเนื่องจากเราอยู่ในระดับล่างสุด ดังนั้นคิดก่อนซื้อ มองภาพรวมให้ออกว่าคนส่วนใหญ่คิดยังไง
เราต้องไม่ซื้อในขณะที่คนทั่วไปกำลังซื้อ-จังหวะนี้ต้องขาย
หากเห็นว่าคนส่วนใหญ่ขายก็เป็นเวลาซื้อของเรา


- จบ - 

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการเทรดหุ้น คุณไม่ต้องรอบรู้ไม่ต้องเก่งทุกเรื่องและทุกอย่างหรอก ทำแค่ 7 เรื่องนี้ให้ได้ก็พอ....

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ศาสตร์และศิลปะของการปั้นพอร์ต ให้เติบโตสม่ำเสมอ Art & Science of Trading