ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล

Image
ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล แล้วลองผลักน้ำจากฝั่ง ทำคลื่นดันกลับเข้าไปหาทะเล สร้างคลื่น สู้กับทะเล ลองทำดู ทั้งคลื่นลูกเล็ก และคลื่นลูกใหญ่ คุณจะพบว่า ไม่ว่าคุณจะสร้างคลื่นดันกลับไปในรูปแบบไหน คุณจะไม่มีทางชนะคลื่นจากทะเลได้เลย  ไม่มีทาง ความจริงที่คุณได้จากเรื่องนี้คือ "ตลาดจะถูกเสมอ" . Market Wizards ยอมรับตรงกันว่า "ตลาดจะทำในสิ่งที่มันอยากจะทำ" พวกเขาไม่เคยหัวเสียกับตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) พวกเขาไม่เคยโทษตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) . พวกเขาแค่ยอมรับว่าตลาดจะทำในสิ่งที่มันจะทำ พวกเขาแค่ยอมรับว่าเขาไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ จากนั้นสิ่งที่พวกเขาทำก็คือ ๑) อ่านตลาด ๒) แยกแยะความเสี่ยงกับโอกาสให้ได้ ๓) หาโอกาสทำเงินเมื่อตลาดให้โอกาส และอยู่เฉย ๆ ถือเงินสดเมื่อตลาดเป็นความเสี่ยง ๔) คิดก่อนเสมอว่า "ถ้าตลาดไม่ให้เงิน(เทรดขาดทุน) ฉันจะยอมเสียกี่บาท" การเอาตัวรอด คือเป้าหมายแรกของยอดนักเทรด เพราะคิดแบบนี้...ไม่ว่าตลาดจะร้ายแค่ไหน ยอดนักเทรดก็จะรอดเสมอ #จิตวิทยาการเทรด #ปั้นพอร์ต #วินัยนัก

วิธีหาหุ้น(ที่น่าจะ)เติบโต แบบเม่าๆ


หุ้นเติบโต เป็นหุ้นที่ Smart Money ชอบมาก เพราะความที่มีศักยภาพในการทำกำไรดี แข็งแกร่ง และโตได้ต่อเนื่อง ถือยาว(เป็นปี)ได้ถ้างบยังดูดีและโตได้อีกในอนาคต
ปล. (ตอบดักไว้ก่อน) Smart money ก็คือเหล่านักลงทุนระดับมันสมอง เงินเยอะ ข้อมูลแยะ เล่ห์เหลี่ยมจัด มีจำนวนน้อย แต่สามารถคุมเกมส์ของตลาดหรือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งได้อย่างหมดจด



เท่าที่อ่านมานะ ผมชอบไอเดีย 2 เล่ม เพราะมันมีตัวอย่างที่เห็นได้ในบ้านเรา
แต่ออกตัวก่อนนะว่าผมไม่ใช่วีไอ มุมมองทั้งหมดในโพสต์นี้มาจากมุมมองเม่าล้วนๆ คือเอาแบบมองเห็นด้วยตาเปล่าและหัวใจซื่อๆนี่แหละ เผื่อคุณจะได้เอาไปต่อยอดเสาะส่ายหาเอง

1) สไตล์พี่ Mark Minervini ถ้าใครอ่านหนังสือ เทรดแบบเซียนหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ ของพี่มาร์ค น่าจะจำ "ธุรกิจแม่พิมพ์กดคุ๊กกี้" กันได้
ถ้าใครไม่คุ้น ผมจะสรุปให้อ่านคร่าวๆดังนี้
๑) มีการขยายสาขา เยอะๆ
๒) ยอดขายต่อสาขาโตเรื่อยๆ (Same-store sales growth - SSSG)

แบบนี้บ้านเรามีพอสมควรเลย ประเภที่เปิดสาขาเนี่ย แต่ก็มีทั้งกำไรทรงๆ และโตได้เรื่อยๆ พวกกำไรทรงๆกับทรุดๆเนี่ยตัดทิ้งไปเลย กำไรไม่โต smart money ไม่ชอบ เอาที่มันโตได้เรื่อยๆ ตัวอย่างในอดีตก็จะมีพวก....

- Hyper market ประเภท BIGC, LOTUS เพราะมันตอบโจทย์ไลฟสไตล์ของ mass ไง เปิดที่ไหนคนก็เดินพลุกพล่านเหมือนแจกฟรี ยิ่งขยายสาขาเยอะก็ยิ่งมีอำนาจต่อรองซัพพลายเออร์ คือเก๋าขนาดที่เอาของมาขายก่อน จ่ายเงินทีหลังได้ ยังงั้นเลย แถมใครอยากขายในห้างเค้าก็ต้องง้อมีค่าใช้จ่ายจิปาถะ
ปล. mass ก็คือผู้บริโภคกลุ่มใหญ่มาก คิดอะไร มีไลฟสไตล์ คล้ายๆกัน

       - ร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-11 ของ CPALL นี่ก็ใช่ สไตล์เดียวกับ hyper market เลย จำได้ว่าแต่ก่อนโตแบบเรื่อยๆ ราคาก็ไม่ไปไหน แต่พอมีโหมดของพร้อมทานเข้าไปประเภท "รับขนมจีบซาลาเปาเพิ่มมั้ยคะ" เท่านั้นแหละ ยอดขายโตกระฉูดเลย เพราะมันเหมือนตัวคูณน่ะ ผลคืออะไรครับ? ราคาวิ่งแหลก ซึ่งมันสะท้อนผ่านกำไรต่อหุ้น sinv Earning per share (EPS )ที่โตขึ้นเรื่อยๆ

        จำคำว่า "รับขนมจีบซาลาเปาเพิ่มมั้ยคะ?" ให้ดีเลย เพราะนี่คือหนึ่งหัวใจของของกำไรพรวดพราด เพราะนี่คือ การเติบโตของ SSSG ที่ smart money ชอบมาก
นัยยะ "ซาลาเปาของเซเว่น" ก็คือ การมีสินค้าขายดีที่เพิ่มเข้ามา และมันทำได้สำเร็จ ทำให้ยอดขายต่อสาขาโตขึ้นจากเดิมอย่างมีนัยยะ ยิ่งมีสาขาเยอะก็ยิ่งทวีคูณ สมมุติสาขาเดียวโตขึ้นจากเดิม 10,000 บาท มี 5,000 สาขา กำไรก็ 10 ล้านบาท ง่ายๆแบบนี้แหละ ซึ่งมันจะส่งผลไปยัง Earning per share (EPS) หรือกำไรต่อหุ้นที่จะโตขึ้น ยิ่งโตเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ Smart money ตาโต ขนเงินมาซื้อไล่ราคากันสนุก

         อีกประเด็นคือ "จำนวนสาขา" นี่ก็มีผล เพราะมันเกี่ยวข้องกับ Economy of scale หรือจุดคุ้มทุน สมมุติง่ายๆ คุณมีค่าใช้จ่ายคงที่ 1 ล้านบาท แต่ละร้านทำเงินให้คุณเดือนละ 1 หมื่น เพื่อให้คุ้มทุน, คุณต้องเปิดให้ได้อย่างน้อย 101 สาขา ซึ่งทุกสาขาก็ต้องมีกำไรคงที่สม่ำเสมอ แบบนี้อยู่ได้ แต่ไม่โต แต่หากเมื่อใดที่คุณเปิดสาขาที่ 102-103-104 ยิ่งมากเท่าไหร่ เงินกำไรส่วนต่างก็จะไหลเข้ามาสู่กิจการคุณแล้ว EPS ก็จะโตขึ้น โตขึ้น แบบนี้แหละคือประโยขน์ของ "จำนวนสาขา" และ Economy of scale

          แต่เมื่อได้ชื่อว่าเป็น smart money ก็ไม่ธรรมดา, เหล่านักลงทุนระดับมันสมอง เงินเยอะ ข้อมูลแยะ, ลึก และก่อนใครว่าบริษัทนี้จะกำไรมหาศาลแน่
            เมื่อแสนรู้แบบนี้ก็ไม่โง่รอซื้อตอนข่าวดีประกาศงบใช่มั้ย? ซื้อดักก่อนข่าวออกเป็นเดือนๆเพื่อสะสมของถูก โดยตั้งใจจะเอาไปขายตอนงบออก ที่เขาเรียกว่า "Sell on fact" ไง
             แต่เม่าอย่างเราเงินน้อย ข้อมูลจำกัด (นี่ต้องสำเหนียกให้แม่นมั่นเลย ว่าเราตามเขาไม่ทันจริงๆ) ก็อย่าลอกเขาแบบโดยซื้อดัก แม้นักวิเคราะห์เขาจะแนะทุกวันก็ตาม เพราะพวกนั้นไม่ได้ซื้อหรอก มันหลอกให้คุณซื้อเพราะต้องการค่าคอมจากพวกคุณ เข้าใจกันมั้ยเนี่ย



           เมื่อได้ข้อมูลพื้นฐานของมันแล้วก็มาดูตัวอย่างอื่นต่อ
           - ตู้เติมเงิน หรือขายของ คุณอาจจะคิดว่ามันไม่เข้าพวก แต่ถ้ามองในภาพรวม คุณจะเห็นว่า หนึ่งตู้ก็คือ หนึ่งสาขา ยิ่งตั้งกระจายไปมากเท่าไหร่ ยอดขายก็จะยิ่งคุ้มทุนได้ง่ายขึ้น(ถ้าคนใช้บริการประจำนะ) เพราะสาขามาก และถ้าเกิดมีโปรโมชั่นเด็ดๆขึ้นมา หรือมีกระแสที่จำเป็นต้องใช้ไอ้ตู้นี้ขึ้นมาละก็ ยอด SSSG ก็จะกระฉูดเช่นกัน

           - ธุรกิจ software นี่ก็เข้าข่าย เพราะว่ามันทำต้นฉบับครั้งเดียว ที่เหลือก็ก็อปปี้อย่างเดียวเลย ยิ่งขายเยอะได้ก็ยิ่งถึงจุดคุ้มทุนไว และถ้าทะลุจุดอั้นได้นะ นี่ก็กระฉูด ต่างประเทศ ก็ Microsoft แต่บ้านเราจะมีแบบนี้หรือเปล่าก็ต้องรอดูผลงานของเค้าไป หรือบางเจ้าก็ไม่ขาย ทำซอฟท์แวร์ให้กรมเจ้าที่ใช้ฟรี แต่ไปเก็บค่าต๋งจากผู้ใช้รายย่อย ก็ในแนวเดียวกันเลย ผู้ใช้เยอะก็กำไรพุ่ง

           - ปั๊มน้ำมัน อันนี้ผมสังเกตุเป็นการส่วนตัวนะ เพราะมองว่า เดี๋ยวนี้ ปั๊มไม่ได้เป็นที่เติมน้ำมันและขับถ่ายอีกแล้ว มันจะกลายเป็นตลาดนัดประเภท Urban Market แบบย่อมๆเลยทีเดียว คือคุณดูปั๊ม ปตท.ให้ดีสิ โอ้โห ร้านค้าเต็มพรืด รถจอดเต็มทุกสาขา เพราะอะไรน่ะเหรอ? มันตอบโจทย์ และเติมเต็มความต้องการของลูกค้าไง ขับรถมาคนเดียวก็เหนื่อย แวะจอดเข้าห้องน้ำ ซื้อเอ็มร้อยที่ 7-11 หน่อยปะไร ยิ่งมาเป็นครอบครัวล่ะก็จ่ายหนัก คิวยาวเฟื้อยกันเลยทีเดียว ไหนจะมีร้านกาแฟอะเมซอนอีก แล้วค่าเช่าร้านรวงต่างๆนาๆอีกล่ะ นี่มันโอกาสใหม่ชัดๆ ต่อไปจะมีโรงแรมอีก ตอบโจทย์มากเลยขอบอก (นี่ผมโม้นะ อย่าเชื่อมาก)

           - ค่าอินเตอร์เน็ทรอประเภทจ่ายค่าสมาชิกรายเดือน แนวนี้ JAS เคยทำตัวอย่างให้ดูแล้ว พวกนี้ลงทุนหนักในตอนแรก แต่พอมีคนใช้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนต่างกำไรก็โตสิครับ ยิ่งมากก็ยิ่งกระฉูด ราคาก็โตตามกำไรที่เพิ่ม แต่อย่าหยุดโตนะ นิ่งเมื่อไหร่ โดนขายเละทันที

         - ร้านอาหาร น่าแปลกนะที่บ้านเราไม่ค่อยเด่น ทั้งที่มีศักยภาพโตได้ไม่แพ้กลุ่มอื่น อาจเป็นเพราะการแข่งขันสูงหรือเปล่า กำไรเลยน้อย หรือเปล่า แต่ก่อนเห็นคนพูดถึง MINT แต่ก็ไม่ค่อยโดดเด่นอะไร

ปล.พวกนี้ราคาแพงไปแล้วนะครับ ไม่เชียร์ แค่ไกด์ให้เป็นแนวทางดูเท่านั้นนะ ว่ามันมาในแนวนี้

2) อีกเล่มคือหนังสือ "ศาสตร์แห่งหุ้นเติบโตของเกรแฮม"
ประเด็นของเล่มนี้ยากหน่อย เพราะมันเป็นการสื่อสารภาษาวีไอเค้า ผมก็จำไม่ค่อยได้หมดหรอก แต่เท่าที่คุ้นๆและเห็นในบ้านเราก็คือ พวกได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
บ้านเราก็นี่เลย AOT พ่อทุกสถาบันจริงๆ คือคู่แข่งไม่มี(เลยดีกว่า) แถมไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนด้วยไง ชอบเดินทางด้วยเครื่องบิน ราคาแพงกว่าของเจ๊เกียวไม่กี่บาทเอง รายได้ของ AOT มาจากค่าธรรมเนียมจิปาถะ เก็บตั้งแต่เครื่องบินจนถึงผู้โดยสาร ซึ่งยิ่งคนเดินทางเยอะก็ยิ่งกำไร ใหนจะค่าเช่าพื้นที่อีก คู่แข่งไม่มี จะเพิ่มค่าบริการเมื่อไหร่ก้็ได้

คู่แข่งน้อยราย นึกถึงอะไรอีก
-  ธุรกิจเติมน้ำมันให้เครื่องบินจะพอโตไหวมั้ยเนี่ย
-  ร้านหนังสือนี่ก็มีอยู่แค่สองรายเอง เสียดายที่พฤติกรรมผู้บริโภคไม่ support เสียแล้ว ไม่งั้นแจ๋วเลยนะ ล่าสุดมีข่าวว่าฮั้วคิดค่าวางหนังสือในร้านถึง 40% ของค่าปกไปแล้ว

        พูดถึงค่าบริการที่จำเป็นต้องจ่าย, ก็นึกถึงทางด่วน โมเดลนี้ก็เอาเรื่องไม่แพ้กัน เพียงแต่คงตั้งแพงไม่ได้ เพราะมันกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการทำประชานิยมไปแล้ว กระนั้นก็ได้เรื่อยๆของเค้าไป

ก่อนหน้านั้น กลุ่มวีไอก็มีการอ้างถึงธุรกิจประปา อันนี้ก็เพิ่มค่าน้ำได้ ถ้าจำเป็นเช่นกัน เคยหลงเข้าไปซื้อครั้งหนึ่ง แหม...แช่ๆซึมๆเหมือนการไหลของน้ำประปา เลยไม่เอาดีกว่า

         สิทธิบัตรล่ะ ผมเคยหลงเข้าไปซื้อหุ้นตัวหนึ่งเพราะคำนี้มาแล้วนะ ปรากฎว่าเละ เพราะมันไม่ได้เปรียบอย่างยั่งยืนแบบฝรั่งเค้า เคสส่วนใหญ่พวกนั้นเขาคิดยาใหม่กันไง และกว่าจะได้รับใบอนุญาติอย่าง fda ก็ยากมากใช้เวลาหลายสิบปีเลยมั้ง แต่ก็คุ้ม กำไรโตกระฉุดเพราะตั้งราคาได้ตามสะดวก มีคนซื้อเป็นตัวประกันอยู่แล้วนี่

      ที่เหลือก็เป็นพวกได้สัมปทานจากภาครัฐ, แบรนด์แข็งแกร่ง, มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ฯลฯ ซึ่งไม่ค่อยเห็นชัด

            สังเกตุมั้ยครับ ว่าพวกนี้ หากินกับรายย่อยทั้งนั้นเลย เพราะการขายของให้ mass โดยตรงนั้นมันโตไวมากถ้าสนอง need ได้ถูก ถ้าจังหวะและพฤติกรรมเปลี่ยนได้เหมาะเจาะ ก็กำไรไม่รู้เรื่องเลย

ลองเอาไปปรับใช้และต่อยอดกันดูครับ
ย้ำอีกครั้งนะ หุ้นที่ยกเคสมาทั้งหมดนั้น, ราคาแพงไปแล้วนะครับ ไม่เชียร์ แค่ไกด์ให้เป็นแนวทางดูเท่านั้นนะ แต่ถ้าสนใจก็ให้พึงกราฟเป็นตัวช่วย คือรอมีการยืนยันขาขึ้นก่อน เช่นมีการทำนิวไฮในรอบหลายเดือน เช่น 6 เดือน หรือ 1 ปี พร้อมวอลุ่มสูงมากๆก็ยังไม่สาย เพราะคนที่สามารถทำให้ราคาหุ้นวิ่งแรงๆแบบนี้ไ่ใช่ใครหรอก ก็พี่ Smart money ของผมนี่แหละถ้าของมันดีจริงมันจะมีโมเมนตัมขึ้นไปได้อีก เพราะพื้นฐานมา ราคาวิ่ง ศรัทธาเกิดไง เรารอกินเนื้อปลาพอ ปล่อยหัวกับหางให้คนฉลาดๆเขาไป (จำไว้เลยว่าเราโง่กว่าเค้า อย่าคิดไปตีเทียบ ซื้อดักก่อนเงินเข้าเด็ดขาด)
           ใครไม่ทันประเด็นนี้ ก็ไปอ่าน วอลุ่มและการยืนยันขาขึ้น ได้ครับ


(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ