เหตุใดเราจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตของการเทรด?

Image
เหตุใดเราจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตของการเทรด?  Dr. Van K. Tharp พูดเสมอว่า “นักเทรดไม่เทรดตามที่ตลาดเป็นหรอก  แต่พวกเขาเทรดตามความเชื่อของพวกเขา”   เรื่องนี้ผมเห็นด้วยอย่างสมบูรณ์   ความเชื่อของผมมีดังนี้:  1) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีกลไกการซื้อ/ขายที่สมเหตุสมผลและช่วยให้เขาลงมือตามสัญญาณได้ทันที   2) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางที่สมเหตุสมผลในการกำหนด Position Size ของเขาอย่างเป็นระบบ ซึ่งช่วยลดความน่าจะเป็นที่จะถูกทำลาย   3) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีกลยุทธ์ที่ช่วยลด Drawdown ของ Equity Curve เพื่อทำให้เขาเครียดน้อยลง   4) ตลาดจะเปลี่ยนแปลงเสมอ มันจะขึ้น, ลง, และไซด์เวย์ 5) การลอกกลยุทธ์คนอื่นมาใช้ทั้งดุ้น มักจะไม่เวิร์ค  การสร้างกลยุทธ์หรือพัฒนากลยุทธ์ที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณคือแนวทางที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า 6) ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบในการเทรด   7) ตลาดจะทำในสิ่งที่มันอยากจะทำ - Tom Basso จากหนังสือ The All-Weather Trader

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน


 VCP หรือ Volatility Contraction Pattern เป็นรูปแบบราคา ที่ Mark Minervini ค้นพบ
และได้อธิบายในหนังสือ "เทรดแบบเซียนหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ" ของเขา



ด้วยความที่ผมประทับใจรูปแบบราคานี้มาก แต่ก็ไม่ค่อยเข้าในมันลึกซึ้งมากนัก
จึงพยายามค้นคว้าหารูปแบบอื่นๆที่คล้ายๆกันมารวมไว้เพื่อปะติดปะต่อ โดยหวังว่ามันจะทำให้ตัวเองเข้าใจได้มากขึ้น

เริ่มต้นจากรูปต้นฉบับกันเลย

ถือเป็นการพักตัวในขาขึ้นรูปแบบหนึ่ง ของ bullish continuation pattern ที่เราพบเห็นได้ตลอดเวลา ถ้าใครจำรูปแบบมันได้ก็จะช่วยให้เกาะหุ้นแข็งแกร่งไว้ตลอดรอดฝั่ง จนสามารถทำเงินจากตลาดได้อย่างงาม


#ภาคจิตวิทยา
Minervini ชี้เหตุผลที่ทำให้เกิด VCP ว่า มาจากคนที่ติดดอย พวกเขาซื้อตอนที่ราคาทำนิวไฮ แต่จากนั้นมันเจอแรงขายกดลง ทำให้อึดอัดใจ เมื่อขาดทุนก็เสียใจ หมดศรัทธาในตัวหุ้น จดจ่อรอขายเมื่อหุ้นวิ่งกลับมา เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น หลายคนเริ่มถอดใจ ขอแค่เท่าทุนก็เอาแล้ว
พวกนี้แหละที่เป็นคนที่รีบทุ่มขายหุ้นกดราคาไม่ให้ขึ้นไปทำนิวไฮได้ เพราะไม่อยากถือหุ้นต่อไปแล้วนั่นเอง

ส่วนอีกกลุ่มคือ พวกที่ซื้อหุ้นได้ที่ bottom ซึ่งมีกำไรค่อนข้างงาม จิตใจเบิกบานกับกำไรที่ได้ มีบางคนอยากขายออก จึงผสมโรงกับกลุ่มแรกกดดันราคาให้ลงและออกข้างไปอีก

ถ้านักลงทุนสถาบัน/เจ้ามือ เก็บหุ้นจริง การหดตัวจะแคบลง จากซ้ายไปขวา เพราะรายใหญ่เข้ามาช่วยดูดซับแรงขาย
เมื่อหุ้นหดตัวต่อเนื่องหลายครั้ง ก็เป็นกลไกของการเปลี่ยนมือจากรายย่อยมือใหม่ขายหุ้นออกไปให้คนเก็บหุ้นมือเก๋าเกมส์กว่า

ข้อพิสูจน์ว่าแรงขายหยุดไหลเข้าตลาดคือ วอลุ่มหดตัวลงมาก และราคาเคลื่อนไหวสงบลง-ไม่สวิงแรง-ขึ้นลงในกรอบแคบๆ สื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่อยากเข้ามาเล่น จังหวะนี้ถือว่ามีโอกาสที่หุ้นจะกระชากแรงกลับขึ้นไปได้ทันที




ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับกิจกรรมในชีวิตจริง ให้เห็นภาพได้ดีขึ้น
น่าจะคล้ายกับการตกปลาตัวใหญ่ของเซียนเบ็ด

ตอนที่ปลาใหญ่รู้ตัวว่างับเบ็ดเข้าไปแล้วมันจะดิ้นรนเพื่อเอาชนะแรงดึงจากสายเบ็ดให้ได้ มันจะใช้พละกำลังทั้งหมดที่มีว่ายหนีไปให้ไกลที่สุดเท่าที่เรี่ยวแรงมันพอทำได้
เซียนเบ็ดผู้เก๋าเกมส์ จะไม่พยายามดึงสายเบ็ดสู้ เขาจะทยอยปล่อยสายเบ็ดออกไปอย่างช้าๆ เพื่อให้ปลาใช้พละกำลังหนีให้เต็มที่
เขาจะสังเกตุแรงดึงของปลาอยู่ตลอด เมื่อพบว่าความตึงนั้นผ่อนลง เซียนเบ็ดก็เริ่มกว้านสายดึงหาตัวอย่างช้าๆ ช้าๆ
กระทั่งปลารู้สึกตัวว่าถูกดึง มันก็จะแข็งขืนว่ายกลับไปเพื่อหนีอีกครั้ง แต่การหนีครั้งนี้ไม่ได้ไปไกลเหมือนก่อนแล้ว แรงที่เคยมีเริ่มถดถอย มันว่ายไปได้ไม่ไกลนักก็หยุด เพราะไม่มีกำลังบวกกับความเจ็บปวดก็บั่นทอน



เซียนเบ็ดเมื่อสบจังหวะก็รีบดึงปลาเข้าหาตัว ให้ไกล้ขึ้นมาอีกช่วง
พอปลารู้สึกไม่ปลอดภัยก็ดิ้น-ว่ายหนีอีก แต่มันก็ไปไม่ได้ไกลเท่าเดิม
มันจึงถูกดึงเข้ามาไกล้สวิงของเซียนเบ็ดเรื่อยๆ
กระทั่งมันหมดแรงและหมดอาลัยตายอยาก ไม่อยากว่ายไปไหนอีกแล้ว รู้สึกตัวอีกทีก็ลอยตัวเหนือน้ำไปอยู่ในสวิงเสียแล้ว

กลุ่มของรายย่อยก็เหมือนปลาใหญ่ ที่ติดเบ็ดของคนทำราคาที่เก๋าเกมส์กว่า บีบนวดกดกัน ให้อึดอัดจนทนไม่ไหว ถึงที่สุดก็ต้องคายหุ้นให้เขาหมด
พอเขาได้ของหมดก็ลากหุ้นเย้ยให้เจ็บใจทันที กว่าจะรู้ตัวก็ไปรับของต่อจากเขาในเวลาที่หนีไม่ได้เสียแล้ว









Shakeouts หรือการเขย่า
จุดเริ่มต้นของ VCP มักจะมาจากการ Shakeouts หรือการเขย่า

ทำไมต้องเขย่า?

เพราะตอนที่คนทำราคาหรือเจ้ามือเขาซื้อหุ้นไม้ใหญ่ๆเพื่อให้ราคายกระดับขึ้นนั้น จะมีรายย่อยผสมโรงซื้อด้วย ซึ่งเขาก็ไม่ได้รังเกียจอะไร-จะยินดีด้วยซ้ำเพราะช่วยกันดึงสภาพคล่องจากตลาดออกมาให้มากที่สุด

แต่เมื่อราคาวิ่งถึงจุดหนึ่ง ที่ถึงเป้าของเหล่านักเก็งกำไรผู้เชี่ยวชาญขายทำกำไร/หรือตลาดไม่ดี/หรือมีข่าวลือ(ที่ไม่ใช่เหตุผลเดียวกับเจ้ามือ) ตอนนั้นแหละก็จะเจอแรงขายโหดๆจนราคาลงแรงน่ากลัว คนทำราคาก็จะเข้ามาร่วมวงขายกดดันด้วยการตบให้หลุดกรอบ/แนวรับทางจิตวิทยา/เส้นค่าเฉลี่ย ส่งผลให้คนที่เคยใจแข็งมาก่อนกัดฟันไม่ขาย-ต้องจำใจขายออกเพราะหลุด stop loss ที่ตัวเองตั้งไว้



สังเกตุว่าเมื่อราคาหุลุดแนวรับแล้วแรงขายกดที่ bid ให้ลงต่อจะไม่มี ราคาจะนิ่งอยู่พักนึง เหมือนหยุดนิ่ง จากนั้นไม่กี่อึดใจก็จะมีไม้ใหญ่ๆกิน offer ทั้งช่องกลับขึ้นไปยืนที่แนวรับได้อย่างว่องไว
ต่อมาราคาอาจจะวิ่งต่อไปอีกช่องสองช่อง แต่เมื่อมีแรงขายกดลงมาอีก ก็ไม่สามารถลงไปทะลุแนวรับลงไปได้ นี่เป็นการยืนยันว่าการเขย่าจบแล้ว

ถ้ารู้ตัวว่าโดนเขย่าแบบนี้จะทำยังไง แนะนำให้ซื้อคืนส่วนหนึ่งก่อน แล้วค่อยเก็บส่วนที่เหลือตอนราคาทำ higher high เพื่อการันตีว่ามันไปต่อแน่ๆ


How to Trade Shakeouts
Swing Trap เป็นช่วงที่ทำให้เทรดเดอร์เสียโอกาส-อาจถึงขั้นขาดทุนไปจนเสียความมั่นใจไปเลยก็มี อย่างไรก็ตามจุดนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีของเหล่าสวิงเทรดในการเข้าซื้อหุ้น

จากรูปตัวอย่าง เหล่าโมเมนตัมเมรดเดอร์ตั้งใจจะซื้อหุ้นที่ราคาลงมาไกล้ๆกับเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน(MA10) สำหรับในจุด (1) ราคาหลุด MA10 ลงมาแล้ววันต่อมาก็เด้งขึ้นไปปิดเหนือเส้น จุดที่ราคาหลุด MA10 เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ขายหุ้นออกกันหมด เพื่อ stop loss
ส่วนจุด (2) เป็นจังหวะซื้อของบรรดาสวิงเทรดเขาล่ะ

ภาพตัวอย่างต่อมา
เป็นอีกครั้งที่เราเห็นว่าหุ้นตัวนี้เป็นขาขึ้นต่อเนื่อง แต่เมื่อราคาลงไปหลุดจุดต่ำสุดของแท่ง (1) นั่นทำให้เทรดเดอร์หลายคนจำใจขายตัดขาดทุนกันหมด แต่กลับเป็นโบนัสเมื่อแท่งราคาเกิดเป็นแฮมเมอร์
กุญแจสำคัญในการซื้อขายรูปแบบนี้คือการรอให้เกิดการ "เขย่า" การ pullback ครั้งที่สอง ทำให้ราคาลงต่ำกว่าโลว์แรก เมื่อผู้ขายส่วนใหญ่ตัดใจขายหุ้นออกมา-ก็เป็นโอกาสของเหล่านักซื้อเข้ามาเก็บหุ้นที่ออกตลาดในราคาถูกๆจนหมด


Shakeout Plus 3

Jesse Livermore ค้นพบ pattern นี้ Shakeout + 3 ทำทรง double bottom เป็นจุดเข้าซื้อที่ได้ราคาดีกว่าค่าเฉลี่ย เพราะเทรดเดอร์ทุกคนก็หวังว่าจะได้เปรียบในทุกการซื้อ-ขาย
จากรูปตัวอย่าง กราฟทำ double bottom โดยจุดซื้อคือตอนที่ราคาขึ้นไปได้ 3 จุดเหนือโลว์แรกพร้อมกับวอลุ่มมากกว่าค่าเฉลี่ย(ยิ่งมากยิ่งดี)
ว่าตามหลักจิตวิทยาคือ สถาบันหรือคนคุมราคาต้องการเขย่าสลัดเม่าออก โดยการทดสอบดีมานด์(ความต้องการซื้อ)หุ้น จากนั้นก็จะเป็นช่วงสะสมหุ้นราคาถูกๆของสถาบันหรือคนคุมราคากลุ่มเดียวกัน
จำไว้ว่า นี่เป็นจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบ แล้วความเสี่ยงจะถูกปรับตาม โดยให้ซื้อด้วยเงินน้อยๆก่อน และเพิ่มเมื่อมีวอลุ่มมากขึ้นเพราะมีความต้องการซื้อจริงๆ

จะว่าไปแล้ว พอเห็นทรงนี้ ทำให้ผมนึกถึง Double Bottom pattern นะ





Pivot Point กับ VCP มันสัมพันธ์กันอย่างไร?
VCP = เป็นช่วงที่ราคาหุ้นแกว่งตัวผันผวนขึ้นลง ยิ่งนานแคบลงไปเรื่อยๆ พอยิ่งแคบมันจะมีช่วงหนึ่งที่เกิด Pivot Point คือแท่งเทียนแคบ วอลุ่มแห้ง แสดงถึงแรงเทขายหายไปแล้วเนื่องจากหุ้นที่เอามาตั้งขายมันมีน้อยแล้ว

เจสซี ลิเวอร์มอร์ อธิบาย Pivot point ว่าเหมือนแนวต้านที่แข็งแกร่งน้อยที่สุด หุ้นเคลื่อนตัวได้ไวมากทันทีที่หุ้นข้ามด่านนี้ไปได้
ถ้าหุ้น breakout ผ่านแนวต้านที่แข็งแกร่งน้อยสุดนี้ไปได้ มันก็มีโอกาสสูงที่จะวิ่งขึ้นต่อในระยะเวลาอันสั้น
เพราะบริเวณนี้มีแรงขายน้อย ดังนั้นแค่มีแรงซื้อเข้ามาเพียงเล็กน้อยก็ทำให้หุ้นขยับสูงขึ้นได้

ส่วน Pocket Pivot Buy Point(PPBP) คือ แท่งราคายาวที่ดีดขึ้นจากการพักตัวพร้อมกับวอลุ่มสูงกว่าวันที่ผ่านมา เป็นการแสดงออกว่าการพักตัวที่ยาวนานนั้นมันจบลงแล้ว



ขอยกเอาคำจำกัดความจากเว็บ brotherhoodtrader.com มาขยายความเพิ่มเติมนะครับ

การเกิด PPBP จะต้องพิจารณาปริมาณการซื้อขายควบคู่กับการเคลื่อนไหวราคา โดย PPBP จะเกิดขึ้นก่อนที่จะถึงวันที่ราคามีการระเบิดขึ้นไป ซึ่งในวันที่เกิด PPBP นั้น ปริมาณการซื้อขายจะต้องสูงกว่าค่าเฉลี่ย 50 วัน หรือทะลุ SMA50 วันของปริมาณการซื้อขายครับ ที่ผมอยากเสริมก็คือ PPBP ที่ดีควรมาจากฐานราคาสวยๆที่สวิงบีบตัวจนแคบลงเรื่อยๆ ตอนสวิงลงก็ควรมีปริมาณการซื้อขายแห้งๆ ถ้านึกภาพไม่ออกจริงๆมันก็คือการ Volatility Contraction นั่นแหละครับ

การเทรดแบบ Pocket Pivot Buy Point นั้นจะต้องควบคู่กับการพิจารณาฐานราคาครับ ซึ่งส่วนตัวที่ผมนำมาใช้นั้น จะใช้ได้ดีกับการเกิด Volatility Contraction Pattern ครับ ยิ่งในกรณีที่เรามีหุ้นที่สนใจอยู่ เราสามารถใช้วิธีการนี้ในการเข้าไปซื้อได้ครับ ข้อดีคือ เราไม่จำเป็นต้องไปรอเล่น Breakout โดยที่จุดซื้อนั้นจะเหมือนกับการที่ราคากำลังวิ่งอยู่ในหลุมของมันอยู่ ซึ่งการซื้อในจุดนี้จะช่วยให้ลดความเสี่ยงไปได้สูงในการโดน False Breakout หรือการสะบัดของราคาที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากเราทำการเทรดแบบ Breakout Pivot เมื่อตลาดเริ่มอ่อนแรง หรือกำลังอยู่ในแนว Sideway เราสามารถนำเอาวิธีการนี้มาเป็นกลยุทธ์ได้ครับ ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าการเล่นเทรดแบบ Breakout Pivot

ที่มา http://www.brotherhoodtrader.com/pocket-pivot-buy-point



เพิ่มเติม คุณ Agapol Chamnanpanich แอดมินเพจ Brotherhood Trader ขอเสริมว่า
pocket pivot คือ เกิดในฐานสวยๆ พวก constructive base แล้ว ต้องเทียบวอลลุ่มวันที่ราคาลงย้อนหลัง 10 วันก่อนหน้าครับ (ดูรูปข้างบนประกอบครับ หุ้นตัวนีวิ่งเกือบ 100% ภายใน 10 วัน สุดยอดจริงๆ)




ถ้าสังเกตุดีๆ จะพบว่าวันก่อนที่จะเกิด PPBP วอลุ่มจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ย มากๆ เรียกว่าแทบแห้งติดพื้นเลยทีเดียวและแท่งราคาก็จะแคบๆ

อีกอย่าง PPBP นั้นเป็นจุดที่ราคาอาจจะยังไม่ได้ breakout ขึ้นไปทำนิวไฮก็ได้ ที่แน่ๆคือมันฟื้นจากการย่อที่เกิดจากการขายทำกำไรของรายย่อย เจ้ามือเขาจะปล่อยให้เม่าขายหุ้นออกมาจนเหนื่อยหรือหมดหุ้นในมือก่อน แน่นอน-เม่ามีหุ้นน้อย ขายให้ตายราคาก็ลงนิดเดียววอลุ่มก็ไม่เยอะ

ดังนั้นสิ่งที่เจ้ามือจับสัญญาณได้คือราคาสวิงน้อยมากแถมวอลุ่มก็น้อยยิ่งกว่าน้อย ก็ตีความว่าเม่าหมดพิษสงแล้ว หุ้นก็เข้าไปอยู่ในเมือเจ้าเกือบหมดแล้วของถูกก็ไม่มีใครอยากขายให้แล้ว จึงได้เวลาเพิ่มราคาเพื่อให้มีคนขายหุ้นให้เพื่อจะได้หุ้นมากขึ้น-สภาพคล่องจะได้น้อยลง ลากหุ้นได้ง่ายขึ้น

ถ้าเปรียบกับเกมตกปลาคือเป็นช่วงที่ปลาหมดอาลัยตายอยากแล้ว หมดแรงดิ้น เตรียมเข้าสวิงของเซียนเบ็ด

วอลุ่มน้อยแค่ไหน ถึงจะเข้าสูตร?
มันต้องอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 50 วันช่วงปรับฐานครั้งสุดท้าย และมีวอลุ่มต่ำมากอยู่ 1 หรือ 2 วัน หุ้นเล็กๆบางตัววอลุ่มจะหดลงช้าๆจนค่อยๆแห้งหายไปเหมือนไม่มีสภาพคล่อง
บางคนอาจตกใจ แต่นี่คือสัญญาณที่ดีมาก เพราะหุ้นกำลังเตรียมตัวเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพราะแรงขายหุ้นนน้อยลงมากๆ แค่แรงซื้อเบาๆก็ทำให้ราคาปรับขึ้นได้เร็วมาก

Mark Minervini บอกว่าจุดซื้อที่ดีคือตอนที่มันทะลุผ่านแนวต้านของ Pivot point ให้ได้ก่อน(ดูรูปประกอบ) ค่อย follow buy

เพราะถ้าเข้าไปก่อนที่มันจะดีดแรง(เช่น ตอนที่วอลุ่มแห้ง+แท่งราคาสั้น) อาจจะทำให้เสียเวลารอ หากหุ้นไม่ยอมวิ่งขึ้นทันที



Bollinger Band Squeeze และ NR4 (Narrow Range 4) กับ NR7 (Narrow Range 7)

แนวคิดของ Bollinger Band Squeeze นี่ก็เป็นไปตามสูตร VCP คือการผันผวนของราคาลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นกรอบของ BB ก็จะบีบตัวลงไปจนกว่าจะระเบิด ก็คือมีการ breakout นั่นเอง ถ้ามีวอลุ่มเพิ่มด้วยก็จะสมบูรณ์แบบ
BB จะช่วยให้เราเห็นภาพการบีบตัวของราคาได้ดีกว่าการดูกราฟเพียวๆ


NR4 กับ NR7

NR4 กับ NR7 คนที่ค้นพบ pattern พิสดารนี้คือ Tony Crabbel จากหนังสือ Day Trading with Short Term Price Patterns & Opening Range Breakout


NR4 = ราคามีแท่งเทียนช่วงแคบสุดในรอบ 4 วัน









NR7 = ราคามีแท่งเทียนช่วงแคบสุดในรอบ 7 วัน
ฮิตมากสำหรับ Daytrade
ใช้หลักการเดียวกันกับ การบีบตัวของ Bollinger Band Squeeze หรือ volatility contraction คือหลังจากที่ราคาผันผวนน้อยๆในช่วงแคบสุดๆแล้ว มันจะระเบิดเลือกทาง

วิธีการเล่น NR4 กับ NR7
ให้โฟกัสนับแท่งเทียนในรอบ 4 วัน หรือ 7 วันเท่านั้น จำนวนวันนอกเหนือจากนี้จะไม่ค่อยแม่น แท่งเทียนต้องมีการสวิงในกรอบแคบๆเนื้อน้อยมีไส้ บ่งบอกถึงการหยุดของราคาเพื่อเลือกทาง

วิธีการเล่นก็ให้ซื้อหรือขายเมื่อแท่งราคาถัดมาเบรคไส้แท่งเทียนที่ 4 หรือ 7 ที่เข้าสูตร ขึ้นก็ซื้อ ลงก็ช็อร์ต
จุด stop loss คือปลายไส้ที่อยู่ตรงข้ามทิศทางวิ่งของแท่งเทียน

สารภาพว่าตัวเองไม่ค่อยเชื่อถือสูตรนี้นักเพราะมีคำถามตลอดว่าทำไมต้องนับแบบนี้ เลยไม่ขออธิบายเพิ่ม ถ้าใครสนใจก็อ่านเพิ่มตามลิงค์หรือค้นgoogle เพิ่มเติมได้เลย มีตัวอย่างมากมาย
http://stockcharts.com/school/doku.php?id=chart_school:trading_strategies:narrow_range_day_nr7


หุ้น 1-2 1-2 1-2 ซิ่ง
อีกแนวคิดหนึ่ง ที่หลายคนอาจจะนึกไม่ถึง
แต่ผมมองว่ามันคล้ายกันมาก
นั่นคือ Pattern หุ้น 1-2 1-2 1-2 ซิ่ง ของลุงโฉลกครับ
มันคือ VCP ในภาพใหญ่ ระดับ weekly chart กระทั่ง monthly chart ครับ

ถ้าใครไม่เคยดู ลองคลิกชมครับ 

ลุงบอกว่ามันเป็นเรื่องของ Next degree wave โดยเวฟใหญ่ 1-2 มันไม่ไป 3 ทันที แต่กลับทำเวฟรอง 1-2 แล้วต่อด้วยเวฟเล็ก 1-2 ซ้อนไปเรื่อยๆ พอถึงเวลาที่มันระเบิด ก็จะเป็นหุ้นซิ่ง ไปได้ไกลๆ

Main idea คือภาพนี่ครับ

โดยกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินคือ Super grand cycle 1-2
สี่เหลี่ยมสีฟ้าคือ Grand cycle 1-2 อยู่ข้างใน
สี่เหลี่ยมขาวคือ Major wave ซ้อนอยู่ในนั้นอีกชั้น
ส่วนตัวเลข 1-2 เฉยๆ เป็น common wave อยู่ในสุด

พอมันเล็กลง เล็กลง เล็กลง (เราจะมองว่ามันเป็น apex คือสมดุล ก็น่าจะได้) ในที่สุดก็ระเบิด ซิ่งโหด

ตัวอย่างแรกที่ลุงเอามาให้ดู คือหุ้น PT

ต่อมาก็เป็น KC

อีกตัวคือ UV ที่ลุงทำนายล่วงหน้า ว่ามีโอกาสเกิด

เอาล่ะ จบตัวอย่างของลุงไปแล้วนะ

มาดูเคสที่ผมคิดว่าน่าจะเข้าสูตรกันบ้าง
ก่อนอื่นผมจะขอยึดภาพจำคือชาร์ทของ PT นะ


คือเคยทำยอดสูงๆมาก่อน(1)
จากนั้นก็ร่วงหนัก(2)
มีเด้งแรง แต่สูงไม่มาก ไม่ถึงยอดเดิม (1)
โดนตบลงจนร่วงลงไปอีก แต่ไม่ทำนิวโลว์ (2)
ดีดกลับขึ้นไปอีก แต่ไม่สูงเท่ายอดล่าสุด (1)
ถูกขายกดลงไปอีกครั้ง แต่ไม่ทำนิวโลว์ (2)
เมื่อดีดกลับขึ้นครั้งต่อไป ก็ซิ่งแหลก

ตัวแรกที่ผมนึกถึงคือ GL
กราฟล่าสุดจะเป็นแบบนี้

คุณอาจจะเฮ้ย มั่วแล้วมั้ง
เดี๋ยวผมจะย้อนกลับไปดูภาพในอดีตก่อนจะซิ่งแรง ปี 2012-2015 ครับ
เป๊ะมั้ยครับ

อีกตัว QTC
ภาพปัจจุบัน

ปี 2012-2015

ล่าสุดคือ MALEE
ภาพใหญ่ 5 ปี

4 ปี ก่อนหน้านี้

ESSO ภาพใหญ่

ก่อนหน้านี้

TLUXE

2 ปีก่อนหน้านี้


อ่านบทความที่คล้ายกัน

(หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้)
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ






และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการเทรดหุ้น คุณไม่ต้องรอบรู้ไม่ต้องเก่งทุกเรื่องและทุกอย่างหรอก ทำแค่ 7 เรื่องนี้ให้ได้ก็พอ....

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ศาสตร์และศิลปะของการปั้นพอร์ต ให้เติบโตสม่ำเสมอ Art & Science of Trading